คลังเก็บป้ายกำกับ: กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            มีการศึกษาว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีผลต่อการเกิดกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ด้วย ซึ่งจะแบ่งรายละเอียดเป็น

  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในครรภ์ การรบกวนหรือมีความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อการแสดงออกของยีนเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการเหนือพันธุกรรม (epigenetic) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในครรภ์ที่ส่งผลต่อการเกิดกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ได้แก่
    • การที่ทารกเพศหญิงได้รับฮอร์โมนเพศชายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (congenital virilization) ซึ่งตัวอย่างของการเกิดสภาวะนี้จะพบได้ในทารกเพศหญิงที่มี congenital adrenal hyperplasia โดยการที่ทารกได้รับสภาพแวดล้อมที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง จะกระตุ้นกระบวนการเหนือพันธุกรรม ซึ่งจะทำให้พบทารกที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่เมื่อทารกเจริญย่างเข้าสู่วัยรุ่น1-3
    • ทารกที่ขาดสารอาหารในครรภ์ การที่ทารกขาดสารอาหารในครรภ์จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่4-6
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมหลังการเกิด ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นส่วนที่ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ซึ่งได้แก่ ภาวะการมีอินซูลินมากจากการมีความต้านทานต่ออินซูลิน (insulin resistant hyperinsulinism)1 การมีฮอร์โมนเพศชายสูง (hyperandrogenism)5,7 และการได้รับสาร Bisphenol A ซึ่งได้รับสารนี้จากการปนเปื้อนในภาชนะพลาสติกที่ใส่อาหารหรือน้ำดื่ม8,9

เอกสารอ้างอิง

  1. Rosenfield RL, Ehrmann DA. The Pathogenesis of Polycystic Ovary Syndrome (PCOS): The Hypothesis of PCOS as Functional Ovarian Hyperandrogenism Revisited. Endocr Rev 2016;37:467-520.
  2. Homburg R, Gudi A, Shah A, A ML. A novel method to demonstrate that pregnant women with polycystic ovary syndrome hyper-expose their fetus to androgens as a possible stepping stone for the developmental theory of PCOS. A pilot study. Reprod Biol Endocrinol 2017;15:61.
  3. Kosidou K, Dalman C, Widman L, et al. Maternal polycystic ovary syndrome and the risk of autism spectrum disorders in the offspring: a population-based nationwide study in Sweden. Mol Psychiatry 2016;21:1441-8.
  4. Escobar-Morreale HF. Polycystic ovary syndrome: definition, aetiology, diagnosis and treatment. Nat Rev Endocrinol 2018;14:270-84.
  5. Ibanez L, Potau N, Francois I, de Zegher F. Precocious pubarche, hyperinsulinism, and ovarian hyperandrogenism in girls: relation to reduced fetal growth. J Clin Endocrinol Metab 1998;83:3558-62.
  6. Fulghesu AM, Manca R, Loi S, Fruzzetti F. Insulin resistance and hyperandrogenism have no substantive association with birth weight in adolescents with polycystic ovary syndrome. Fertil Steril 2015;103:808-14.
  7. De Bortoli J, Amir LH. Is onset of lactation delayed in women with diabetes in pregnancy? A systematic review. Diabet Med 2016;33:17-24.
  8. Rutkowska AZ, Diamanti-Kandarakis E. Polycystic ovary syndrome and environmental toxins. Fertil Steril 2016;106:948-58.
  9. Hewlett M, Chow E, Aschengrau A, Mahalingaiah S. Prenatal Exposure to Endocrine Disruptors: A Developmental Etiology for Polycystic Ovary Syndrome. Reprod Sci 2017;24:19-27.

