คลังเก็บป้ายกำกับ: การวินิจฉัยเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์

การวินิจฉัยเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์

ANIM394

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? แนวโน้มของเกณฑ์การวินิจฉัยเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ลดต่ำลงและแนะนำให้ตรวจคัดกรองในมารดาที่ตั้งครรภ์ทุกราย เนื่องจากการที่มีภาวะน้ำตาลสูงอาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์และทารกได้มาก เกณฑ์การวินิจฉัยที่ได้จาก HAPO study ใช้เกณฑ์การทดสอบเจาะเลือดตอนเช้าหลังงดน้ำงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง จากนั้นกินน้ำตาล 75 กรัมแล้วเจาะเลือดที่หนึ่งและสองชั่วโมงหลังกินน้ำตาล หากระดับน้ำตาลในน้ำเลือดมากกว่า 92 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรก่อนกินน้ำตาล หรือมากกว่า 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรที่ชั่วโมงที่หนึ่งหรือ 153 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรที่ชั่วโมงที่สองหลังกินน้ำตาลถือว่าเป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์1 ซึ่งจะแตกต่างจากเกณฑ์ที่คุ้นเคยในการใช้การกินน้ำตาล 100 กรัมในการวินิจฉัยของ O?Sullivan และ Mahan หรือ Carpenter และ Coustan

? ? ? ? ? ? ?ความคาดหวังในการลดเกณฑ์การวินิจฉัยเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์เพื่อลดความเจ็บป่วยหรือภาวะแทรกซ้อนและค่าใช้จ่ายทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวได้ แต่ก็พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของอัตราการผ่าตัดคลอดควบคู่กันไปด้วย2 ดังนั้น การพิจารณาที่จะเลือกใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัยเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ในประเทศไทย หากจะนำมาใช้จำเป็นต้องมีการศึกษาถึงความชุก ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากการมีเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ และความพร้อมในการรองรับการผ่าตัดคลอดที่จะมีเพิ่มขึ้นรวมถึงระบบการส่งต่อมารดาและทารก เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการใช้งบประมาณของประเทศเป็นไปด้วยความประหยัดและมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

  1. Lowe LP, Metzger BE, Dyer AR, et al. Hyperglycemia and Adverse Pregnancy Outcome (HAPO) Study: associations of maternal A1C and glucose with pregnancy outcomes. Diabetes Care 2012;35:574-80.
  2. Reece EA, Moore T. The diagnostic criteria for gestational diabetes: to change or not to change? Am J Obstet Gynecol 2013;208:255-9.