วิธีที่จะตัดสินว่าทารกอ้าปากอมหัวนมและลานนมได้ดี

10024255_13

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? บุคลากรทางการแพทย์ควรจะสามารถที่จะบอกได้ว่าทารกอ้าปากอมหัวนมและลานนมได้ดีหรือไม่ด้วยการดูจากลักษณะภายนอก

good latchรูปที่ 1

????????????? สังเกตจากรูปที่ 1 แสดงการอ้าปากอมหัวนมและลานนมที่ดี1 จะมีลักษณะที่สังเกตได้ ดังนี้

??????? ปากของทารกจะเปิดกว้าง

??????? ริมฝีปากล่างจะปลิ้นออก

??????? คางจะสัมผัสกับเต้านมหรืออยู่ชิดกับเต้านม

??????? จะมองเห็นลานนมทางด้านบนของปากทารกมากกว่าลานนมที่อยู่ทางด้านล่าง

??????????? -การสังเกตเห็นลานนมมากหรือลานนมน้อยไม่ใช่สิ่งที่บอกถึงการอ้าปากอมหัวนมและลานนมดีเสมอไป เนื่องจากมารดาบางคนอาจมีขนาดลานนมใหญ่หรือในบางคนอาจมีขนาดลานนมเล็ก แต่ลักษณะที่จะบอกได้ดีกว่าคือ การที่เห็นลานนมด้านบนของปากทารกมากกว่าลานนมทางด้านล่าง

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การอ้าปากอมหัวนมและลานนมที่ไม่ดี

นม1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

รูปที่ 2 แสดงการอ้าปากอมหัวนมและลานนมที่ไม่ดี จะมีลักษณะดังนี้

??????????? -หัวนมและลานนมไม่ยืดออกเป็นจุก

-ท่อน้ำนมที่อยู่ใต้ลานนมอยู่ในปากทารก

??????????? -ลิ้นทารกไม่ยื่นออกมาข้างหน้า ยังอยู่ในปาก และไม่กดไล่น้ำนมจากท่อน้ำนมที่อยู่ใต้ลานนม

??????????? -ลักษณะของการดูดนมนี้คือการเข้าเต้าที่ไม่ดี ทารกจะดูดเฉพาะหัวนม ซึ่งจะทำให้มารดาเจ็บหัวนม การดูดนมจะไม่มีประสิทธิภาพและทำให้ทารกไม่ได้น้ำนม

bad latch

รูปที่ 2 แสดงการอ้าปากอมหัวนมและลานนมที่ไม่ดี1

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การอ้าปากอมหัวนมและลานนมที่ดี

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?? ? ????? การดูดนมของทารกจะช่วยควบคุมการสร้างฮอร์โมนโปรแลคติน กลไกออกซิโตซิน และลดสารยับยั้งการสร้างน้ำนมในเต้านม สำหรับมารดาที่ต้องการให้มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูกต้องให้ลูกดูดนมบ่อยๆ และดูดนมอย่างถูกต้อง ลูกจะดูดนมไม่ได้ดีหากดูดเฉพาะหัวนม good latch???????????????????????????????????? รูปที่ 1 แสดงการอ้าปากอมหัวนมและลานนมที่ดี1

??????????? รูปที่ 1 แสดงการอ้าปากอมหัวนมและลานนมที่ดี จะมีลักษณะดังนี้

??????????? -หัวนมและลานนมจะยึดยาวออกมามีลักษณะเป็นจุก (teat) อยู่ในปากทารก

??????????? -ท่อน้ำนมที่อยู่ใต้ลานนมอยู่ในปากทารก

??????????? -ลิ้นของทารกจะยื่นออกมาข้างหน้าบนเหงือกด้านล่าง เพื่อที่จะกดไล่นมออกจากเต้านม สิ่งนี้เรียกว่า การดูดนม

??????????? -เมื่อทารกอ้าปากอมหัวนมและลานนมในลักษณะนี้ คือการเข้าเต้าที่ดีและจะทำให้การดูดนมมีประสิทธิภาพ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

สารยับยั้งการสร้างน้ำนม

10024251_12

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? บางครั้งมารดาอาจสังเกตว่า น้ำนมจะมีอยู่เพียงข้างเดียว โดยอีกข้างหนึ่งไม่มีน้ำนม หากทารกกระตุ้นและดูดเต้านมอยู่ข้างเดียว สาเหตุเนื่องจากในน้ำนมมีสารที่ยับยั้งการสร้างน้ำนมอยู่ หากมีอยู่มาก ไม่มีทารกดูดหรือมีการปั๊มนมออกไป สารนี้จะมีผลไปยับยั้งการสร้างน้ำนม หากมีการดูดของทารกหรือการปั๊มนมสารยับยั้งนั้นจะลดลง การผลิตน้ำนมจะเพิ่มขึ้น

ในการป้องการสารยับยั้งการสร้างน้ำนมสะสมและทำให้ลดการสร้างน้ำนม แนะนำการปฏิบัติดังนี้

??????? ดูให้มั่นใจว่าทารกอมหัวนมและลานนมได้ดี

??????? ให้การกระตุ้นดูดนมบ่อยๆ

??????? ปล่อยให้ทารกดูดนมนานตามความต้องการในเต้านมแต่ละข้าง

??????? .ให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้าในเต้านมข้างหนึ่งก่อนที่จะเปลี่ยนไปดูดในเต้านมอีกข้าง

???????????หากทารกไม่ดูดนม การบีบหรือปั๊มนมออก จะทำให้การสร้างน้ำนมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง”

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

การยับยั้งการหลั่งออกซิโตซิน

10031738_meguri_(34)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การหลั่งออกซิโตซินจะถูกยับยั้งชั่วคราวได้โดย

??????? ความเจ็บปวดที่รุนแรงจากหัวนมแตก การเย็บแผลผ่าตัดคลอดและการเย็บฝีเย็บ

??????? ความเครียดจากสาเหตุต่างๆ รวมทั้งความวิตกกังวล ความสงสัย หรือความอับอาย

??????? แอลกอฮอล์และนิโคติน

-ต้องระลึกไว้เสมอการพูดสื่อสารกับมารดาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้น้ำนมมารดามาได้ดีขึ้น แต่หากพูดสื่อสารไม่เหมาะสม ทำให้มารดาวิตกกังวลจะมีผลต่อการหลั่งของออกซิโตซิน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)