รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
มารดาที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ที่พบมีน้ำนมมาน้อยหลังคลอด แม้ว่าจะมีการให้ลูกกระตุ้นดูดนมอย่างเหมาะสมแล้ว ควรจะมีการตรวจทบทวนความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่อาจส่งผลต่อนมแม่ ได้แก่ testosterone, FSH, LH, estradiol, progesterone และกลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์ ได้แก่ TSH, FreeT4, FreeT3 ที่พบร่วมเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำนมมาน้อยได้ ร่วมกับตรวจอินซูลิน โดยอาจตรวจ FBS และ Hb A1c เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยและใช้ในการติดตามการรักษา สำหรับการรักษาจะรักษาตามผลที่ตรวจฮอร์โมนที่ผิดปกติ แต่หากพบว่าอินซูลินเป็นสาเหตุหลัก การใช้ยา metformin ช่วยกระตุ้นการตอบสนองของอินซูลินให้ดีขึ้นได้1,2 ซึ่งการกระตุ้นน้ำนมด้วย domperidone ร่วมกันหรือหลังจากปรับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลดีแล้ว จะช่วยให้มารดามีน้ำนมเพิ่มขึ้นได้ แต่การรักษาต้องใช้เวลานานเป็นเดือน ดังนั้น มารดาจึงต้องมีความอดทน และความตั้งใจจริงที่จะให้ลูกได้กินนมแม่
เอกสารอ้างอิง
- Sharma N, Siriesha, Lugani Y, Kaur A, Ahuja VK. Effect of metformin on insulin levels, blood sugar, and body mass index in polycystic ovarian syndrome cases. J Family Med Prim Care 2019;8:2691-5.
- Masaeli A, Nayeri H, Mirzaee M. Effect of Metformin Treatment on Insulin Resistance Markers, and Circulating Irisin in Women with Polycystic Ovarian Syndrome (PCOS). Horm Metab Res 2019;51:575-9.