คลังเก็บป้ายกำกับ: การจัดอบรมความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้

การจัดอบรมความรู้เรื่องนมแม่ช่วยความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                ความรู้เป็นพื้นฐานของงความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อการปฎิบัติของมารดา ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรส่งเสริมให้สตรีที่มีความรู้พื้นฐานความรู้ในเกณฑ์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือมากกว่า เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจในการดูแลการให้นมลูก นอกจากนี้ การจัดอบรมความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยการจัดอบรมความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยเรื่องความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 เพราะเมื่อมีความเข้าใจถึงความประโยชชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวและเป็นประโยชน์ต่อทั้งมารดาและทารก ดังนั้นนี่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่จะส่งเสริมที่มารดามีความพร้อมในการให้นมแม่แก่ลูก

เอกสารอ้างอิง

  1. Parry KC, Tully KP, Hopper LN, Schildkamp PE, Labbok MH. Evaluation of Ready, Set, BABY: A prenatal breastfeeding education and counseling approach. Birth 2019;46:113-20.

การจัดอบรมความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                เรื่องความรู้เกี่ยวกับนมแม่นั้นมีความสำคัญซึ่งส่งผลต่อทัศนคติและการปฏิบัติของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการจัดอบรมความรู้เรื่องนมแม่แก่มารดาในระหว่างการฝากครรภ์ การคลอดและหลังคลอดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดีของมารดาและครอบครัวต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดอบรมให้ความรู้แก่มารดาในกลุ่มมารดาที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยพบว่า การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดา 4-8 ครั้งในระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้1 สิ่งนี้ช่วยยืนยันถึงความสำคัญของการจัดอบรมให้ความรู้แก่มารดา ดังนั้น บุคลาการทางการแพทย์ที่ทำงานเกี่ยวกับการดูแลมารดาระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดควรจัดให้มีกระบวนการการอบรมมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อช่วยในการรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะช่วยสร้างให้มารดาและทารกมีสุขภาพดีจากการให้ลูกได้กินนมแม่โดยที่องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าหมายไว้อย่างน้อยร้อยละ 50 ของมารดาจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นให้นมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยต่อเนื่องจนกระทั่งสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Olufunlayo TF, Roberts AA, MacArthur C, et al. Improving exclusive breastfeeding in low and middle-income countries: A systematic review. Matern Child Nutr 2019:e12788.