การรักษามารดาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดไม่ครบตามเกณฑ์

 

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การรักษามารดาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดไม่ครบตามเกณฑ์ ยังไม่มีข้อสรุปในการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยการเลือกให้การรักษาอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์แต่ละคน1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Branch W. Report of the Obstetric APS Task Force: 13th International Congress on Antiphospholipid Antibodies, 13th April 2010. Lupus 2011;20:158-64.

?

การรักษามารดาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดครบตามเกณฑ์

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การรักษามารดาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดครบตามเกณฑ์ ใช้ยาแอสไพริน ร่วมกับ low molecular weight heparin ซึ่งส่วนใหญ่จะได้ผล1 แต่มีร้อยละ 20 ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยทางเลือกอื่นด้วย คือ corticosteroids, hydroxychloroquine, intravenous immunoglobulins และ plasmaphaeresis2 โดยผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะไม่ตอบสนองต่อการรักษาจะเป็นผู้ที่มีโรคเอสแอลอี ผู้ที่ประวัติหลอดเลือดอุดตันและทารกเสียชีวิต หรือผู้ที่มีแอนติบอดีทั้งสามตัว ได้แก่ Lupus Anticoagulant (LAC), anticardiolipin antibodies (aCL) และ anti-?2-glycoprotein I antibodies (anti-?2GPI) เป็นผลบวก3

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Branch W. Report of the Obstetric APS Task Force: 13th International Congress on Antiphospholipid Antibodies, 13th April 2010. Lupus 2011;20:158-64.

2.???????????? Erkan D, Patel S, Nuzzo M, et al. Management of the controversial aspects of the antiphospholipid syndrome pregnancies: a guide for clinicians and researchers. Rheumatology (Oxford) 2008;47 Suppl 3:iii23-7.

3.???????????? Ruffatti A, Tonello M, Visentin MS, et al. Risk factors for pregnancy failure in patients with anti-phospholipid syndrome treated with conventional therapies: a multicentre, case-control study. Rheumatology (Oxford) 2011;50:1684-9.

?

 

การดูแลรักษามารดาที่เป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดระหว่างตั้งครรภ์

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? มารดาที่เป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดที่เริ่มตั้งครรภ์ ควรจะได้รับการแจ้งถึงเรื่องความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคหลอดเลือดอุดตัน ภาวะ stoke ภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกในครรภ์เสียชีวิต ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า และการคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้มีความเข้าใจและร่วมมือในการดูแลรักษา

??????????? เป้าหมายของการดูแลรักษาในกลุ่มนี้ คือการลดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดอุดตันของมารดาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอด โดยเริ่มต้นด้วยการประเมินความเสี่ยง ได้แก่ ประวัติเคยเกิดหลอดเลือดอุดตันมาก่อน ประวัติทารกเสียชีวิตในครรภ์มาก่อน ความเสียหายของอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคในปัจจุบัน ได้แก่ หัวใจ สมอง ปอดและไต ประเมินความเสี่ยงจากอายุมารดา และการมีโรคเอสแอลอีหรือโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเองอื่นร่วมด้วย

??????????? สำหรับยาที่ใช้ในการป้องภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ ได้แก่ แอสไพริน และ low molecular weight heparin ซึ่งจะออกฤทธิ์ในการป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด นอกจากนี้ยา heparin ออกฤทธิ์จับกับ?2GPI และออกฤทธิ์ต้านการทำงานของ complement ที่รก ยาแอสไพรินออกฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อรกและฮอร์โมน และช่วยป้องกันการเสียชีวิตของทารกในการศึกษาในสัตว์1

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Shoenfeld Y, Sherer Y, Fishman P. Interleukin-3 and pregnancy loss in antiphospholipid syndrome. Scand J Rheumatol Suppl 1998;107:19-22.

?

?

 

เกณฑ์ทางสูติศาสตร์ในการให้การวินิจฉัยกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิด

w19

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ข้อตกลงของเกณฑ์ทางสูติศาสตร์ในการให้การวินิจฉัยกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิด1 ได้แก่

??????????? -มีการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไป ที่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์หรือก่อนหน้านั้น โดยตรวจไม่พบความผิดปกติของทารก

??????????? -มีการคลอดของทารกที่มีลักษณะปกติก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์จากอาการครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง (severe preeclampsia) หรือมีการชักจากครรภ์เป็นพิษ (eclampsia) หรือมีการทำงานของรกที่ไม่เพียงพอ (placental insufficiency) ตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไป

??????????? -มีการแท้งซ้ำก่อนอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ตั้งแต่สามครั้งขึ้นไปที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ หลังจากการตรวจความผิดปกติของลักษณะทางกายวิภาคและฮอร์โมนของมารดา และตรวจพันธุกรรมของพ่อและแม่

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Miyakis S, Lockshin MD, Atsumi T, et al. International consensus statement on an update of the classification criteria for definite antiphospholipid syndrome (APS). J Thromb Haemost 2006;4:295-306.

 

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ในมารดาที่เป็นกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิด (antiphospholipid syndrome)

w19

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? กลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิดเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดในมารดา ร่วมกับในภาวะของการตั้งครรภ์จะเป็นภาวะที่เลือดแข็งตัวได้ง่าย ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ สำหรับผลต่อการตั้งครรภ์ กลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิดจะพบความเสี่ยงในการเกิดการแท้ง การเสียชีวิตของทารกในครรภ์ การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษเร็ว การเกิดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้า การเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด และการเกิดการคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น1 ลักษณะของการแท้งจากกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิดจะเกิดในช่วงตั้งครรภ์อายุครรภ์น้อย คือในช่วงก่อนอายุครรภ์ 9 สัปดาห์ หากอายุครรภ์เกิน 14 สัปดาห์แล้ว โอกาสการแท้งจะลดลง และจะพบการแท้งซ้ำได้บ่อย2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Miyakis S, Lockshin MD, Atsumi T, et al. International consensus statement on an update of the classification criteria for definite antiphospholipid syndrome (APS). J Thromb Haemost 2006;4:295-306.

2.??????????? Tincani A, Bazzani C, Zingarelli S, Lojacono A. Lupus and the antiphospholipid syndrome in pregnancy and obstetrics: clinical characteristics, diagnosis, pathogenesis, and treatment. Semin Thromb Hemost 2008;34:267-73.

?

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)