คลังเก็บป้ายกำกับ: การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 6

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

ตัวอย่างผลการพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลคลินิกนมแม่

            จากการเก็บข้อมูลการให้บริการของคลินิกนมแม่ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี 2558 และ 2559 โดยมีบุคลากรที่รับผิดชอบ ได้แก่ พยาบาล 1 คน และผู้ช่วยพยาบาล 2 คน ในด้านการให้บริการ ส่วนใหญ่คลินิกนมแม่จะให้บริการในส่วนผู้รับบริการที่นัดร้อยละ 42.5-44.1 และให้บริการโทรศัพท์ติดตามสอบถามมารดาหลังคลอดร้อยละ 45.6-46.5 โดยประเภทผู้ป่วยที่ให้บริการที่คลินิกนมแม่ส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ 1 ร้อยละ 48.4-58.9 รายละเอียดของข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการที่คลินิกนมแม่แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการที่คลินิกนมแม่

ข้อมูลพื้นฐาน ปี 2558 ปี 2559
จำนวนผู้รับบริการทั้งหมด (ราย) 6532 5783
-จำนวนผู้รับบริการที่มาตามนัด n(%) 2776 (42.5) 2550 (44.1)
-จำนวนผู้รับบริการที่มารับคำปรึกษาและที่หอผู้ป่วย n(%)  779 (11.9) 544 (9.4)
-จำนวนการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมผู้รับบริการ n(%) 2977 (45.6) 2689 (46.5)
ประเภทผู้ป่วย n(%)    
-ประเภทที่ 1 3159 (48.4) 3405 (58.9)
-ประเภทที่ 2 1094 (16.7) 514 (8.9)
-ประเภทที่ 3 1092 (16.7) 896 (15.5)
-ประเภทที่ 4 1140 (17.5) 936 (16.2)
-ประเภทที่ 5 47 (0.7) 32 (0.5)

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 5

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

ผลิตภาพทางการพยาบาล หมายถึง ร้อยละของภาระงานที่พยาบาลต้องรับผิดชอบในการทำงานเทียบกับข้อกำหนดภาระงานมาตรฐานของการทำงานของพยาบาลหนึ่งคน ซึ่งผลิตภาพทางการพยาบาลของหน่วยงานหนึ่ง ในโรงพยาบาลจะแสดงถึงประสิทธิภาพในการทำงานของพยาบาลในหน่วยงานนั้น และยังสามารถช่วยในการจัดสรรอัตรากำลังของพยาบาลให้เหมาะสมกับภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ

การคำนวณภาระงานการพยาบาล อัตรากำลังและการคิดผลิตภาพทางการพยาบาล

การคำนวณการภาระงานการพยาบาลโดยตรง จะคิดจากผลรวมของจำนวนผู้รับบริการในแต่ละประเภทคูณด้วยจำนวนชั่วโมงของการให้การพยาบาลในประเภทนั้น หารด้วย 7 และหารด้วยจำนวนผู้รับบริการในแต่ละวัน

การคำนวณการภาระงานการพยาบาลโดยอ้อม จะคิดจากผลรวมของภาระงานการพยาบาลโดยอ้อมทั้งหมดหารด้วย 60 และหารด้วยจำนวนผู้รับบริการทั้งหมด

การคิดอัตรากำลังพยาบาล จะเทียบจากพยาบาล 1 คนทำงานเต็มเวลาเท่ากับ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (fulltime equivalence หรือ FTE)

สัดส่วนของภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาล  จะแบ่งสัดส่วนเป็นของพยาบาลร้อยละ 60 และเป็นของผู้ช่วยพยาบาลร้อยละ 40

การคิดผลิตภาพทางการพยาบาล จะคิดจากจำนวนชั่วโมงที่ต้องการคูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติงานจริง

