ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 9
– เดือนที่เก้า อาการจะคล้ายกับในเดือนที่แปด แต่เนื่องจากเป็นช่วงใกล้คลอด ควรเตรียมพร้อมสำหรับกระเป๋าที่ใส่ของใช้สำหรับลูกและของใช้ที่จำเป็นในการนอนโรงพยาบาล ศึกษาอาการต่างๆ ที่ต้องรีบไปโรงพยาบาล ได้แก่ อาการเจ็บครรภ์คลอดซึ่งมีการหดรัดตัวของมดลูกหรือท้องแข็งถี่มากกว่าหนึ่งครั้งในสิบนาทีและสม่ำเสมอ มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด หรือมีน้ำเดินคือการมีน้ำใสไหลจากช่องคลอดโดยส่วนใหญ่มักมีปริมาณมากพอควรเหมือนปัสสาวะราด และมักมีออกมามากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ไอ จาม หรือเบ่งปัสสาวะหรืออุจจาระ ควรเตรียมเบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาลไว้ติดต่อในกรณีฉุกเฉินหรือไม่แน่ใจ
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
?
? ? ? ? ? การคลอดทางหน้าท้องหรือผ่าตัดคลอด? ทางการแพทย์เรียก? ซีซาเรียน เซ็คชั่น (cesarean section)? จะเป็นวิธีคลอดที่ใช้สำหรับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดปัญหาไม่สามารถคลอดปกติทางหน้าท้องได้? เนื่องจากการคลอดทางหน้าท้องจะต้องมีการให้ยาระงับความรู้สึกมากกว่า และเสียเลือดจากการผ่าตัดมากกว่าการคลอดปกติ? โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดทางหน้าท้องจึงมากกว่าการคลอดทางช่องคลอดปกติ? คุณแม่อาจจะรู้สึกผิดหวังที่ไม่สามารถคลอดทารกทางช่องคลอดเองได้และอาจรู้สึกกลัวการผ่าตัด? แต่ความรู้สึกนี้จะน้อยลงหากคุณแม่เข้าใจเหตุผลของการผ่าตัด? การทราบถึงขั้นตอนและการปฏิบัติตัวในการผ่าตัดคลอดจะลดความวิตกกังวลในการผ่าตัดลงได้
? ? ? ? ? ขั้นตอนของการผ่าตัดเตรียมคลอด? เริ่มด้วยการโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ? ให้น้ำเกลือที่แขนและใส่สายสวนปัสสาวะ? ย้ายเข้าห้องผ่าตัด? เตรียมยาระงับความรู้สึกอาจจะใช้วิธีใส่ท่อช่วยหายใจและใช้ดมยาสลบหรือใช้ยาชาฉีดเข้าโพรงน้ำไขสันหลังหรือเหนือโพรงน้ำไขสันหลัง? ซึ่งในกรณีหลังคุณแม่จะสามารถรู้สึกตัวขณะที่ทำการผ่าตัดคลอดทารกและอาจขอดูทารกหลังคลอดทันทีได้?? การเลือกวิธีระงับความรู้สึกจะได้รับการพิจารณาโดยวิสัญญีแพทย์โดยร่วมกับการตัดสินใจของคุณแม่ด้วย? หลังได้รับยาระงับความรู้สึกแพทย์จะทำการผ่าตัดคลอดโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง? แผลผ่าตัดปกติจะมี 2 ชนิดคือ? แผลตามยาวจากใต้สะดือถึงบริเวณเหนือหัวหน่าวกับแผลตามขวางหรือแผลบิกินี? ซึ่งจะอยู่เหนือแนวขนที่อวัยวะเพศเล็กน้อย? สำหรับไหมที่เย็บแผลอาจเป็นไหมที่ไม่ละลายซึ่งจำเป็นต้องตัดไหมประมาณ 5-7 วันหลังคลอดและไหมที่ละลายซึ่งไม่ต้องตัดไหมในกรณีที่ไม่มีปมไหมหรืออาจใช้กาวปิดแผลผ่าตัดซึ่งไม่ต้องตัดไหมเช่นเดียวกัน? การเกิดแผลเป็นนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยได้แก่? ลักษณะของแผลผ่าตัด? แรงตึงของแผล? และลักษณะผิวหนังของคุณแม่แต่ละคน? ดังนั้นคุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยและระวังดูแลบาดแผลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ? มากกว่าการวิตกเรื่องแผลเป็น? หลังผ่าตัดเรียบร้อยแล้วจะสังเกตอาการต่อในห้องพักฟื้นประมาณ 1 ชั่วโมง? จากนั้นจึงย้ายคุณแม่ไปสู่หอผู้ป่วยหลังคลอด? สำหรับคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอด? ปกติแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านใน? 3-5 วันหลังคลอด
