คลังเก็บป้ายกำกับ: งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (1)

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (15)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด (The effect of nursing empowerment program on adaptation in breastfeeding for mother with preterm Infants) โดยอติพร ศิวิชัย หอผู้ป่วยหนักเด็ก โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เป็นวิจัยผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน ในกลุ่มทดลอง 20 คนมีโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด มีการดำเนินกิจกรรมการสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือ การค้นหาสภาพการณ์จริงของมารดา การสร้างพลังในการแก้ปัญหา การเสริมแหล่งพลังอำนาจ การเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยตนเอง การสร้างความมั่นใจและคงไว้ซึ่งความสามารถ พบว่าคะแนนการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกเกิดคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าคะแนนการปรับตัวของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรส่งเสริมการนำโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดไปประยุกต์ในทางปฏิบัติการพยาบาล เพื่อส่งเสริมความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกคลอดก่อนกำหนด

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (14)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?นวัตกรรม สเกลนมแม่ (Maternal milk scale innovation) โดยลมัย แสงพ็ง, อาภานี แย้มอิ่ม และ จริยา ขุนอินทร์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เป็นวิจัยพัฒนาครื่องมือสื่อสารปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับจากการดูดนมแม่แก่มารดาและญาติ โดยใช้แนวคิดจากปริมาตรของเหลว 15 หยด เท่ากับ 1 ซีซีและการดูดนมตามปกติของทารกคือ 6-7 ครั้งใน 10 วินาที โดยทดลองบีบนมแม่ที่ทารกป่วยจำนวน 30 ราย เริ่มด้วยบีบนม 15 ครั้งใน 20 วินาที แบ่งบีบเป็น 3 ชุด ชุดละ 5 ครั้ง และหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการไหลของน้ำนมจากการบีบนมครั้งแรกกับปริมาณน้ำนมที่บีบได้ใน 10 นาที และพัฒนามาสร้างสเกลนมแม่เป็นตารางแสดงลักษณะการไหลจากการบีบนม ปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับจากการดูดนมแม่อย่างน้อย 10 นาที และปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการต่อมื้อ จากนั้นใช้นวัตกรรมอธิบายแม่และญาติถึงปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับจากการดูดนมแม่แต่ละมื้อ ประเมินผลจากการใช้นวัตกรรมจากมารดาจำนวน 414 ราย พบว่ามารดาและญาติร้อยละ 92.27 เชื่อว่าลูกได้รับนมพอไม่ขอนมเสริมเพิ่ม และพบทารกได้รับนมเพียงพอร้อยละ100 สรุปการใช้นวัตกรรมสเกลนมแม่ทำให้มารดาและญาติพึงพอใจสูง? ช่วยสื่อสารให้มารดาเข้าใจว่านมแม่เพียงพอและลดการเสริมนมโดยไม่จำเป็น

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (13)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?นวัตกรรมสื่อการสอน เต้านมแม่มหัศจรรย์ (Innovation good teaching breast milk) โดยสุวิดา? โชติสุวรรณ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นวิจัยพัฒนาสื่อการสอนการบีบน้ำนมด้วยมือ เริ่มพัฒนาจากการบีบน้ำนมจริงกับหญิงหลังคลอด ปรับเปลี่ยนเป็นการใช้เต้านมที่ทำจากถุงน่อง และปรับให้เหมือนจริงขึ้นโดยมีน้ำนมไหลออกมาหากบีบเต้านมที่พัฒนาขึ้นได้ถูกต้อง จากการประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนและการบีบนมในตำแหน่งที่ถูกต้องจากเต้านมที่พัฒนาขึ้นหรือเรียกว่า เต้านมแม่มหัศจรรย์ พบว่า ผู้ใช้นวัตกรรมร้อยละ 86 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และร้อยละ14 มีความพึงพอใจในระดับมาก และผู้ใช้นวัตกรรมทุกรายสามารถบีบนมได้ถูกต้องหลังการใช้สื่อการสอน สรุปสื่อการสอนเต้านมมหัศจรรย์ที่พัฒนาขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจสูงและหลังการใช้สามารถบีบน้ำนมได้อย่างถูกต้อง