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 4

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

การกำหนดมาตรฐานระยะเวลาการพยาบาลโดยอ้อม ทำโดยการเก็บระยะเวลาการทำงานที่เหมือนกันของทุกหน่วยงานมาหาค่าเฉลี่ย ตั้งค่าและกำหนดเป็นมาตรฐานที่ทุกหน่วยงานยอมรับและใช้เป็นค่าเดียวกันในการคิดภาระงาน ตัวอย่าง ได้แก่ การให้ข้อมูลหรือตอบข้อติดต่อสอบถามผู้รับบริการใช้เวลา 2 นาทีต่อราย การค้นหาข้อมูลผู้ป่วยใช้เวลา 2 นาทีต่อราย การลงทะเบียนเข้าคอมพิวเตอร์ใช้เวลา 2 นาทีต่อราย การเตรียมเอกสารสำหรับการตรวจรักษาใช้เวลา 2 นาทีต่อราย การลงวินิจฉัยโรคและส่งต่อการรักษาใช้เวลา 2 นาทีต่อราย การสรุปรายงานสถิติใช้เวลา 2 นาทีต่อราย การเก็บแฟ้มเวชระเบียนส่งคืนแผนกเวชระเบียนใช้เวลา 2 นาทีต่อราย ส่งข้อมูลมารดาและทารกระหว่างหน่วยงานใช้เวลา 5 นาทีต่อราย โทรศัพท์ติดตามมารดาหลังคลอดใช้เวลา 5 นาทีต่อราย การเตรียมผ้าสำหรับประคบเต้านมใช้เวลา 30 นาทีต่อราย การทำความสะอาดและเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอุ่นลูกประคบ อุปกรณ์ในการปั๊มนม และอุปกรณ์สำหรับการช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใช้เวลา 20 นาทีต่อราย การประสานงานรับและส่งผู้ป่วยใช้เวลา 5 นาทีต่อราย การเบิกและส่งซ่อมพัสดุใช้เวลา 2 นาทีต่อราย สำหรับการเข้าร่วมประชุมวิชาการ การจัดทำกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ การเป็นวิทยากร และการทำงานวิจัยลงระยะเวลาตามการปฏิบัติจริง

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 3

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

การกำหนดมาตรฐานระยะเวลาการพยาบาลโดยตรง ปัจจัยเรื่องประเภทของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการมีอิทธิพลต่อระยะเวลาการให้การพยาบาล4 ในกรณีนี้กำหนดการแบ่งแยกประเภทผู้ป่วยเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่ให้บริการที่คลินิกนมแม่ ดังนี้

การแยกประเภทผู้ป่วย       กำหนดการแยกประเภทผู้ป่วยตามระยะเวลาที่ใช้ในการให้การพยาบาลโดยตรงที่คลินิกนมแม่เป็น 5 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 ใช้เวลาในการให้การดูแล 1-10 นาที ตัวอย่างของผู้รับบริการประเภทที่ 1 ได้แก่ การประเมินการให้นม ซึ่งจะมีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ การประเมินการเจริญเติบโตของทารก การชั่งน้ำหนัก วัดความยาว และรอบศีรษะทารก การประเมินการเข้าเต้า (LATCH score) การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ซึ่งอาจจะมีการให้ความรู้เรื่องนมแม่และการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ในปัญหาอื่น ๆ

ประเภทที่ 2 ใช้เวลาในการให้การดูแลมากกว่า 10 นาทีจนถึง 45 นาที ตัวอย่างของผู้รับบริการประเภทที่ 2 ได้แก่ มารดาที่อุ้มลูกไม่ถูกวิธี ทารกดูดนมไม่ถึงลานนม หรือมารดาบีบเก็บน้ำนมไม่เป็น ซึ่งจะมีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ การประเมินการเจริญเติบโตของทารก การชั่งน้ำหนัก วัดความยาว และรอบศีรษะทารก การประเมินการเข้าเต้า (LATCH score) การสอนท่าอุ้มหรือการจัดท่าให้นมลูก การสังเกตการอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก การสอนการบีบเก็บน้ำนมให้กับมารดา

ประเภทที่ 3 ใช้เวลาในการให้การดูแลมากกว่า 45 นาทีจนถึง 120 นาที ตัวอย่างของผู้รับบริการประเภทที่ 3 ได้แก่ มารดาที่มีเต้านมคัด หัวนมแตกหรือหัวนมสั้น ซึ่งจะมีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ การประเมินการเจริญเติบโตของทารก การชั่งน้ำหนัก วัดความยาว และรอบศีรษะทารก การประเมินการเข้าเต้า (LATCH score) การให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาเต้านมคัด การประคบร้อนที่เต้านม การบีบน้ำนมด้วยมือ การนวดเต้านม การสังเกตมารดาขณะให้นมลูก การแก้ไขการจัดท่าและการอมหัวนมและลานนมของทารก ให้มารดาลองปฏิบัติเพื่อเพิ่มหรือสร้างความมั่นใจและนัดติดตามดูแลเพื่อแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง

ประเภทที่ 4 ใช้เวลาในการให้การดูแลมากกว่า 120 นาทีจนถึง 150 นาที ตัวอย่างของผู้รับบริการประเภทที่ 4 ได้แก่ มารดาที่มีปัญหาต้องใช้เครื่องมือในการช่วยแก้ไข เช่น nipple puller หรือมารดาที่ต้องใช้ lact aid หรือมารดาที่ขอคำปรึกษามาจากหน่วยงานอื่น ซึ่งจะมีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ การประเมินการเจริญเติบโตของทารก การชั่งน้ำหนัก วัดความยาว และรอบศีรษะทารก การประเมินการเข้าเต้า (LATCH score) การสังเกตมารดาขณะให้นมลูก การช่วยจัดท่าและการอมหัวนมและลานนมของทารก ให้มารดาลองปฏิบัติเพื่อเพิ่มหรือสร้างความมั่นใจ ให้คำปรึกษาในการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อธิบายทางเลือกและการติดตามการรักษา และนัดติดตามดูแลเพื่อแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง

ประเภทที่ 5 ใช้เวลาในการให้การดูแลมากกว่า 150 นาที ตัวอย่างของผู้รับบริการประเภทที่ 5 ได้แก่ มารดาที่มีปัญหาต้องขอคำปรึกษาจากแพทย์ เช่น มารดาที่มีเต้านมอักเสบหรือฝีที่เต้านม ทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางหรือรุนแรงที่มีปัญหามารดาเจ็บหัวนมและเข้าเต้ายาก ต้องมีการวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์ ซึ่งจะมีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ การประเมินการเจริญเติบโตของทารก การชั่งน้ำหนัก วัดความยาว และรอบศีรษะทารก การประเมินการเข้าเต้า (LATCH score) การสังเกตมารดาขณะให้นมลูก การช่วยจัดท่าและการอมหัวนมและลานนมของทารก ให้คำปรึกษาแนวทางในการรักษา ทางเลือก การพยากรณ์โรคและการติดตามการรักษา และนัดติดตามดูแลเพื่อแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาการคิดภาระงานและผลิตภาพทางการพยาบาลของคลินิกนมแม่ ตอนที่ 2

ภาวิน พัวพรพงษ์, นงเยาว์ ลาวิณห์

นิยามและข้อกำหนดในการคิดภาระงาน

คลินิกนมแม่ หมายถึง คลินิกที่ให้บริการในการให้คำปรึกษา ดูแลมารดาและทารก  แก้ไขปัญหา อุปสรรคที่พบระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รวมทั้งดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการให้ลูกกินนมแม่ นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผล เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกับการเป็นแหล่งการเรียนรู้และฝึกอบรมของนักศึกษาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์

กิจกรรมการพยาบาล1 แบ่งเป็น กิจกรรมการพยาบาลโดยตรง หมายถึง กิจกรรมที่พยาบาลปฏิบัติงานในห้องผู้ป่วยและกิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่เกี่ยวของโดยตรงกับผู้ป่วย และกิจกรรมการพยาบาลที่นอกเหนือกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงหรือเรียกว่ากิจกรรมพยาบาลโดยอ้อม หมายถึง กิจกรรมที่พยาบาลไม่ได้ปฏิบัติโดยตรงต่อผู้ป่วย แต่เป็นกิจกรรมการพยาบาลที่เกี่ยวของกับการดููแลผู้ป่วย เช่น การจัดเตรียมยา การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำหัตถการต่าง ๆ การบันทึกรายงานการพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวของกับหน่วยงาน หมายถึง กิจกรรมที่จําเป็นสําหรับการบริหารจัดการภายในหอผู้ป่วย การประสานงานทั่วไป การเปลี่ยนเวร การดูแลเกี่ยวกับอุุปกรณ์ กิจกรรมด้านวิชาการ หมายถึง กิจกรรมเกี่ยวกบการศึกษาของบุคลากรทางการพยาบาล เพื่อพัฒนาทางด้านองค์ความรู้และเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานของพยาบาลโดยตรง เช่น การปฐมนิเทศพยาบาล การสาธิตการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ กิจกรรมในเวลาพักและการใช้เวลาว่าง หมายถึง กิจกรรมที่พยาบาลใช้ไปในขณะที่พักหรือมีเวลาว่าง เช่น ดื่มกาแฟ การพักรับประทานอาหาร การพูดคุยสนทนาในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน กิจกรรมรอคอย หมายถึง กิจกรรมที่พยาบาลต้องรอคอยในช่วงที่จะให้การพยาบาลผู้ป่วย เช่น การรอคอยเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาให้ผู้ป่วย การรอคอยบุคลากรหรือพยาบาลอื่น ๆ ที่จําเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือในการให้การพยาบาลนั้น ๆ    

เอกสารอ้างอิง

  1. . Implementation of work sampling methodology. Nurs Res 1994;43:120-3.