สาเหตุในการไม่เต็มใจในการดูดนมแม่ (ตอนที่ 2)

obgyn3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? น้ำนมอาจไหลเร็วเกินไป ทารกอาจเริ่มต้นกินนมได้ดี แต่จะขยับตัวออกร้องไห้หรือรู้สึกอึดอัด

??????? ทารกอาจจะเจ็บปากหรือจมูกมีน้ำมูกอุดตัน ทำให้ทารกกินนมได้สั้นๆ และขยับออกหรือร้องไห้จากความกระวนกระวาย

??????? ทารกอาจจะรู้สึกเจ็บจากการคลอด เช่น การช่วยคลอดด้วยคีม ทารกอาจมีรอยช้ำและเจ็บบริเวณศีรษะ เมื่อมีการอุ้มหรือกอดทารกแน่นเกินไปจะทำให้ทารกรู้สึกเจ็บ

??????? ทารกอาจจะเรียนรู้การดูดนมจากจุกนมเทียม ทำให้ยากเมื่อต้องดูดนมจากเต้านมแม่

??????? มารดาใช้สบู่ที่มีกลิ่นแตกต่างกันออกไปหรือเปลี่ยนกลิ่นน้ำหอม ซึ่งอาจทำให้ทารกไม่ชอบ

??????? น้ำนมมารดาอาจจะมีน้อย เมื่อทารกดูดนมไม่ได้น้ำนม ทารกจะรู้สึกกระวนกระวาย

??????? บางครั้งทารกดูดน้ำนมได้ดีจากเต้านมข้างหนึ่ง? แต่ไม่ดูดนมจากเต้านมอีกข้าง อาจจะเนื่องจากน้ำนมไหลแตกต่างกัน หรือเต้านมอีกข้างอาจจะตึงคัด

หนังสืออ้างอิง

 

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

สาเหตุในการไม่เต็มใจในการดูดนมแม่ (ตอนที่ 1)

obgyn3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? ทารกอาจจะยังไม่หิวในขณะนั้น หากทารกกินนมอย่างเต็มที่ไปยังไม่นาน อาจจะยังไม่หิวและไม่พร้อมในการกินนมมื้อต่อไป ซึ่งหากเป็นการให้นมแม่ มารดาอาจจะบอกได้ แต่ถ้ามีการให้นมผสมด้วยเหตุผลบางอย่าง อาจจำเป็นต้องตรวจสอบว่าทารกเพิ่งได้รับนมไปไม่นาน

??????? ทารกอาจจะหนาว ป่วย ตัวเล็ก หรืออ่อนแอ ทารกกลุ่มนี้อาจจะปฏิเสธการกินนมแม่ อาจจะอ้าปากอมหัวนมและลานนมแต่ไม่ดูดนม อาจจะดูดนมไม่แรงหรือดูดช่วงสั้นๆ

??????? มารดาอุ้มทารกไม่ถูกต้อง ทารกอ้าปากอมหัวนมและลานนมไม่เหมาะสม ในกรณีนี้ ทารกอาจจะดูหิวและต้องการกินนม แต่ไม่สามารถอมหัวนามและลานนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

??????? มารดาอาจจะขยับหรือเคลื่อนไหวเต้านมหรือทารก ทำให้ทารกอ้าปากอมหัวนมและลานนมลำบาก

??????? เต้านมมารดาอาจจะตึง แข็งหรือคัด ทำให้ทารกอ้าปากอมหัวนมและลานนมลำบาก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

ทารกที่อ้าปากอมหัวนมและลานนมลำบาก

102770217

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ทารกบางคนอาจดูเหมือนไม่เต็มใจที่จะดูดนมแม่โดยสาเหตุมีจากหลายเหตุผล มารดาอาจจะรู้สึกว่าถูกลูกปฏิเสธการให้นมแม่และรู้สึกเครียด จำไว้ว่า ในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอดเป็นช่วงที่มารดาและทารกจำต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการกินนมแม่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลา การสังเกตระหว่างการให้นมลูกของมารดาและสังเกตว่าทารกพยายามอ้าปากอมหัวนมและลานนมอย่างไรจะช่วยในการปรับให้การให้นมแม่ดีขึ้นได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

เมื่อไรที่จะช่วยเหลือมารดาในการให้นมลูก

นม1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -ทารกที่ควานหาเต้านมมารดาในชั่วโมงแรกหลังคลอดและอาจจะเริ่มต้นดูดนมตั้งแต่เวลานั้น โดยที่การดูดนมในครั้งแรกจะเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย ไม่เน้นในเรื่องท่าของทารกและมารดา ไม่เน้นในเรื่องการประเมินการกินนมของทารก ซึ่งบ่อยครั้งมารดาจะง่วงหลับไปสองสามชั่วโมงหลังเวลาจากเริ่มต้นดูดนม

??????????? -เมื่อทารกตื่นอีกครั้งหลังจากสองสามชั่วโมงแรกหลังการเริ่มต้นดูดนม ช่วยเหลือมารดาให้อยู่ในท่าที่สบาย ช่วยมารดาจัดท่าและช่วยการเข้าเต้าของทารกหากจำเป็น แต่ควรจดจำไว้ว่า ?ต้องเพียงแค่สังเกตดูมารดาก่อนเสมอ?

??????????? -ช่วยให้มารดาจัดท่าทารกด้วยตนเองมากกว่าบุคลากรทางการแพทย์จัดท่าทารกให้ เนื่องจากมารดาจำเป็นจะต้องจัดท่าทารกในการให้นมได้ด้วยตนเอง

??????????? -หากเป็นทารกที่ครบกำหนดที่แข็งแรง ทารกจะตื่นตัวและไม่มีความจำเป็นต้องปลุกในสองสามชั่วโมงแรกหลังคลอด แต่หากทารกได้ยาแก้ปวด ทารกเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย หรือทารกที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ อาจจำเป็นต้องกระตุ้นตื่นหลัง 3-4 ชั่วโมงแรกเพื่อกินนม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การช่วยเหลือมารดาให้นมลูกในท่านอน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? เริ่มต้นการทักทายและสอบถามคล้ายกับการให้การช่วยเหลือมารดาให้นมลูกในท่านั่ง

??????????? -เพื่อให้มารดาได้ผ่อนคลาย ท่าที่นอนของมารดาควรจะเป็นท่าที่มารดาสามารถนอนหลับได้

??????????? -ควรหนุนหมอนหรือผ้าใต้ศีรษะและระหว่างหัวเข่า และหลังของมารดาควรจะรองหนุนด้วยหมอน ผ้าห่มม้วน? พิงสามีหรืออาจจะพิงผนังด้วย

??????????? -ชี้ให้มารดาเห็น 4 ประเด็นสำคัญในการจัดท่าของทารก ได้แก่ แนวศีรษะและลำตัว การแนบชิดมารดา การพยุงหรือหนุนลำตัวทารก และหน้าของทารกหันเข้าหาเต้านม

??????????? -ปัญหาที่พบบ่อยในการเข้าเต้าในท่านอน คือ ทารกอยู่สูงเกินไป โดยอยู่ระดับใกล้หัวไหล่มารดาและทารกต้องก้มลงเพื่อเข้าหาเต้านมและดูดนม

และไม่ควรลืมที่จะสอบถามมารดาถึงความเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิบัติตามคำแนะนำหรือการช่วยเหลือแล้ว

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)