คลังเก็บป้ายกำกับ: การผ่าตัดคลอด อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การผ่าตัดคลอด อุปสรรคที่พบบ่อยที่ทำให้มารดาเริ่มต้นให้นมลูกช้า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัจจุบันในประเทศไทยมีอัตราการผ่าตัดคลอดที่สูง ในสมัยก่อนที่เทคโนโลยีในการดมยาสลบและการผ่าตัดยังไม่ดี การผ่าตัดคลอดจะเป็นเรื่องที่อาจส่งผลทำให้ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้สูง เมื่อกระบวนการการดูแลรักษารวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ ดีขึ้น มารดาและครอบครัวเริ่มที่จะมีความคิดและค่านิยมว่าการผ่าตัดคลอดเป็นทางเลือกของการคลอดที่สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อบ่งชี้ โดยเมื่อถึงกำหนดคลอด มารดาจะบอกแพทย์ผู้ดูแลว่า กลัวเจ็บครรภ์คลอด ขอผ่าตัดคลอด หรือต้องการคลอดตามฤกษ์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ทารกที่คลอดออกมาโชคดีหรือมีดวงดี ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด เพราะแม้ในปัจจุบันการผ่าตัดคลอดก็ยังคงมีภาวะแทรกซ้อนมากกว่าการคลอดปกติตามธรรมชาติและยังมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยมารดาที่ผ่าตัดคลอดจะมีผลทำให้การเริ่มต้นการให้นมลูกช้า (มีการศึกษาพบว่าการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดจะช้ามารดาที่คลอดปกติกว่า 2 เท่า)1 ?ซึ่งส่งผลต่อการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรก การกระตุ้นน้ำนมทำได้ช้า และพบมารดาที่ผ่าตัดคลอดมีความรักความผูกพันน้อยกว่ามารดาที่คลอดปกติตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาด้วยการผ่าตัดคลอด บุคลากรทางการแพทย์ควรพยายามปรับเปลี่ยนการดูแลเพื่อส่งเสริมให้มารดาได้เริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เร็วขึ้น เช่น เลือกการให้ยาระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังทำให้มารดาสามารถรู้ตัว สามารถทำการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและเริ่มกระตุ้นดูดนมได้เร็ว ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Kambale RM, Buliga JB, Isia NF, Muhimuzi AN, Battisti O, Mungo BM. Delayed initiation of breastfeeding in Bukavu, South Kivu, eastern Democratic Republic of the Congo: a cross-sectional study. Int Breastfeed J 2018;13:6.

 

 

การผ่าตัดคลอด อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบันอัตราการผ่าตัดคลอดได้พบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีปัจจัยมาจากทั้งตัวผู้ป่วยและแพทย์ผู้ให้บริการ โดยทั่วไปอัตราการผ่าตัดคลอดตามความจำเป็นจะอยู่ในราวร้อยละ 15 ในขณะที่ในโรงพยาบาลของภาครัฐ อัตราการผ่าตัดคลอดอยู่ในราวร้อยละ 40-50 และอัตราการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลเอกชนอยู่ในราวร้อยละ 80-90 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นจากค่านิยมของมารดาที่กลัวการเจ็บครรภ์คลอดและการต้องเบ่งคลอด ค่านิยมในการเลือกเวลาคลอดหรือต้องการให้ลูกเกิดในฤกษ์ที่ดี และความเชื่อที่คิดว่าการผ่าตัดคลอดทำให้ลูกมีความปลอดภัยมากกว่าการคลอดบุตรทางช่องคลอด สำหรับปัจจัยทางด้านแพทย์ ได้แก่ การผ่าตัดคลอดสามารถกำหนดเวลาทำคลอดได้แน่นอน ไม่ต้องรอคอยการเจ็บครรภ์คลอดตามปกติ การผ่าตัดคลอดตามความต้องการของมารดาและครอบครัวลดข้อขัดแย้งที่มารดาและครอบครัวอาจมาบ่นในภายหลังว่า? เจ็บครรภ์คลอดแล้วยังคลอดไม่ได้ ต้องเจ็บแผลผ่าตัดคลอดอีก และความวิตกกังวลหรือกลัวการฟ้องร้องจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างการรอคลอด เนื่องจากความเชื่อของมารดาและครอบครัวยังคงมีความเชื่อว่าการผ่าตัดคลอดยังเป็นการดูแลการคลอดที่ดีกว่า ปัจจัยและความเชื่อผิด ๆ เหล่านี้นำมาซึ่งอัตราการผ่าตัดคลอดที่สูง โดยมีผลถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย1 เนื่องจากหากมารดาต้องดมยาสลบ กว่าจะฟื้นตัว ให้ลูกได้เริ่มกินนม ก็เกินกว่าระยะเวลาที่แนะนำให้ลูกได้เริ่มกินนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดแล้ว นอกจากนี้ การเจ็บแผลผ่าตัดคลอดยังมีผลต่อการจัดท่าให้นมลูก ทำให้มีข้อจำกัดและมีความลำบากในการจัดท่าที่เหมาะสม การใช้ยาแก้ปวดของมารดาอาจส่งผลทำให้ทารกง่วงซึมและไม่สนใจจะดูดได้ ซึ่งโดยภาพรวมแล้วจึงเกิดผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมของมารดาและครอบครัวรวมทั้งคนในสังคมจะสร้างปัญญาหรือทางแก้ที่เป็นทางออกของปัญหาได้โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่จะช่วยสร้างปัญญาให้เกิดกับคนในสังคม

