คลังเก็บป้ายกำกับ: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังกับการตั้งครรภ์

ปริมาณเชื้อไวรัสในมารดากับผลต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารก

w51

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การตรวจดีเอ็นเอของไวรัสตับอักเสบบีในกระแสเลือดของมารดาเป็นปัจจัยเสี่ยงและสิ่งที่จะทำนายการติดเชื้อจากมารดาไปสู่ทารกที่สำคัญ หากปริมาณไวรัสในเลือดของมารดาก่อนคลอดน้อยกว่า 5.5 log10 copies ต่อมิลลิลิตร การให้ Hepatitis B immunoglobulin พร้อมวัคซีนไวรัสตับอักเสบหลังคลอดจะป้องกันการติดเชื้อในทารกได้ร้อยละ 100 โดยหากปริมาณไวรัสมากกว่าค่ากำหนด 5.5 log10 copies ต่อมิลลิลิตร จะป้องกันการติดเชื้อในทารกได้สองในสามของทั้งหมด1,2 และหากปริมาณไวรัสมากกว่า 8 log10 copies ต่อมิลลิลิตร จะสัมพันธ์กับความล้มเหลวของการให้ภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทารก3

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Burk RD, Hwang LY, Ho GY, Shafritz DA, Beasley RP. Outcome of perinatal hepatitis B virus exposure is dependent on maternal virus load. J Infect Dis 1994;170:1418-23.

2.??????????? del Canho R, Grosheide PM, Schalm SW, de Vries RR, Heijtink RA. Failure of neonatal hepatitis B vaccination: the role of HBV-DNA levels in hepatitis B carrier mothers and HLA antigens in neonates. J Hepatol 1994;20:483-6.

3.??????????? Singh AE, Plitt SS, Osiowy C, et al. Factors associated with vaccine failure and vertical transmission of hepatitis B among a cohort of Canadian mothers and infants. J Viral Hepat 2011;18:468-73.

 

ภาวะ HBe Ag ในมารดากับผลต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารก

w51

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในมารดาที่ตรวจพบ HBe Ag จะมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบบีจากมารดาสู่ทารกสูง1,2 มีการศึกษาตรวจ HBe Ag ในทารกหลังคลอดของมารดาที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังที่ตรวจพบ HBe Ag และไม่ตรวจพบ HBe Ag ที่ได้รับ Hepatitis B immunoglobulin พร้อมวัคซีนไวรัสตับอักเสบหลังคลอด ผลการศึกษาพบว่า ในมารดาที่ตรวจพบ HBe Ag ตรวจพบ HBe Ag ในทารกร้อยละ 70 ส่วนในมารดาที่ตรวจไม่พบ HBe Ag พบ HBe Ag ในทารกร้อยละ 03

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Xu DZ, Yan YP, Choi BC, et al. Risk factors and mechanism of transplacental transmission of hepatitis B virus: a case-control study. J Med Virol 2002;67:20-6.

2.??????????? Zou H, Chen Y, Duan Z, Zhang H, Pan C. Virologic factors associated with failure to passive-active immunoprophylaxis in infants born to HBsAg-positive mothers. J Viral Hepat 2012;19:e18-25.

3.??????????? Wang Z, Zhang J, Yang H, et al. Quantitative analysis of HBV DNA level and HBeAg titer in hepatitis B surface antigen positive mothers and their babies: HBeAg passage through the placenta and the rate of decay in babies. J Med Virol 2003;71:360-6.

 

การติดเชื้อจากมารดาไปทารกของมารดาที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

w51

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในมารดาจะมีการติดเชื้อผ่านไปที่ทารกได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะสนใจแต่ในช่วงระหว่างการคลอด ทั้งที่จริงๆ แล้วการติดเชื้อสามารถติดเชื้อได้ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอด และหลังคลอด1 โดยในมารดาที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่ตรวจพบทั้ง HBsAg และ HBeAg จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อในทารกร้อยละ 70-90 หากไม่ได้มีการใช้วัคซีนป้องกัน ในมารดาที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่ตรวจพบทั้ง HBsAg และตรวจไม่พบ HBeAg จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อในทารกน้อยกว่าร้อยละ 10-40 ซึ่งในทารกที่ติดเชื้อในช่วงนี้จะมีร้อยละ 85-95 ที่จะเป็นการติดเชื้อและเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง สำหรับการอักเสบของตับแบบรุนแรง (fulminant hepatitis)พบน้อย1,2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Sinha S, Kumar M. Pregnancy and chronic hepatitis B virus infection. Hepatol Res 2010;40:31-48.

