รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีของทารกจากมารดาที่ติดเชื้อตับอักเสบบีเรื้อรังเมื่อมีการให้ภูมิคุ้มกัน พบว่ามีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อในทารกได้ดี อย่างไรก็ตามยังพบทารกร้อยละ 10 ที่การให้การป้องกันรักษาไม่ได้ผลและทารกมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง1 ปัจจัยเรื่องการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีของทารกในช่วงก่อนคลอดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะนี้ โดยการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบในทารกจะใช้การตรวจดีเอ็นเอของไวรัสตับอักเสบบีจากการตรวจเลือดจากสายสะดือทารกหรือจากหลอดเลือดส่วนปลายของทารก2 ซึ่งการใช้เลือดทารกจากหลอดเลือดส่วนปลายจะให้ผลถูกต้องกว่าจากสายสะดือทารกที่มีโอกาสปนเปื้อนเลือดมารดา3 กลไกการเกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารกในช่วงก่อนคลอดมีดังนี้
–????????? การติดเชื้อที่รก และการติดเชื้อผ่านรก เชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดเชื้อได้กับเซลล์ทุกชนิด ดังนั้น เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในโพรงมดลูกจะติดเชื้อผ่านไปที่เซลล์ของรกและทารกได้ ในมารดาที่มีดีเอ็นเอของไวรัสตับอักเสบบีในกระแสเลือดสูงจะมีโอกาสที่จะมีเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสในโพรงมดลูกสูง และมีความเสี่ยงในการติดเชื้อในทารกสูงด้วย3,4
–????????? การมีการรั่วซึมของเลือดของมารดา กลไกนี้เกิดขณะที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โดยจะมีการรั่วซึมของเลือดมารดาในโพรงมดลูกและมีการปะปนกับเลือดของทารก5 ทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อในทารกสูงขึ้น
–????????? การเจาะน้ำคร่ำ ตามทฤษฎีการเจาะน้ำคร่ำจะนำเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเข้าไปในน้ำคร่ำและทำให้เกิดการติดเชื้อ แต่จากการศึกษาที่ผ่านมา ไม่พบอัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารกสูงขึ้นในมารดาที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง6-8 แต่อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาเหล่านี้ใช้การตรวจ HBsAg ในการวินิจฉัยการติดเชื้อในทารก ซึ่งมีความถูกต้องน้อยกว่าการตรวจดีเอ็นเอของไวรัสตับอักเสบบี
–????????? กลไกอื่นๆ ได้แก่ การติดเชื้อผ่านการเม็ดเลือดขาว mononuclear ของมารดาที่ผ่านไปที่ทารก9 การติดเชื้อผ่านไข่หรืออสุจิของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี6 และการมียีนที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ เช่น interferon-gamma?and tumor necrosis factor-? ซึ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบบีในโพรงมดลูก10,11
หนังสืออ้างอิง
?1.???????? Liu Y, Kuang J, Zhang R, Lin S, Ding H, Liu X. [Analysis about clinical data of intrauterine infection of hepatitis B virus]. Zhonghua Fu Chan Ke Za Zhi 2002;37:465-8.
2.???????? Sarin SK, Kumar M, Shrivastava S, Sinha S, Pati NT. Influence of chronic HBV infection on pregnancy: a human model of maternofetal virus host interactions. Gastroenterology 2011;141:1522-5.
3.???????? Zhang SL, Yue YF, Bai GQ, Shi L, Jiang H. Mechanism of intrauterine infection of hepatitis B virus. World J Gastroenterol 2004;10:437-8.
4.???????? Bai H, Zhang L, Ma L, Dou XG, Feng GH, Zhao GZ. Relationship of hepatitis B virus infection of placental barrier and hepatitis B virus intra-uterine transmission mechanism. World J Gastroenterol 2007;13:3625-30.
5.???????? Lin HH, Lee TY, Chen DS, et al. Transplacental leakage of HBeAg-positive maternal blood as the most likely route in causing intrauterine infection with hepatitis B virus. J Pediatr 1987;111:877-81.
6.???????? Ko TM, Tseng LH, Chang MH, et al. Amniocentesis in mothers who are hepatitis B virus carriers does not expose the infant to an increased risk of hepatitis B virus infection. Arch Gynecol Obstet 1994;255:25-30.
7.???????? Alexander JM, Ramus R, Jackson G, Sercely B, Wendel GD, Jr. Risk of hepatitis B transmission after amniocentesis in chronic hepatitis B carriers. Infect Dis Obstet Gynecol 1999;7:283-6.
8.???????? Towers CV, Asrat T, Rumney P. The presence of hepatitis B surface antigen and deoxyribonucleic acid in amniotic fluid and cord blood. Am J Obstet Gynecol 2001;184:1514-8; discussion 8-20.
9.???????? Bai GQ, Li SH, Yue YF, Shi L. The study on role of peripheral blood mononuclear cell in HBV intrauterine infection. Arch Gynecol Obstet 2011;283:317-21.
10.?????? Yu H, Zhu QR, Gu SQ, Fei LE. Relationship between IFN-gamma gene polymorphism and susceptibility to intrauterine HBV infection. World J Gastroenterol 2006;12:2928-31.
11.?????? Zhu QR, Ge YL, Gu SQ, et al. Relationship between cytokines gene polymorphism and susceptibility to hepatitis B virus intrauterine infection. Chin Med J (Engl) 2005;118:1604-9.
?
?