หากจำเป็นต้องให้นมผง จะเลือกซื้ออย่างไร?

Mom3

? ? ? ? ? ?นมแม่ดีที่สุด แต่หากมีเหตุที่จำเป็นจะต้องให้นมผสม ในทารกปกติ เริ่มจากการเลือกซื้อนมกระป๋องเล็ก โดยมีหลักในการเลือกโดยสังเกตอาการทารกดังนี้คือ ?กินนมได้ดี นอนหลับสบาย ถ่ายสะดวก (ไม่ถ่ายแข็งหรือเหลวเกินไป) และน้ำหนักขึ้นดี? สำหรับทารกที่พบมีปัญหาบ่อยได้แก่ ถ่ายอุจจาระแข็ง อาจเลือกใช้นมที่มีโอลิโกแซคาไรด์หรือพรีไบโอติกจะทำให้ถ่ายอุจจาระดีขึ้น สำหรับทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยหรือคลอดก่อนกำหนด ควรรับประทานนมเฉพาะสำหรับทารกแรกน้ำหนักตัวน้อยหรือคลอดก่อนกำหนด หรือควรปรึกษาแพทย์

เขียนโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

นิยามของการบอกปริมาณของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอธิบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความจำเป็นเพื่อสื่อสารและทำให้เข้าใจได้ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการศึกษานั้นเป็นลักษณะใด ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจำเป็นต้องอาศัยปริมาณในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ ดังนั้นจึงมีการให้คำนิยามของการบอกปริมาณการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตาม Interagency group for action on breastfeeding1 ดังนี้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มที่ (full breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่อย่างเดียว ไม่มีการใช้สารน้ำอื่น ยา หรือวิตามิน หรือเป็นการให้ลูกได้รับนมแม่เกือบเพียงอย่างเดียวโดยอาจมีการให้สารน้ำ ยาหรือวิตามินตามความจำเป็น

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วน (partial breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่บางส่วนและมีการให้สารอื่น นมผสมหรือนมอื่นๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับสูงจะได้รับนมแม่มากกว่าร้อยละ 80 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับปานกลางจะได้รับนมแม่ตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 80 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับต่ำจะได้รับนมแม่น้อยกว่าร้อยละ 20

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงเล็กน้อย (token breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่เพียงบางครั้ง ไม่สม่ำเสมอหรือเล็กน้อย

เมื่อมีการให้นิยามเหล่านี้อย่างชัดเจน การเก็บข้อมูลอย่างเข้มงวดจะทำให้ได้ผลของการศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความน่าเชื่อถือ สามารถจะเก็บข้อมูลได้อย่างมั่นใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นโดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่มีนโยบายโรงสายสัมพันธ์แม่ลูกเนื่องจากนำไปใช้ในการติดตาม พัฒนาและเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Noel-Weiss J, Boersma S, Kujawa-Myles S. Questioning current definitions for breastfeeding research. Int Breastfeed J 2012;7:9.

2.??????????? Zakarija-Grkovic I, Segvic O, Bozinovic T, et al. Hospital practices and breastfeeding rates before and after the UNICEF/WHO 20-hour course for maternity staff. J Hum Lact 2012;28:389-99.

 

ให้นมแม่ได้ถึงลูกอายุเท่าไร?

mommom

? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถให้ไปได้นานตราบเท่าที่คุณแม่ย้งมีน้ำนมอยู่ คุณแม่บางคนให้ไปถึงสองถึงสามปี แต่จะต้องทราบว่า นมเป็นอาหารหลักของทารกในช่วงหกเดือนแรก หลังจากนั้นเป็นอาหารเสริมจำเป็นซึ่งจะต้องรับประทานอาหารหลักตามมื้อและตามอายุของทารกที่มากขึ้น

เขียนโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และนิยามอาหารสำหรับทารกแรกเกิด

นมแม่สร้างได้อย่างไร?

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งมารดาและทารก ข้อแนะนำในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เหมาะสมนั้น คือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นเสริมอาหารอื่นๆ ให้ควบคู่กับนมแม่จนกระทั่งครบหนึ่งปี โดยยังสามารถให้นมแม่ต่อไปอีกจนครบสองปีหรือแล้วแต่ความต้องการของมารดาและทารก1 ลักษณะของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีคำอธิบายหรือคำนิยามที่แสดงความชัดเจนของลักษณะการเลี้ยงดูทารก ตาม WHO2 ดังนี้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว (exclusive breastfeeding) คือ การเลี้ยงลูกโดยให้เฉพาะนมแม่อย่างเดียว อาจพิจารณาให้สารน้ำ แร่ธาตุ วิตามินและยาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ได้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหลัก (predominant breastfeeding) คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยถือว่าเป็นแหล่งของสารอาหารหลักของทารก ร่วมกับมีการของเหลวที่ได้แก่ น้ำ น้ำผลไม้หรือน้ำสมุนไพร

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่น (complementary feeding) คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็ง รวมทั้งนมผสมหรือนมอื่นๆ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (breastfeeding) หากใช้เพียงคำนี้เท่านั้น หมายถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาจมีการให้อาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็ง รวมทั้งนมผสมหรือนมอื่นๆ ความหมายทางนัยจะเหมือนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่น

การเลี้ยงลูกด้วยขวดนม (bottle feeding) คือ การเลี้ยงลูกจากการให้นมแม่ นมผสม นมอื่นๆ จากการป้อนด้วยขวดนม และอาจมีการให้อาหารกึ่งของแข็งหรืออาหารที่เป็นของแข็งร่วมด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Noel-Weiss J, Boersma S, Kujawa-Myles S. Questioning current definitions for breastfeeding research. Int Breastfeed J 2012;7:9.

 

หลังคลอด ไม่มีน้ำนมให้ลูกจะทำอย่างไร?

นมแม่

? ? ? ? ? ?หลังคลอดใหม่โดยทั่วไปมักไม่มีน้ำนม น้ำนมปกติจะเริ่มมาราววันที่สองหลังคลอด อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นเต้านมโดยให้ทารกดูดนมประมาณ 3-5 นาทีแม้ยังไม่มีน้ำนมมา (ให้ก่อนให้นมลูกทุกครั้ง) วันละอย่างน้อย 6 ครั้งในช่วงแรกจะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้นและมากเพียงพอ และเมื่อน้ำนมมาแล้วเพิ่มการให้ในแต่ละครั้งนานขึ้นเป็นครั้งละ 10-15 นาที การมีความพยายามและตั้งใจของคุณแม่โดยให้กระตุ้นบ่อยพอและนานพอในแต่ละครั้งจะช่วยให้ปริมาณน้ำนมมาได้พอเพียงกับความต้องการของลูกได้ และคุณแม่จะภูมิใจที่สามารถให้นมแม่ที่มีประโยชน์แก่ลูกได้

เขียนโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)