เอกสารอ้างอิง

  1. Azzeh FS, Alazzeh AY, Hijazi HH, et al. Factors Associated with Not Breastfeeding and Delaying the Early Initiation of Breastfeeding in Mecca Region, Saudi Arabia. Children (Basel) 2018;5.

 

การผ่าตัดคลอด อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38208154

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ??การผ่าตัดคลอด ในอดีตถือว่าเป็นความจำเป็นที่ต้องมีข้อบ่งชี้ชัดเจนเนื่องจากความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดสูงกว่าการให้มารดาคลอดปกติทางช่องคลอด แต่เมื่อการแพทย์พัฒนาขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดคลอดลดลง ทำให้ความใส่ใจและเข้มงวดในข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดลดลงด้วย เห็นได้จากอัตราการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน ในโรงพยาบาลรัฐบาลนั้น อัตราการผ่าตัดคลอดโดยรวมจะพบราวร้อยละ 30-50 ขณะที่ในโรงพยาบาลเอกชนพบอัตราการผ่าตัดคลอดราวร้อยละ 70-90 ซึ่งการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเป็นจากความกังวลในเรื่องการฟ้องร้อง ซึ่งการที่แพทย์ดูแลการคลอดปกติ บางครั้งหากเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ได้คาดคิด มารดาและครอบครัวจะตั้งคำถามว่า ?ทำไม่หมอไม่ตัดสินใจผ่าตัดคลอด? ความเชื่อและค่านิยมลึกๆ ที่ยังฝังใจมารดาและครอบครัวว่า การผ่าตัดคลอดน่าจะมีความปลอดภัยในการคลอดมากกว่าจึงอาจมีผลต่ออัตราการผ่าตัดคลอดด้วย ผลของการผ่าตัดคลอดนั้น นอกจากความเสี่ยงต่างๆ ของมารดาและทารกที่พบสูงขึ้นแล้ว ยังพบว่ามีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยมารดาที่ผ่าตัดคลอดจะเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้ากว่า การเจ็บแผลที่มากกว่าส่งผลต่อการขยับตัว การจัดท่า และการนำทารกเข้าเต้าได้ไม่ดี ซึ่งส่งผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วกว่าที่ควร1,2 การที่พบว่าอัตราการผ่าตัดคลอดเพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลเสียและเป็นอุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Hobbs AJ, Mannion CA, McDonald SW, Brockway M, Tough SC. The impact of caesarean section on breastfeeding initiation, duration and difficulties in the first four months postpartum. BMC Pregnancy Childbirth 2016;16:90.
  2. Buranawongtrakoon S, Puapornpong P. Comparison of LATCH scores at the second day postpartum between mothers with cesarean sections and those with normal deliveries. Thai J Obstet and Gynaecol 2016;24:6-13.