 

กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่และปัจจัยด้านพันธุกรรม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ คำที่ใช้เรียกในภาษาอังกฤษคือ polycystic ovarian syndrome หรือใช้คำย่อเป็น PCOS  ความชุกของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่พบร้อยละ 8-131  โดยสาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการนี้เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากพิจารณาปัจจัยทางด้านพันธุกรรม มีการศึกษาพบความสัมพันธ์ของการเกิดกลุ่มอาการนี้สูงในครอบครัวและคู่แฝด ซึ่งพบยีนหลายตัวที่มีความเกี่ยวข้องมากกับกลุ่มอาการนี้ คือ DENND1A V.2, FSHR, LHCGR และ INSR2,3 โดยมีการถ่ายทอดแบบ autosomal dominant ดังนั้นประวัติของกลุ่มอาการนี้ในครอบครัวจึงมีความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเกิดกลุ่มอาการนี้เช่นกัน ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Wiencek JR, McCartney CR, Chang AY, Straseski JA, Auchus RJ, Woodworth A. Challenges in the Assessment and Diagnosis of Polycystic Ovary Syndrome. Clin Chem 2019;65:370-7.
  2. Tee MK, Speek M, Legeza B, et al. Alternative splicing of DENND1A, a PCOS candidate gene, generates variant 2. Mol Cell Endocrinol 2016;434:25-35.
  3. McAllister JM, Legro RS, Modi BP, Strauss JF, 3rd. Functional genomics of PCOS: from GWAS to molecular mechanisms. Trends Endocrinol Metab 2015;26:118-24.

กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

          กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Polycystic ovarian syndrome เป็นกลุ่มอาการที่จะมีความผิดปกติของฮอร์โมน ซึ่งจะเกิดจากมีอินซูลินที่สูง1 มีผลต่อฮอร์โมนอื่น ได้แก่ แอนโดรเจน เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ไม่สมดุล ทำให้คือ ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ส่งผลให้สตรีไม่มีการตกไข่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น ขนดก หรือมีบุตรยากได้ โดยทั่วไป สตรีที่มีกลุ่มอาการกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่มักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการประจำเดือนผิดปกติ เกิดจากไข่ไม่ตก ทำให้มีบุตรยาก สตรีที่อยู่ในกลุ่มอาการนี้ มักอ้วน มีสิว ผิวมัน และขนดก2 ซึ่งหลักในการรักษา คือ การให้มารดาควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร่วมกับการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ โดยมักแนะนำการปฏิบัติตัวร่วมกับการใช้ยา

สตรีในกลุ่มนี้ เมื่อให้การรักษาอย่างเหมาะสมแล้ว การตกไข่และประจำเดือนจะมาปกติ สตรีจะตั้งครรภ์ได้ ซึ่งในระยะหลังคลอด มารดาที่อยู่ในกลุ่มอาการนี้อาจพบมีน้ำนมมาน้อย ไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยงทารกได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของมารดาที่อยู่ในกลุ่มอาการนี้จะมีน้ำนมมาปกติ หากได้รับกระตุ้นการดูดนมและมีการจัดท่าให้นมที่เหมาะสม แต่ในกลุ่มมารดาที่มีน้ำนมน้อยที่อยู่ในกลุ่มอาการนี้จะให้ประวัติเกี่ยวกับการมีบุตรยาก การขยายของเต้านมในระหว่างการตั้งครรภ์น้อย และมีการตึงคัดเต้านมหลังคลอดน้อย เมื่อกลุ่มมารดาที่มีน้ำนมน้อยมาขอคำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงมีความจำเป็นต้องมีการตรวจฮอร์โมนเพื่อยืนยันความผิดปกติและใช้ติดตามในการรักษา และควรมีการสังเกตมารดาในขณะให้นมลูกว่ามารดามีการให้ทารกกระตุ้นดูดนมเหมาะสมหรือไม่ก่อนเสมอ โดยหากพบปัญหาของการที่มีน้ำนมน้อยเกิดจากอะไร การแก้ไขก็จะแก้ไปตามนั้น มารดาในกลุ่มอาการนี้จะมีความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่ได้ หากมีความตั้งใจ อดทน และได้รับคำปรึกษาในการดูแลรักษาที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Urbanska E, Hirnle L, Olszanecka-Glinianowicz M, Skrzypulec-Plinta V, Skrzypulec-Frankel A, Drosdzol-Cop A. Is polycystic ovarian syndrome and insulin resistance associated with abnormal uterine bleeding in adolescents? Ginekol Pol 2019;90:262-9.
  2. Zeng X, Xie YJ, Liu YT, Long SL, Mo ZC. Polycystic ovarian syndrome: Correlation between hyperandrogenism, insulin resistance and obesity. Clin Chim Acta 2019.