คลังเก็บป้ายกำกับ: งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (1)

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (5)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การศึกษาผลของการให้นมน้ำเหลืองในทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก (น้ำหนัก 1,000 กรัมถึง 1,500 กรัม) ต่อภาวการณ์ติดเชื้อในกระแสเลือดระยะท้าย (Clinical outcomes of early oropharyngeal colostrum in VLBW in preventing late onset neonatal sepsis) โดยนลินี ยมศรีเคน โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นวิจัยที่ศึกษาผลของการได้รับนมน้ำเหลืองในระยะแรกหลังคลอด ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยมากกับการเกิด late onset neonatal sepsis (L-OS) และ NEC โดยวิธีหยอดน้ำนมเหลืองใส่กระพุ้งแก้มทารกครั้งแรกใน 24 ชั่วโมง ครั้งต่อไปห่างกันทุก 3 ชั่วโมง? รวมแล้วให้ได้รับอย่างน้อย 16 ครั้งภายใน 72 ชั่วโมงแรกของชีวิตในกลุ่มตัวอย่าง 21 ราย เทียบกับกลุ่มควบคุมคือ ทารกไม่ได้รับนมแม่ตาม protocol 14 ราย? พบว่า อัตราการเกิดการ L-OS และการเกิด NEC ของกลุ่มตัวอย่าง คือร้อยละ 28.6 และ 4.8 ตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุมคือร้อยละ 64.3 และ 28.6? อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ?สรุปว่า การให้นมน้ำเหลืองในระยะแรกหลังคลอดกับทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากช่วยลดการติดเชื้อในกระแสเลือดสูงและภาวะ NEC ลงได้

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (4)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การศึกษาเปรียบเทียบผลสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างมารดาหัวนมสั้นกับหัวนมปกติ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช (A comparison between flat nipple and normal nipple mothers in breastfeeding success at Maharaj Nakhon Si Thammarat hospital) โดยลมัย แสงเพ็ง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และยุวดี วิทยพันธ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นวิจัยที่เปรียบเทียบผลสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการให้ทารกดูดนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างมารดาหัวนมสั้นกับหัวนมปกติ โดยศึกษาในมารดาที่มีความยาวหัวนม 0.1- 0.7 เซนติเมตรจำนวน 60 คู่? และมารดาที่มีความยาวหัวนม >0.7 เซนติเมตรจำนวน 60 คู่ พบว่าการให้ทารกดูดนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพในมารดาหัวนมปกติสูงกว่ามารดาหัวนมสั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่ายของมารดาหัวนมปกติสูงกว่ามารดาหัวนมสั้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปมารดาที่มีหัวนมสั้นอาจส่งผลลบต่อการดูดนมที่มีประสิทธิภาพของทารก

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (3)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (Attitude towards exclusive breastfeeding among Thai mothers in a tertiary hospital) โดยดวงพร ไมตรีจิตรและคณะ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นงานวิจัยที่ศึกษาทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือมารดาหลังคลอดบุตรในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 496 คน? เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทัศนคติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ทีมผู้วิจัยสร้างขึ้น? ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีอายุระหว่าง 26-34.5 ปี (อายุเฉลี่ย 31 ปี) มีกลุ่มตัวอย่างเพียง 10 คน (ร้อยละ 2) ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจนครบ 6 เดือน แต่มีกลุ่มตัวอย่างอีก 146 คน (ร้อยละ 29.4 ) เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่เป็นหลักแต่เพิ่มน้ำเปล่าบางมื้อ ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติ โดยรวม เท่ากับ 4.18?0.89 เมื่อจัดกลุ่มพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เชิงบวก มีจำนวน 405 คน (ร้อยละ 81.34)? เชิงลบ 26 คน(ร้อยละ 5.31) และทัศนคติแบบกลาง 66 คน (ร้อยละ 13.36)? โดยทัศนคติที่กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนในด้านลบมากที่สุด คือ การเลี้ยงบุตรด้วยนมผสมสะดวกรวดเร็ว (ร้อยละ 20.68) สำหรับทัศนคติเกี่ยวกับความพอเพียงของน้ำนม ความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ครบ 6 เดือน? การเป็นอุปสรรคในการทำงาน และระยะเวลาการให้นมนานถึง 2 ปี? กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกไม่แน่ใจ ร้อยละ 51.61, 23.47, 20.93 และ 17.1 ตามลำดับ? ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้ผลลัพธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้นจึงควรนำประเด็นปัญหาเหล่านี้พัฒนาต่อยอดเพื่อส่งเสริมให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จต่อไป

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (2)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? สารสนเทศแนะนำการใช้ยาในมารดาระยะการให้นมบุตร (The information guide dosing in maternal lactation) โดยสุวรรณ อาจคงหาญและพิรุณ อาจคงหาญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและฝ่ายเภสัชกรรมชุมชนและคุมครองผู้บริโภค โรงพยาบาลอู่ทอง เป็นงานวิจัยที่พัฒนาเว็บไซต์สารสนเทศแนะนำการใช้ยาในมารดาระยะการให้นมบุตรและประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานต่อเว็บไซต์สารสนเทศแนะนำการใช้ยาในมารดาระยะการให้นมบุตร ผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวน 20 คน พบว่าด้านข้อมูล ในเว็บไซต์ ในส่วนของข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน อธิบายข้อมูลได้ชัดเจนได้ค่าเฉลี่ยของคะแนนพึงพอใจ 4.15 ข้อมูลที่นำเสนอเป็นประโยชน์ตรงกับความต้องการได้ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 3.95 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวม 4.00 ซึ่งถือว่ามีความพึงพอใจมากต่อเว็บไซต์

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

งานวิจัยที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 (1)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? กระเพาะน้องกะช้อนตวง (Stomach & Spoon : S&S) โดยถรรศนา เจริญไว คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ? ศูนย์อนามัยที่ ๑๒ ยะลา เป็นงานวิจัยที่จัดทำอุปกรณ์เสริมที่เทียบขนาดของกระเพาะทารกกับช้อนตวงช่วยสอนแม่ให้เข้าใจเรื่องขนาดของกระเพาะทารกแรกเกิด? เพื่อแม่จะได้เกิดความมั่นใจในการให้นมแม่? อีกทั้งจะเกิดความมั่นใจว่าลูกน้อยจะได้รับสารอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตที่เหมาะสม โดยการอธิบายด้วยการเปรียบเทียบขนาดของกระเพาะกับช้อนตวง ช่วยให้มารดาเข้าใจว่าทารกได้รับนมแม่ที่พอเพียง ลดการเสริมนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ลดความเครียดของมารดา และช่วยลดการล้มเลิกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากร้อยละ 16.3 เหลือ 5.2

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์