คลังเก็บป้ายกำกับ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นิยามของการบอกปริมาณของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอธิบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความจำเป็นเพื่อสื่อสารและทำให้เข้าใจได้ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการศึกษานั้นเป็นลักษณะใด ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจำเป็นต้องอาศัยปริมาณในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ ดังนั้นจึงมีการให้คำนิยามของการบอกปริมาณการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตาม Interagency group for action on breastfeeding1 ดังนี้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มที่ (full breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่อย่างเดียว ไม่มีการใช้สารน้ำอื่น ยา หรือวิตามิน หรือเป็นการให้ลูกได้รับนมแม่เกือบเพียงอย่างเดียวโดยอาจมีการให้สารน้ำ ยาหรือวิตามินตามความจำเป็น

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วน (partial breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่บางส่วนและมีการให้สารอื่น นมผสมหรือนมอื่นๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับสูงจะได้รับนมแม่มากกว่าร้อยละ 80 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับปานกลางจะได้รับนมแม่ตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 80 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับต่ำจะได้รับนมแม่น้อยกว่าร้อยละ 20

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงเล็กน้อย (token breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่เพียงบางครั้ง ไม่สม่ำเสมอหรือเล็กน้อย

เมื่อมีการให้นิยามเหล่านี้อย่างชัดเจน การเก็บข้อมูลอย่างเข้มงวดจะทำให้ได้ผลของการศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความน่าเชื่อถือ สามารถจะเก็บข้อมูลได้อย่างมั่นใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นโดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่มีนโยบายโรงสายสัมพันธ์แม่ลูกเนื่องจากนำไปใช้ในการติดตาม พัฒนาและเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Noel-Weiss J, Boersma S, Kujawa-Myles S. Questioning current definitions for breastfeeding research. Int Breastfeed J 2012;7:9.

2.??????????? Zakarija-Grkovic I, Segvic O, Bozinovic T, et al. Hospital practices and breastfeeding rates before and after the UNICEF/WHO 20-hour course for maternity staff. J Hum Lact 2012;28:389-99.

 

เกณฑ์ในการทำนายการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

breastfeeding1

Breastfeeding assessment score

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นี้ใช้ในการทำนายการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หัวข้อในการประเมิน

คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน

อายุมารดา

0

<21 ปี
 

1

21-24 ปี
 

2

>24 ปี
ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

0

ล้มเหลว
 

1

ไม่มี
 

2

สำเร็จ
จำนวนครั้งในการเข้าเต้ายาก

0

ทุกครั้งที่ให้นมลูก
 

1

เข้าเต้ายากครึ่งหนึ่งของการให้นมลูก
 

2

เข้าเต้ายากน้อยกว่า 3 ครั้ง
ระยะห่างระหว่างการให้นมลูกแต่ละครั้ง

0

มากกว่า 6 ชั่วโมง
 

1

3-6 ชั่วโมง
 

2

น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
จำนวนนมผสมที่ได้รับในโรงพยาบาล

0

ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
 

1

1 ครั้ง
 

2

ไม่ได้รับนมผสม
เคยได้รับการผ่าตัดเต้านมมาก่อน

-2

เคย
 

0

ไม่เคย
มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

-2

มี
 

0

ไม่มี
มารดาคลอดบุตรโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

-2

ใช้เครื่องดูดสุญญากาศ
 

0

ไม่ใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

 

การแปลผล หากคะแนนตั้งแต่ 8 มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หลังคลอด 7-10 วันสูง (ร้อยละ 95) แต่หากคะแนนน้อยกว่า 8 มีโอกาสที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ร้อยละ 21)1

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. The Journal of Pediatrics 2002;141:659-64.

