การช่วยทารกในการเข้าเต้า

images (1)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การช่วยทารกเข้าเต้า ควรปฏิบัติดังนี้

??????? ให้ริมฝีปากของทารกสัมผัสกับหัวนม เพื่อทารกจะได้อ้าปาก

??????? คอยให้ทารกอ้าปากกว้างแล้วเคลื่อนทารกเข้าหาเต้านม โดยปากทารกจำเป็นต้องอ้ากว้างเพื่อให้สามารถจะอมหัวนมและลานนมได้

??????? วางระดับให้ริมฝีปากล่างอยู่ต่ำกว่าหัวนม เพื่อให้คางและริมฝีปากล่างสัมผัสกับเต้านมก่อนริมฝีปากบน

??????? นำทารกเข้าหาเต้านม โดยไม่ควรให้มารดาต้องขยับตัวให้เต้านมเข้าหาทารก

ข้อควรระวัง

??????????? -พยายามที่จะไม่สัมผัสมารดาหรือทารกหากเป็นไปได้ แต่ถ้าหากจำเป็นต้องสัมผัสเพื่อแสดงมารดาถึงสิ่งที่ทำควร

??????? วางมือคร่อมมือและแขนของมารดา และสัมผัสทารกผ่านมารดา

??????? จับทารกที่ด้านหลังของไหล่? ไม่จับทารกด้านหลังของศีรษะ

??????? ระมัดระวังที่จะไม่ผลักหรือดันศีรษะทารกไปด้านหน้า

??????????? -ทารกแรกเกิดควรจะได้รับการพยุงทั้งลำตัว แต่เมื่อทารกโตขึ้นอาจพยุงเพียงศีรษะและคอ

??????????? -เต้านมไม่ควรอยู่ห่างจากจมูกของทารก รูจมูกจะขยายออกเองเพื่อให้ทารกได้หายใจได้? แต่หากมารดาวิตกกังวลมาก การจับกระดูกต้นขาทารกเข้าหาตัวมารดาจะทำให้ศีรษะขยับออกจากเต้านมเล็กน้อยและจมูกจะถอยห่างจากเต้านมเอง

??????????? และไม่ควรลืมที่จะสอบถามมารดาถึงความเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิบัติตามคำแนะนำหรือการช่วยเหลือแล้ว

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การพยุงเต้านมของมารดาในการให้นมลูก

images (3)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????? อาจทำได้โดย

??????? วางมือบนหน้าอกใต้เต้านม โดยนิ้วด้านบนนิ้วแรกจะรองรับที่ฐานของเต้านม

??????? ใช้นิ้วหัวแม่มือกดบริเวณส่วนบนของเต้านมเพื่อช่วยในการปรับรูปร่างของเต้านมให้มีความเหมาะสมในการอ้าปากอมหัวนมและลานนมของงทารก การกดควรกดด้วยควรนุ่มนวล และไม่จำเป็นต้องกดที่จุดเดียวเสมอไป

??????? ต้องแน่ใจว่านิ้วมือต้องไม่อยู่ใกล้หัวนมเกินไปจนไปขัดขวางการอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การช่วยเหลือมารดาให้นมลูกในท่านั่ง

นมแม่31

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? ? ? -ในการที่บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยเหลือมารดา ควรเริ่มต้นด้วย

??????? การทักทายมารดา โดยการแนะนำตัวเอง ถามชื่อมารดาและถามชื่อลูก

??????? ถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นอย่างไร

??????? ขอให้มารดาแสดงการให้นมลูกให้ดูในลักษณะที่ทำปกติ

??????? นั่งลง เพื่อให้สบายและผ่อนคลาย และสะดวกในการให้การช่วยเหลือมารดา

??????? สังเกตการให้นมของมารดาสัก 2-3 นาที???

??????????? -ขณะมารดาให้นมลูก ควรตรวจรายการตามแบบช่วยเหลือการสังเกตการให้นมลูก ได้แก่

??????? การสังเกตมารดาและทารกโดยทั่วไป

??????? การสังเกตเต้านมมารดา

??????? การสังเกตท่าของทารกและการอ้าปากอมหัวนมและลานนมระหว่างการให้นม

??????? การกลืนของทารก

??????????? -ถามมารดาว่าการให้นมลูกมารดามีความรู้สึกอย่างไร

??????????? -หลังการสังเกตการณ์ให้นมลูก

??????? พูดสิ่งที่เป็นการให้กำลังใจ เช่น ?ดูเหมือนลูกจะชอบกินนมแม่นะ?

??????? อธิบายสิ่งที่จะช่วยในการให้นมลูกและถามมารดาว่าจะให้แสดงให้ดูหรือไม่ ถ้ามารดาต้องการ จึงเริ่มการช่วยเหลือ

??????????? -ท่าของมารดามีความสำคัญ การนั่งพิงพนัก หรือมีที่หนุนรองหลังจะทำให้มารดารู้สึกสบายขึ้น การนำทารกเข้าเต้า การใช้หมอนหรือผ้าเช็ดตัวม้วนเป็นก้อนรองตัวทารกอาจจำเป็น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การช่วยให้มารดาเรียนรู้การจัดท่าและการอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก

 

images (4)รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? -บุคลากรทางการแพทย์ควรจดจำประเด็นเหล่านี้ก่อนการช่วยเหลือมารดา

??????? สังเกตมารดาขณะให้นมทารกก่อนเสนอการช่วยเหลือเสมอ และเสนอความช่วยเหลือเฉพาะเมื่อมีความยากลำบากในการให้นมลูกเท่านั้น

??????? ช่วยเหลือในลักษณะที่ให้มารดาปฏิบัติเองมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้มารดาสามารถจะเข้าเต้าทารกได้ด้วยตนเอง หากจำเป็นต้องแสดงให้เห็น บุคลากรทางการแพทย์อาจจะแสดงในลักษณะที่ปฏิบัติให้ดู โดยจะหลีกเลี่ยงการเข้าไปจัดท่าหรือจับปรับลำตัวหรือแขนของทารก

??????? บอกมารดาถึงประเด็นสำคัญที่ต้องสังเกตขณะให้นมลูก ได้แก่ แนวของศีรษะและลำตัวของทารก การชิดแนบลำตัวของมารดากับทารก การหนุนหรือพยุงทารก และทารกต้องหันหน้าเข้ามารดา เพื่อทำให้มารดามีความมั่นใจและมีประสิทธิภาพในการให้นมสูง

??????????? -มารดาแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มารดาและทารกบางคนอาจต้องการเวลามากในการเรียนรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขณะที่บางคนอาจต้องการแค่คำพูดสองสามคำเพื่อช่วยให้มีความมั่นใจเท่านั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรสังเกตและรับฟังมารดาเพื่อที่จะให้การช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การสังเกตมารดาและทารกขณะให้นมแม่ ตอนที่ 7

hx

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? ถามมารดาถึงความรู้สึกในการให้นมลูก

??????? ถามมารดาว่ารู้สึกถึงลักษณะของกลไกออกซิโตซิน เช่น การไหลของน้ำนมหรือการเสียวจากการบีบตัวของเต้านม

??????? รู้สึกไม่สบายหรือเจ็บเต้านมไหม?

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)