คลังเก็บป้ายกำกับ: การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างตั้งครรภ์ในการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? สถานประกอบการในแต่ละประเภทมีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างกัน1 ซึ่งการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสถานประกอบการขึ้นอยู่กับนโยบาย การดำเนินงาน และลักษณะของงานของสถานประกอบการนั้น ๆ มีการศึกษาถึงประเภทของสถานประกอบการกับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า สถานประกอบการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง และการให้บริการมีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่าสถานประกอบการประเภทอื่น ๆ อาจเป็นไปได้จากสถานประกอบการประเภทเหล่านี้ต้องมีการแข่งขันในการเพิ่มการผลิต อัตราการขนส่ง และความพึงพอใจของผู้รับบริการ อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจในการสร้างระบบสวัสดิการที่ดีรวมถึงการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลต่อความรักความผูกพันต่อองค์กรที่จะส่งผลถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของการทำงานได้ อาจทำให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการสามารถดำเนินการร่วมไปกับการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งจะสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กรด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Snyder K, Hansen K, Brown S, Portratz A, White K, Dinkel D. Workplace Breastfeeding Support Varies by Employment Type: The Service Workplace Disadvantage. Breastfeed Med 2018;13:23-7.

การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสังคมที่มีรายได้ปานกลาง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในสังคมที่มีรายได้ปานกลาง การให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังต้องคำนึงถึงความร่วมมือที่จะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อมารดาต้องกลับไปทำงาน นโยบายที่จะสนับสนุนให้มารดาสามารถลาคลอดได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม นโยบายการให้ลูกได้กินนมแม่ขณะพักที่ทำงาน หรือมีเวลาที่จะปั๊มหรือบีบเก็บน้ำนม การสนับสนุนมุมนมแม่หรือสถานที่ที่เหมาะสมในการบีบเก็บน้ำนมของมารดารวมทั้งอุปกรณ์ขณะที่อยู่ที่ทำงาน1ดังนั้น การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจรวมทั้งรายได้ของประชากรจึงส่งผลต่อการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแน่นอนหากครอบครัวของมารดามีรายได้ปานกลางในสังคมที่มีการแข่งขันอย่างมากในตลาดการค้าเสรี การออกนโยบายที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพของประชากรคือ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จำเป็นต้องมีนโยบายที่สนับสนุนมาจากทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกับการสื่อสารรณรงค์ในสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ตที่จะช่วยสร้างการขับเคลื่อนของการสร้างคนโดยพื้นฐานของการเพิ่มโอกาสการได้กินนมแม่ไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีรายได้เพิ่มขึ้นทัดเทียมนานาประเทศ

เอกสารอ้างอิง

  1. Wainaina CW, Wanjohi M, Wekesah F, Woolhead G, Kimani-Murage E. Exploring the Experiences of Middle Income Mothers in Practicing Exclusive Breastfeeding in Nairobi, Kenya. Matern Child Health J 2018.

 

 

 

 

การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสถานพยาบาล

DSC00094-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละสถานพยาบาลมีความแตกต่างกัน สถานพยาบาลที่มีการใช้นโยบายของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกจะมีกระบวนการการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ชัดเจนกว่าสถานพยาบาลที่ไม่ได้ใช้นโยบายนี้ในการดำเนินงานเรื่องอนามัยแม่และเด็ก การมีสถานที่อยู่ในเขตเมืองและชนบทเป็นปัจจัยหนึ่งที่น่าจะผลต่อการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างกัน โดยมีการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า สถานพยาบาลในเขตเมืองจะมีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่าสถานพยาบาลที่อยู่ในเขตชนบท1

??????????????? ในประเทศไทย หากมารดาต้องการที่จะคลอดบุตรในสถานพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาและครอบครัวจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของโรงพยาบาลที่จะไปฝากครรภ์และคลอด โดยดูการใช้นโยบายสายสัมพันธ์แม่ลูกของสถานพยาบาล สำหรับการใช้การอยู่ในเขตเมืองหรือชนบทของสถานพยาบาล ไม่มีข้อมูลการศึกษาว่ามีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม มารดาและครอบครัวอาจมีความลำบาก เนื่องจากศึกษาข้อมูลทางเลือกของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานพยาบาลแต่ละสถานพยาบาลมีจำกัด และการค้นหาข้อมูลในสื่อสารสนเทศหรืออินเตอร์เน็ตมีพบน้อย การเพิ่มการสื่อสารหรือการรับรู้ว่าสถานพยาบาลใดมีนโยบายและการปฏิบัติที่ชัดเจนในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางช่องทางสื่อที่หลากหลาย น่าจะช่วยให้มารดาและครอบครัวตัดสินใจในการฝากครรภ์และคลอดบุตรในสถานพยาบาลที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Allen JA, Perrine CG, Scanlon KS. Breastfeeding Supportive Hospital Practices in the US Differ by County Urbanization Level. J Hum Lact 2015.