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 7)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)2 มีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อประเมิน

มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ได้แก่ ทารกที่ได้รับการกระตุ้นดูดนมและการเข้าเต้า
ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง
ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก
สังเกตเห็นการดูดนมแรง
มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง
มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้
หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผล
ไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 8 ตัวแปรคือ มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก สังเกตเห็นการดูดนมแรง มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้ หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผลและไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ไม่มีการให้คะแนนในเกณฑ์นี้ การนำไปใช้ใช้ช่วยประเมินพฤติกรรมทารกว่าเป็นอย่างไรและมารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อทารกอย่างไร โดยใช้เป็นแบบตรวจสอบตามหัวข้อสำหรับการสอนมารดาและครอบครัวหรือใช้บ่งบอกว่ามารดาและทารกต้องการความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบร้อยละ 79-953

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Johnson TS, Mulder PJ, Strube K. Mother-Infant Breastfeeding Progress Tool: a guide for education and support of the breastfeeding dyad. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2007;36:319-27.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.

 

 

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3

รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ The Mother?Baby Assessment (MBA)2 มีรายละเอียด ดังนี้

?

คะแนน

รายละเอียดที่ต้องสังเกต

สัญญาณความพร้อมในการดูดนม (signaling)

1

มารดา: เฝ้ามองและสังเกตลักษณะของทารก โดยอาจจะอุ้มจับ ขยับหรือโยกตัว พูดกับลูก กระตุ้นลูกหากลูกง่วง ซึมหรือสับสน

1

ทารก: ลักษณะความพร้อมในการดูดนม ได้แก่ การจ้องมอง การตื่นตัว การตอบสนองต่อการกระตุ้น การดูด การนำมือหรือนิ้วเข้าปาก ลักษณะการส่งเสียงและการร้อง
ท่าทางในการดูดนม (position)

1

มารดา: ประคองลูกให้อยู่ในท่าทีดีในการเข้าเต้า ลำตัวลูกโค้งงอเล็กน้อย โดยด้านหน้าของลำตัวของลูกสัมผัสกับลำตัวแม่ ศีรษะและไหล่ของลูกได้รับการประคองไว้

1

ทารก: ลูกจะตอบสนองต่อการกระตุ้นของเต้านมได้ดี โดยการอ้าปากกว้าง ลิ้นอยู่ในลักษณะรูปถ้วย และวางอยู่บริเวณเหงือกด้านล่าง
การเข้าเต้า (fixing)

1

มารดา: จับเต้านมช่วยลูกเมื่อจำเป็น นำลูกเข้าแนบชิดเมื่อลูกอ้าปากกว้าง อาจบีบน้ำนมช่วย

1

ทารก: การเข้าเต้า โดยลูกจะอมหัวนมและส่วนของลานนมยาว 2 เซนติเมตรเข้าไปในปาก จากนั้นดูด ซึ่งจะดูดและหยุดสลับเป็นจังหวะต่อเนื่องกัน
การไหลของน้ำนม (milk transfer)

1

มารดา: รู้สึกกระหายน้ำ ปวดมดลูก น้ำคาวปลาเพิ่มขึ้น ปวดหรือเสียวเต้านม ผ่อนคลาย ง่วงนอน มีน้ำนมไหลจากเต้านมอีกข้าง

1

ทารก: ได้ยินเสียงการกลืน สังเกตเห็นนมในปากลูก ลูกอาจจะปลิ้นน้ำนมออกมาขณะเรอ มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะการดูดจาก 2 ครั้งต่อวินาทีเป็น 1 ครั้งต่อวินาที
การหยุดดูดนม (ending)

1

มารดา: รู้สึกโล่งสบายเต้านม โดยให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้า เต้านมจะนุ่มหลังการให้นมลูก ไม่พบก้อน ไม่ตึงคัดหรือเจ็บหัวนม

1

ทารก: ปล่อยเต้านมออกมาเอง อิ่ม ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น หน้า แขนและมือผ่อนคลาย โดยอาจจะหลับ

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 5 ตัวแปรคือ สัญญาณความพร้อมในการดูดนม ท่าทางในการดูดนม การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การไหลของน้ำนม และการหยุดดูดนม โดยคะแนนเต็มของเกณฑ์นี้คือ 10 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ผู้ประเมินสามารถทำการประเมินโดยพยาบาล การนำมาใช้ทำโดยใช้ติดตามพัฒนาการมารดาและทารกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3 ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบว่ามี 0.33-0.664

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Mulford C. The Mother-Baby Assessment (MBA): an “Apgar score” for breastfeeding. J Hum Lact 1992;8:79-82.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery &amp; Women’s Health 2007;52:571-8.