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ??อาหารหลัก 5 หมู่เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ เนื่องจากหลังคลอดยังมีความเชื่อเรื่องของแสลงอยู่ ดังนั้นการรับประทานอาหารได้ไม่ครบอาจทำให้คุณค่าของนมแม่ลดลง ในขณะให้นมบุตร คุณแม่ต้องการแคลเซียมและธาตุเหล็กให้เพียงพอในการบำรุงน้ำนม สำหรับในคุณแม่ที่รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมหรือธาตุเหล็กได้น้อยก็ควรเสริมให้เพียงพอ
ในกรณีที่ต้องการให้น้ำนมแม่มามาก ทางการแพทย์ เน้นให้มีการกระตุ้นให้เพียงพอ โดยการให้ลูกดูดนมแม่อย่างน้อยวันละ 6-8 ครั้ง และครั้งละ5-15 นาที ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนมในช่วงแรก การกระตุ้นโดยการดูดนมแม่ยิ่งบ่อย ยิ่งกระตุ้นให้มีน้ำนมมามาก ไม่เกี่ยวกับขนาดของเต้านม โดยธรรมชาติน้ำนมแม่จะมีเพียงพอสำหรับลูกเสมอ ดังนั้น ไม่ควรกลัวว่านมแม่จะมีไม่พอ เลยต้องให้นมผสม
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ทารกที่มีส่วนนำเป็นก้น? เมื่อครบกำหนดคลอดพบ 3 ใน 100 รายของการคลอด การคลอดทารกที่มีส่วนนำเป็นก้น? จะยากกว่าปกติ? เนื่องจากศีรษะที่เป็นส่วนที่โตที่สุดของร่างกายจะคลอดเป็นลำดับสุดท้าย ทำให้เกิดความยากลำบากในการทำคลอด? การเลือกวิธีการคลอดว่าจะคลอดทางช่องคลอดหรือผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องนั้น? ขึ้นอยู่กับ? ลำดับครรภ์? ขนาดทารก ลักษณะอุ้งเชิงกรานของแม่และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น สายสะดือย้อย รกเกาะต่ำ ซึ่งการตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดนั้นคุณแม่จะได้รับคำแนะนำเรื่องข้อมูลจากแพทย์และทำการตัดสินใจพร้อมครอบครัว ปัจจุบันแนวโน้มการคลอดทางช่องคลอดของทารกที่มีส่วนนำเป็นก้นลดน้อยลง ส่วนใหญ่มักจะได้รับการผ่าตัดคลอด อย่างไรก็ตาม การคลอดทารกที่มีส่วนนำเป็นก้นถือเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งซึ่งจำเป็นจะต้องมีกุมารแพทย์ร่วมดูแลขณะทำการคลอดด้วยเสมอ
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 8
– เดือนที่แปด มารดามักรู้สึกอึดอัด แน่นท้อง รับประทานอาหารได้ไม่มาก แต่หิวบ่อย การเคลื่อนไหวจะลำบากจากขนาดของครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น ควรเคลื่อนไหวช้าๆ ไม่ควรนอนหงายเพราะน้ำหนักท้องจะกดทับตัวมารดาเอง มารดาช่วงนี้มักนอนไม่ค่อยหลับ เนื่องจากอาการเจ็บครรภ์เตือน การดิ้นของทารกในครรภ์ และการปัสสาวะที่บ่อยขึ้น
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)