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (12)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? การพัฒนาระบบการวินิจฉัยและรักษาภาวะพังผืดใต้ลิ้น (Development of tongue tie care team)โดยเยาวเรศ กิตติธเนศวร และวันเพ็ญ กวยาวงศ์ คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลอ่างทอง เป็นวิจัยพัฒนารูปแบบการดูแลให้การวินิจฉัยและรักษาทารกที่มีภาวะพังผืดใต้ลิ้น โดยมีทีมที่ร่วมดูแลเริ่มตั้งแต่เจ้าหน้าที่ห้องคลอดประเมินภาวะพังผืดใต้ลิ้นก่อนย้ายทารกแรกคลอดทุกราย และบันทึกลงในแบบประเมินภาวะพังผืดใต้ลิ้นและการให้นมมารดา และส่งต่อข้อมูลให้กับหอผู้ป่วยหลังคลอด เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยหลังคลอดทำการประเมินภาวะพังผืดใต้ลิ้นซ้ำ และประเมินลักษณะหัวนมมารดาหลังทารกดูดนม และบันทึกลงในแบบประเมินภาวะพังผืดใต้ลิ้นและการให้นมมารดา จากนั้นให้การช่วยเหลือ โดยแก้ไขหัวนม ช่วยเหลือให้มารดามีท่าอุ้มที่ถูกต้อง ให้ทารกอมหัวนมได้ถูกต้อง หากยังมีปัญหาดูดนมแม่ได้ไม่มีประสิทธิภาพจากการประเมินโดยใช้ ?Siriraj Tongue Tie Score (STT score) ?ซึ่งทารกที่มี STT score ต่ำกว่า 8 แนะนำให้มารดาและครอบครัวว่าทารกควรได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ส่วนผู้ที่มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 8 ควรรักษาแบบประคับประคองก่อน หากไม่ดีขึ้นจึงเสนอทางเลือกโดยการผ่าตัดขลิบพังผืดใต้ลิ้น (frenulotomy) สูติแพทย์เป็นผู้ทำผ่าตัด frenulotomy สังเกตอาการและให้การดูแลหลังผ่าตัดโดยเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยร่วมกับมารดา ตรวจติดตามดูลักษณะแผลผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ประสิทธิภาพในการดูดนมของทารก โดยคลินิกนมแม่ หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ จากการประเมินภาวะพังผืดใต้ลิ้นในทารกจำนวน 5293 ราย พบทารกมีภาวะพังผืดใต้ลิ้น ร้อยละ 46.16 จำแนกเป็นความรุนแรงของภาวะพังผืดใต้ลิ้นระดับเล็กน้อยร้อยละ 40.92 ระดับปานกลางร้อยละ 50.50 และระดับมากร้อยละ 9.42? และพบทารกที่มีภาวะพังผืดใต้ลิ้นมี STT score <8 ร้อยละ 50.31 ของทารกมีภาวะพังผืดใต้ลิ้น ทำผ่าตัด frenulotomy โดยสูติแพทย์ไปแล้วทั้งสิ้น 1076 ราย อัตราความพึงพอใจของมารดาหลังทำผ่าตัดมีคะแนนเฉลี่ย 4.75 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน อัตราเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ทำผ่าตัด frenulotomy เฉลี่ยร้อยละ 98.52 และ 70.94 เมื่อติดตามหลังคลอด 7 วัน และ 6 เดือนตามลำดับ สรุปการพัฒนาทีมดูแลให้การวินิจฉัยและรักษาภาวะพังผืดใต้ลิ้นทำให้มารดาหลังได้รับการดูแลมีความพึงพอใจสูงและมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหกเดือนสูง

ที่มาจาก โปสเตอร์และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (11)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ผลของการฟังเพลงต่อการหลั่งน้ำนมในช่วงทันทีหลังคลอด ในมารดาที่คลอดครบกำหนด การศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่ม (Effect of music on immediately postpartum lactation by term mothers after giving birth: a randomized controlled?trial) โดยเยาวเรศ กิตติธเนศวร และคณะ เป็นวิจัยผลของการฟังเพลงที่มีต่อการไหลของน้ำนมมารดาหลังคลอด ศึกษาในมารดากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 152 รายพบว่า น้ำนมมารดาหลังทารกดูดนมในกลุ่มที่ฟังเพลงมากกว่ากลุ่มควบคุม 2.36 เท่าและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สรุปว่าการฟังเพลงหลังคลอดช่วยให้น้ำนมของมารดาไหลได้ดีขึ้น

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์