2.??????????? Chen HL, Chang CJ, Kong MS, et al. Pediatric fulminant hepatic failure in endemic areas of hepatitis B infection: 15 years after universal hepatitis B vaccination. Hepatology 2004;39:58-63.

?

ผลของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังต่อการตั้งครรภ์

w51

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมีรายงานเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อที่มีต่อการตั้งครรภ์น้อยและไม่ได้ตรวจสอบระดับของปริมาณไวรัสในกระแสเลือดมารดาและเลือดในสายสะดือทารก การตรวจสอบระดับปริมาณไวรัสในกระแสเลือดตรวจโดยเทียบจากปริมาณ HBeAg หรือตรวจระดับ DNA ของไวรัส1 ซึ่งระดับปริมาณไวรัสนี้มีความสัมพันธ์กับการเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด2,3 มีการศึกษาเกี่ยวกับการให้ยาต้านไวรัสในระหว่างการตั้งครรภ์ในมารดาที่มีปริมาณไวรัสในเลือดสูงพบว่าจะลดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์รวมทั้งการคลอดก่อนกำหนดลงได้4 แพทย์ผู้ดูแลจะต้องคัดเลือดมารดาเป็นกลุ่มเสี่ยงเพื่อที่จะตรวจเพิ่มเติม ให้การป้องกันรักษาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Elefsiniotis IS, Tsoumakas K, Papadakis M, Vlachos G, Saroglou G, Antsaklis A. Importance of maternal and cord blood viremia in pregnant women with chronic hepatitis B virus infection. Eur J Intern Med 2011;22:182-6.

2.???????? Tse KY, Ho LF, Lao T. The impact of maternal HBsAg carrier status on pregnancy outcomes: a case-control study. J Hepatol 2005;43:771-5.

3.???????? Safir A, Levy A, Sikuler E, Sheiner E. Maternal hepatitis B virus or hepatitis C virus carrier status as an independent risk factor for adverse perinatal outcome. Liver Int 2010;30:765-70.

4.???????? Shi Z, Yang Y, Ma L, Li X, Schreiber A. Lamivudine in late pregnancy to interrupt in utero transmission of hepatitis B virus: a systematic review and meta-analysis. Obstet Gynecol 2010;116:147-59.

?

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังกับการตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังเป็นภาวะที่พบได้มากในทุกประเทศทั่วโลก ในทวีปเอเซียมีประชากรที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังถึงร้อยละ 8-101,2ซึ่งร้อยละ 50 ของผู้ติดเชื้อที่รายใหม่เป็นการติดเชื้อที่ผ่านจากมารดาไปทารก3 ในช่วงก่อนที่จะมีการให้วัคซีนช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อัตราการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกสูงถึงร้อยละ 70-90 ในมารดาที่มี HBS Ag และ HBe Ag เป็นบวก4 แต่เมื่อมีการให้ Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) และ Hepatitis B vaccine อัตราการติดเชื้อลดลงเหลือร้อยละ 5-105 ?

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Kumar M, Sarin SK, Hissar S, et al. Virologic and histologic features of chronic hepatitis B virus-infected asymptomatic patients with persistently normal ALT. Gastroenterology 2008;134:1376-84.

2.???????????? Lavanchy D. Hepatitis B virus epidemiology, disease burden, treatment, and current and emerging prevention and control measures. J Viral Hepat 2004;11:97-107.

3.???????????? Gambarin-Gelwan M. Hepatitis B in pregnancy. Clin Liver Dis 2007;11:945-63, x.

4.???????????? Beasley RP, Trepo C, Stevens CE, Szmuness W. The e antigen and vertical transmission of hepatitis B surface antigen. Am J Epidemiol 1977;105:94-8.

5.???????????? Li XM, Shi MF, Yang YB, et al. Effect of hepatitis B immunoglobulin on interruption of HBV intrauterine infection. World J Gastroenterol 2004;10:3215-7.

?