คลังเก็บป้ายกำกับ: สิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก

สิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก2

images123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ทำไมจึงให้ความสำคัญในการพูดคุยสื่อสารกับมารดา?

สตรีตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับความรู้ที่ถูกต้องที่ไม่ได้มีผลประโยชน์ทางการค้าของบริษัทนมผสม ข้อมูลที่ให้จะต้องมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับมารดาแต่ละคน การที่มารดาได้รับข้อมูลที่มีอคติจากผลประโยชน์ทางการค้า อาจทำให้การตัดสินใจของมารดาผิดพลาดได้

ทำไมจึงให้ความสำคัญกับการให้มารดาและทารกได้สัมผัสกันตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด????

? ? ? ? ? ?การให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดา???????????????????????????????????????????????

  • ช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับทารก ทำให้จังหวะการหายใจและการเต้นของหัวใจทารกสม่ำเสมอ
  • ช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เริ่มต้น
  • ช่วยให้มารดาและทารกได้รู้จักซึ่งกันและกัน

โดยหากทารกจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์เพิ่มเติม การให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดาควรเริ่มต้นทันทีที่สามารถเริ่มต้นได้

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

สิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก1

images123รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ในการจะส่งเสริมให้โรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก จำเป็นต้องตอบคำถามที่สำคัญเหล่านี้ ได้แก่

ทำไมจึงต้องให้ความสำคัญกับการเขียนนโยบายในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ติดประกาศให้เห็นเด่นชัดในโรงพยาบาล?

-นโยบายจะช่วยชี้ชัดว่า บุคลากรและการให้บริการจะต้องปฏิบัติการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในลักษณะของงานประจำ? และเป็นข้อตกลงที่ทุกคนยอมรับ โดยสิ่งนี้จะช่วยให้มารดาและครอบครัวสามารถคาดหวังสิ่งที่จะได้รับจากโรงพยาบาลได้

-เพื่อที่จะตรงกับวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก การปฏิเสธที่จะรับตัวอย่างนมหรือสิ่งสนับสนุนอื่นๆ จากบริษัทผู้ผลิตนมผสมหรือตัวแทนจำหน่ายเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องประกาศให้ชัด

-ในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ติดเชื้อเอชไอวีสูงจะต้องมีการเขียนแนวทางในการปฏิบัติในมารดากลุ่มนี้ให้ชัด เพื่อที่จะได้ดูแลมารดาในกรณีที่ไม่ได้ให้นมแม่ได้อย่างเหมาะสม

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการอบรมบุคลากรในโรงพยาบาล?

บุคลากรที่มีความรู้จะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ลดการปฏิบัติการใดๆ ที่ไม่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการยึดการปฏิบัติตามแนวทางโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกจะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้นได้

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009