คลังเก็บป้ายกำกับ: การรักษากลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ตอนที่ 1

การรักษากลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ตอนที่ 3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

              การใช้ยาในการรักษา จะขึ้นอยู่กับเป้าประสงค์ในการรักษา ซึ่งจะแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ สตรีที่ยังไม่ต้องการมีบุตร กับสตรีที่ต้องการมีบุตร รายละเอียดมีดังนี้

  • สตรีที่ไม่ต้องการมีบุตร จะให้การรักษาเพื่อเป้าประสงค์ในการลดการมีภาวะฮอร์โมนเพศชายมาก อาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ช่วยคุมกำเนิด และช่วยป้องกันการมีเยื่อบุโพรงมดลูกหนา และการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โดยการรักษาในกลุ่มนี้จะใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานในการรักษา เนื่องจากสามารถตอบสนองต่อเป้าประสงค์ได้ดี
  • สตรีที่ต้องการมีบุตร จะให้การรักษาเพื่อให้สตรีมีการตกไข่และตั้งครรภ์ได้ ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้จะใช้ยากระตุ้นไข่ตก ได้แก่ letrozole, clomiphene และ gonadotropin และอาจใช้ metformin ร่วมในการรักษาด้วยในกรณีที่มารดามีความต้านทานอินซูลิน มีกลุ่มอาการเมตาบอลิก หรืออ้วน1-3 นอกจากนี้ในบางรายอาจเลือกใช้การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเจาะหรือจี้ไฟฟ้าที่ถุงน้ำของรังไข่ (ovarian drilling)4

เอกสารอ้างอิง

  1. Banaszewska B, Pawelczyk L, Spaczynski R. Current and future aspects of several adjunctive treatment strategies in polycystic ovary syndrome. Reprod Biol 2019;19:309-15.
  2. Gadalla MA, Norman RJ, Tay CT, et al. Medical and Surgical Treatment of Reproductive Outcomes in Polycystic Ovary Syndrome: An Overview of Systematic Reviews. Int J Fertil Steril 2020;13:257-70.
  3. Jin P, Xie Y. Treatment strategies for women with polycystic ovary syndrome. Gynecol Endocrinol 2018;34:272-7.
  4. Artini PG, Obino MER, Sergiampietri C, et al. PCOS and pregnancy: a review of available therapies to improve the outcome of pregnancy in women with polycystic ovary syndrome. Expert Rev Endocrinol Metab 2018;13:87-98.

การรักษากลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ตอนที่ 2

       การคำนวณค่าพลังงานเผาพลาญพื้นฐานต่อวันสามารถคำนวณจากสูตร Harris-Benedict Equation โดยสูตรการคำนวณจะแตกต่างกันตามเพศ สำหรับในสตรีจะใช้สูตร

BMR ในสตรี = 655 + (9.6 X น้ำหนัก (กิโลกรัม)) + (1.8 x ความสูง (เซนติเมตร)) – (4.7 x อายุ (ปี))

สำหรับค่าพลังงานที่ใช้ทั้งหมดต่อวัน จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยมีการศึกษากำหนดค่าเป็นจำนวนเท่าของค่าพลังงานเผาพลาญพื้นฐานต่อวันเป็นตัวคูณสำหรับแต่ละลักษณะของกิจกรรม ตัวอย่างเช่น

หากทำงานนั่งโต๊ะ                                   TDEE = BMR x1.2

หากออกกำลังกายระดับเบา                      TDEE = BMR x1.375

หากออกกำลังกายระดับปานกลาง             TDEE = BMR x1.55

หากออกกำลังกายระดับหนัก                   TDEE = BMR x1.725

             สำหรับการออกกำลังกายนั้น ไม่มีได้การกำหนดรูปแบบที่ชัดเจน1 แต่หากต้องการให้การออกกำลังกายช่วยในเรื่องความต้านทานอินซูลิน ควรให้สตรีออกกำลังกายชนิดแอโรบิกที่มีระดับความหนักปานกลาง โดยออกกำลังกายสม่ำเสมอวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์

             การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตจะช่วยลดการมีฮอร์โมนเพศชายสูง ช่วยให้มีการตกไข่และประจำเดือนมาดีขึ้น ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และช่วยลดความอ้วน1,2 ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงมักใช้เป็นวิธีการรักษาเริ่มต้นและใช้ร่วมกับการใช้ยาในการรักษา

เอกสารอ้างอิง

  1. Harrison CL, Lombard CB, Moran LJ, Teede HJ. Exercise therapy in polycystic ovary syndrome: a systematic review. Hum Reprod Update 2011;17:171-83.
  2. Lim SS, Hutchison SK, Van Ryswyk E, Norman RJ, Teede HJ, Moran LJ. Lifestyle changes in women with polycystic ovary syndrome. Cochrane Database Syst Rev 2019;3:CD007506.

การรักษากลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ตอนที่ 1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต ซึ่งประกอบด้วยการลด/ควบคุมน้ำหนัก และการออกกำลังกาย ซึ่งการควบคุมน้ำหนักต้องคำนวณค่าพลังงานเผาพลาญพื้นฐานต่อวัน (basal metabolic rate หรือ BMR) และค่าพลังงานที่ใช้ทั้งหมดต่อวัน (total daily energy expenditure หรือ TDEE) และวางแผนการลดน้ำหนักโดยรับประทานอาหารไม่ต่ำกว่าค่าค่าพลังงานเผาพลาญพื้นฐานต่อวัน แต่ไม่ควรจะเกินค่าพลังงานที่ใช้ทั้งหมดต่อวัน ซึ่งก็คือการที่จะไม่รับประทานอาหารมากกว่ากิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยหากคุมอาหารใกล้กับค่าพลังงานเผาพลาญพื้นฐานต่อวัน น้ำหนักจะลดลงตามกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยหากมีกิจกรรมในระหว่างวันมากหรือมีการออกกำลังกายมาก น้ำหนักก็จะลดลงมากด้วย ซึ่งเมื่อลดน้ำหนักได้ดัชนีมวลกายที่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมแล้ว การควบคุมน้ำหนักต้องอาศัยวินัยและความต่อเนื่องจนเกิดเป็นนิสัยในการเลือกชนิดและปริมาณอาหารให้มีความเหมาะสมกับค่าพลังงานที่ใช้ทั้งหมดต่อวัน โดยเมื่อรับประทานอาหารเท่ากับพลังงานที่ใช้ไปในระหว่างวัน น้ำหนักของสตรีจะคงที่ (1, 2)

เอกสารอ้างอิง

  1. Harrison CL, Lombard CB, Moran LJ, Teede HJ. Exercise therapy in polycystic ovary syndrome: a systematic review. Hum Reprod Update 2011;17:171-83.
  2. Lim SS, Hutchison SK, Van Ryswyk E, Norman RJ, Teede HJ, Moran LJ. Lifestyle changes in women with polycystic ovary syndrome. Cochrane Database Syst Rev 2019;3:CD007506.