กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            มีการศึกษาว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีผลต่อการเกิดกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ด้วย ซึ่งจะแบ่งรายละเอียดเป็น

  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในครรภ์ การรบกวนหรือมีความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อการแสดงออกของยีนเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการเหนือพันธุกรรม (epigenetic) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในครรภ์ที่ส่งผลต่อการเกิดกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ได้แก่
    • การที่ทารกเพศหญิงได้รับฮอร์โมนเพศชายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (congenital virilization) ซึ่งตัวอย่างของการเกิดสภาวะนี้จะพบได้ในทารกเพศหญิงที่มี congenital adrenal hyperplasia โดยการที่ทารกได้รับสภาพแวดล้อมที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง จะกระตุ้นกระบวนการเหนือพันธุกรรม ซึ่งจะทำให้พบทารกที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่เมื่อทารกเจริญย่างเข้าสู่วัยรุ่น1-3
    • ทารกที่ขาดสารอาหารในครรภ์ การที่ทารกขาดสารอาหารในครรภ์จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่4-6
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมหลังการเกิด ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นส่วนที่ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ซึ่งได้แก่ ภาวะการมีอินซูลินมากจากการมีความต้านทานต่ออินซูลิน (insulin resistant hyperinsulinism)1 การมีฮอร์โมนเพศชายสูง (hyperandrogenism)5,7 และการได้รับสาร Bisphenol A ซึ่งได้รับสารนี้จากการปนเปื้อนในภาชนะพลาสติกที่ใส่อาหารหรือน้ำดื่ม8,9

เอกสารอ้างอิง

  1. Rosenfield RL, Ehrmann DA. The Pathogenesis of Polycystic Ovary Syndrome (PCOS): The Hypothesis of PCOS as Functional Ovarian Hyperandrogenism Revisited. Endocr Rev 2016;37:467-520.
  2. Homburg R, Gudi A, Shah A, A ML. A novel method to demonstrate that pregnant women with polycystic ovary syndrome hyper-expose their fetus to androgens as a possible stepping stone for the developmental theory of PCOS. A pilot study. Reprod Biol Endocrinol 2017;15:61.
  3. Kosidou K, Dalman C, Widman L, et al. Maternal polycystic ovary syndrome and the risk of autism spectrum disorders in the offspring: a population-based nationwide study in Sweden. Mol Psychiatry 2016;21:1441-8.
  4. Escobar-Morreale HF. Polycystic ovary syndrome: definition, aetiology, diagnosis and treatment. Nat Rev Endocrinol 2018;14:270-84.
  5. Ibanez L, Potau N, Francois I, de Zegher F. Precocious pubarche, hyperinsulinism, and ovarian hyperandrogenism in girls: relation to reduced fetal growth. J Clin Endocrinol Metab 1998;83:3558-62.
  6. Fulghesu AM, Manca R, Loi S, Fruzzetti F. Insulin resistance and hyperandrogenism have no substantive association with birth weight in adolescents with polycystic ovary syndrome. Fertil Steril 2015;103:808-14.
  7. De Bortoli J, Amir LH. Is onset of lactation delayed in women with diabetes in pregnancy? A systematic review. Diabet Med 2016;33:17-24.
  8. Rutkowska AZ, Diamanti-Kandarakis E. Polycystic ovary syndrome and environmental toxins. Fertil Steril 2016;106:948-58.
  9. Hewlett M, Chow E, Aschengrau A, Mahalingaiah S. Prenatal Exposure to Endocrine Disruptors: A Developmental Etiology for Polycystic Ovary Syndrome. Reprod Sci 2017;24:19-27.