4.???????? Riordan JM, Koehn M. Reliability and validity testing of three breastfeeding assessment tools. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1997;26:181-7.

 

 

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 3)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ LATCH Assessment (LATCH) มีรายละเอียด ดังนี้

?

คะแนน

รายละเอียด

L= Latch คือ การอมหัวนมและลานนม

2

คาบหัวนมและลานนม ลิ้นแตะเหงือกล่าง ริมฝีปากบานออก ดูดนมเป็นจังหวะ

1

ใช้ความพยายามหลายครั้งหรือกระตุ้นจนอมหัวนมและลานนม

0

ง่วงหรือลังเลจนอมดูดหัวนมไม่ได้
A = Audible swallowing คือ การได้ยินเสียงกลืนน้ำนม

2

อายุ <24 ชั่วโมง ได้ยินเป็นช่วงๆ

อายุ >24 ชั่วโมง ได้ยินบ่อยครั้ง

1

ได้ยิน 2-3 ครั้งหลังกระตุ้นให้ดูดนม

0

ไม่ได้ยิน
T = Type of nipple คือ ลักษณะหัวนมของแม่

2

หัวนมชี้พุ่งปกติหรือหลังถูกกระตุ้น (everted nipple)

1

หัวนมแบน (flat nipple)

0

หัวนมบอดบุ๋ม (inverted)
C = Comfort breast and nipple คือ รู้สึกสบายเต้านมและหัวนม

2

เต้านมและหัวนมนุ่ม อาจจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยขณะลูกดูดนม

1

มีรอยแดงบริเวณเต้านม หัวนมมีรอยพองเล็กน้อย และเจ็บรุนแรงปานกลาง

0

เต้านมคัดมาก หัวนมแตกเป็นแผล เลือดออกและเจ็บรุนแรงมาก
H = Hold คือ ท่าอุ้มลูกหรือจัดท่าลูกขณะให้นม

2

ไม่ต้องการความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ แม่สามารถอุ้มและจัดท่าลูกด้วยตนเอง

1

ต้องการความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่บ้าง เช่น ยกหัวเตียง จัดหมอนรอง

0

ต้องการความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่อย่างเต็มที่

หมายเหตุ ตารางการประเมินแปลโดย กุสุมา ชูศิลป์2

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 5 ตัวแปรคือ การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การได้ยินเสียงกลืนน้ำนม ลักษณะของหัวนมของแม่ ความรู้สึกสบายเต้านมและหัวนม ท่าอุ้มลูกหรือการจัดท่าลูกขณะให้นม โดยคะแนนเต็มของเกณฑ์นี้คือ 10 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ผู้ประเมินสามารถทำการประเมินโดยพยาบาลหรือมารดา การแปลผล หากคะแนนการประเมินในทารกอายู 16-24 ชั่วโมงมากกว่า 8 แสดงว่ามีความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใน 6 สัปดาห์หลังคลอดสูง3

ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงคะแนน LATCH มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 6 สัปดาห์และใช้ติดตามช่วยเหลือมารดาที่หยุดนมแม่ในระยะแรกจากการเจ็บเต้านม4 และมีการประเมินความสัมพันธ์ในการให้คะแนน LATCH ของบุคลากรทางการแพทย์กับมารดาพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.18 ในการประเมินการได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนมถึง 0.67 ในการประเมินการเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม5

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? กุสุมา ชูศิลป์. การประเมินทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่. ใน: ศุภวิทย์ มุตตามระ, กุสุมา ชูศิลป์, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, วราภรณ์ แสงทวีสิน, ยุพยง แห่งเชาวนิช, บรรณาธิการ. ตำราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ไอยรา จำกัด; 2555:163-71.

3.???????? Kumar SP, Mooney R, Wieser LJ, Havstad S. The LATCH scoring system and prediction of breastfeeding duration. J Hum Lact 2006;22:391-7.

4.???????? Riordan J, Bibb D, Miller M, Rawlins T. Predicting breastfeeding duration using the LATCH breastfeeding assessment tool. J Hum Lact 2001;17:20-3.

5.???????? Adams D, Hewell S. Maternal and professional assessment of breastfeeding. J Hum Lact 1997;13:279-83.