 

การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างตั้งครรภ์ในการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

วัตถุประสงค์ของหัวข้อการเรียน

??????????? เมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้แล้ว ผู้รับการฝึกอบรมสามารถ

??????????? 1.บอกขอบเขตของข้อมูลที่จำเป็นต้องอภิปรายกับหญิงตั้งครรภ์ (20 นาที)?????????????????

??????????? 2.บอกสิ่งที่จะต้องเตรียมเต้านมระหว่างการตั้งครรภ์สำหรับการให้นมแม่ วิธีใดมีหรือไม่มีประสิทธิภาพ (5 นาที)?????????????? ???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????

??????????? 3.บอกได้ว่า หญิงตั้งครรภ์คนใดต้องการการดูแลเพิ่มเป็นพิเศษ (5 นาที)????????????????????

??????????? 4.บอกขอบเขตของข้อมูลที่จำเป็นต้องอภิปรายกับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี (10 นาที)

??????????? 5.ฝึกทักษะการสื่อสารที่จะใช้กับการอภิปรายเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับหญิงตั้งครรภ์ (50 นาที)

??????????? รวมเวลาทั้งสิ้น 90 นาที

วัสดุอุปกรณ์

??????????? -สไลด์สอนมารดาที่คลินิกฝากครรภ์

??????????? -สไลด์ข้อแนะนำเกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี

??????????? -ข้อมูลวิธีการให้คำปรึกษาและการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับการติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์

??????????? -ข้อมูลวิธีการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อเอชไอวี

??????????? -รายการการตรวจสอบสำหรับสตรีที่ฝากครรภ์

??????????? -กิจกรรมทางเลือก ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกด้วยนมผสม (ควรหาข้อมูลก่อนการเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้)

ข้อมูลที่ควรอ่านเพิ่มเติมสำหรับผู้ให้การฝึกอบรม

-The optimal duration of exclusive breastfeeding. Report of an expert consultation. Geneva, WHO. March 2001.

-The optimal duration of exclusive breastfeeding, A systematic review WHO/FCH/CAH/01.23

-Butte, N et al, (2001) Nutrient Adequacy of Exclusive Breastfeeding for the Term Infant during the First Six Months of Life. WHO, Geneva.

-Diet, Nutrition and the Prevention of Chronic Diseases. Report of a Joint WHO/FAO Expert

Consultation. Geneva, WHO Technical Report Series, No. 916.

-HIV and Infant Feeding Counselling : a training course WHO/UNICEF/UNAIDS, 2000.

-Integrated Infant Feeding Counselling: a training course WHO/UNICEF, 2005.

-UNAIDS/UNICEF/WHO. HIV and Infant Feeding: Framework for Priority Action (2003).

HIV and Infant Feeding – Guidelines for decision-makers (updated 2003).

A guide for health care managers and supervisors (updated 2005).

A review of HIV transmission through breastfeeding (updated 2007).

-WHO/UNICEF/USAID. HIV and infant feeding counselling aids (2005).

Counsellors using the tools should have received specific training through such courses as the

WHO/UNICEF Breastfeeding Counselling: A training course and the WHO/UNICEF/UNAIDS HIV

and Infant Feeding Counselling: A training course, or the “Infant and Young Child Feeding

Counselling: An integrated course”. The tools consist of the following parts:

– A Flipchart (ISBN 92 4 159249 4) to use during counselling sessions with HIV-positive

pregnant women and/or mothers.

– Take-home flyers. The counsellor should use the relevant flyer, according to the mother’s

decision, to teach the mother, and she can then use it as a reminder at home.

– A Reference guide (ISBN 92 4 159301 6) that provides more technical and practical

details than the counselling cards. Counsellors can use it as a handbook.

-Guiding principles for feeding infants and young children during emergencies. Department of

Nutrition for Health and Development, WHO 2003.

-Infant Feeding in Emergencies. Nutrition Unit, WHO European Office 1997.

-Infant Feeding in Emergencies, Module1, Emergency Nutrition Network. http://www.ennonline.net/

Additional information related to risks of formula use:

-Guidelines for the safe preparation, storage and handling of powdered infant formula. Food Safety, WHO (2007).

_ How to Prepare Powdered Infant Formula in Care Settings

_ How to prepare formula for use at home

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009