การรักษากลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ตอนที่ 1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต ซึ่งประกอบด้วยการลด/ควบคุมน้ำหนัก และการออกกำลังกาย ซึ่งการควบคุมน้ำหนักต้องคำนวณค่าพลังงานเผาพลาญพื้นฐานต่อวัน (basal metabolic rate หรือ BMR) และค่าพลังงานที่ใช้ทั้งหมดต่อวัน (total daily energy expenditure หรือ TDEE) และวางแผนการลดน้ำหนักโดยรับประทานอาหารไม่ต่ำกว่าค่าค่าพลังงานเผาพลาญพื้นฐานต่อวัน แต่ไม่ควรจะเกินค่าพลังงานที่ใช้ทั้งหมดต่อวัน ซึ่งก็คือการที่จะไม่รับประทานอาหารมากกว่ากิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยหากคุมอาหารใกล้กับค่าพลังงานเผาพลาญพื้นฐานต่อวัน น้ำหนักจะลดลงตามกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยหากมีกิจกรรมในระหว่างวันมากหรือมีการออกกำลังกายมาก น้ำหนักก็จะลดลงมากด้วย ซึ่งเมื่อลดน้ำหนักได้ดัชนีมวลกายที่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมแล้ว การควบคุมน้ำหนักต้องอาศัยวินัยและความต่อเนื่องจนเกิดเป็นนิสัยในการเลือกชนิดและปริมาณอาหารให้มีความเหมาะสมกับค่าพลังงานที่ใช้ทั้งหมดต่อวัน โดยเมื่อรับประทานอาหารเท่ากับพลังงานที่ใช้ไปในระหว่างวัน น้ำหนักของสตรีจะคงที่ (1, 2)

เอกสารอ้างอิง

  1. Harrison CL, Lombard CB, Moran LJ, Teede HJ. Exercise therapy in polycystic ovary syndrome: a systematic review. Hum Reprod Update 2011;17:171-83.
  2. Lim SS, Hutchison SK, Van Ryswyk E, Norman RJ, Teede HJ, Moran LJ. Lifestyle changes in women with polycystic ovary syndrome. Cochrane Database Syst Rev 2019;3:CD007506.