การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

าเหตุจากผิวหนังอักเสบ หรือเป็นโรคอื่นบริเวณผิวหนัง การรักษาควรตามแต่ละสาเหตุ  โดยหากสาเหตุเป็นจากการแพ้ การรักษาทำโดยใช้ยาทาเฉพาะที่ที่มีตัวยาสเตียรอยด์ แต่ควรเช็ดยาทาออกจากหัวนมโดยใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก่อนให้ทารกกินนม และควรทายาซ้ำหลังจากทารกกินนมเสร็จแล้ว ไม่ควรล้างยาออกด้วยน้ำสบู่ เพราะอาจทำให้ผิวหนังบริเวณหัวนมแห้ง และอาจมีการเจ็บหัวนมได้เมื่อมีการเสียดสีในระหว่างที่ทารกดูดนม  

การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

Raynaud’s phenomenon การรักษาควรหลีกเลี่ยงภาวะที่หัวนมจะสัมผัสกับอากาศเย็น หรือดื่มกาแฟหรือสูบบุหรี่ที่จะทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือด และพยายามช่วยให้หัวนมอบอุ่นตลอดเวลา โดยเช็ดบริเวณหัวนมให้แห้งหลังทารกกินนม และใช้ผ้าที่ใช้ประคบร้อนช่วยประคบบริเวณหัวนมหลังทารกกินนมทันที หลังจากนั้นแนะนำให้มารดาใส่เสื้อชั้นใน และสวมเสื้อผ้าที่จะช่วยให้บริเวณหัวนมอบอุ่น สำหรับมารดาที่มีอาการรุนแรง การใช้ nifedipine ชนิดรับประทานสามารถใช้ได้โดยไม่เกิดอันตรายแก่ทารกที่กินนมแม่21

เอกสารอ้างอิง

21.       Anderson JE, Held N, Wright K. Raynaud’s phenomenon of the nipple: a treatable cause of painful breastfeeding. Pediatrics 2004;113:e360-4.

การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

มารดาเป็นงูสวัด (Herpes zoster) หากบริเวณหัวนมหรือลานนมมีแผลหรือตุ่มน้ำใส ควรงดการให้นมจากเต้านมข้างที่มีอาการ จนกระทั่งแผลที่เกิดจากงูสวัดหายหรือแห้งดีแล้ว20 ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาราว 10-14 วัน เพราะการที่ทารกมีการสัมผัสกับแผลหรือน้ำเหลืองจากแผล จะทำให้เกิดการติดเชื้อในทารกได้

เอกสารอ้างอิง

20.       Mathers LJ, Mathers RA, Brotherton DR. Herpes zoster in the T4 dermatome: a possible cause of breastfeeding strike. J Hum Lact 2007;23:70-1.

การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 4

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ทารกมีภาวะลิ้นติด โดยที่ภาวะลิ้นติดนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกไม่สามารถแลบลิ้นออกมาปิดบริเวณเหงือกด้านล่าง ทำให้มารดาเจ็บหัวนม หรือเข้าเต้าลำบาก หรือทำให้ทารกกินนมได้น้อยและมีการเจริญเติบโตช้า (ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรง) การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจาณาทำ frenotomy อาจจำเป็น15-19

เอกสารอ้างอิง

15.       Dollberg S, Botzer E, Grunis E, Mimouni FB. Immediate nipple pain relief after frenotomy in breast-fed infants with ankyloglossia: a randomized, prospective study. J Pediatr Surg 2006;41:1598-600.

16.       Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

17.       Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

18.       Edmunds J, Miles SC, Fulbrook P. Tongue-tie and breastfeeding: a review of the literature. Breastfeed Rev 2011;19:19-26.

19.       Khoo AK, Dabbas N, Sudhakaran N, Ade-Ajayi N, Patel S. Nipple pain at presentation predicts success of tongue-tie division for breastfeeding problems. Eur J Pediatr Surg 2009;19:370-3.

การจัดการดูแลการเจ็บหัวนมของมารดาหลังคลอด ตอนที่ 3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การติดเชื้อรา สำหรับกรณีที่มารดามีการติดเชื้อราที่เต้านม ควรทำการรักษาเชื้อราทั้งในปากของทารกและที่หัวนมไปพร้อม ๆ กัน

การรักษามารดา แนะนำให้ใช้ fluconazole ขนาด 400 มิลลิกรัมรับประทารนในวันแรก และรับประทานต่อด้วยขนาดยา 200 มิลลิกรัม รับประทานวันละครั้ง เป็นระยะเวลา 14 วันหรือจนกว่ามารดาจะหายจากการเจ็บหัวนม โดยขนาดยาที่ใช้ไม่พบมีผลเสียต่อทารก12 หรืออาจใช้ยาทาเฉพาะที่ที่มีตัวยา miconazole หรือ clotrimazole ทาบริเวณหัวนมและลานนมที่มีการติดเชื้อรา โดยใช้ยาทานาน 2 สัปดาห์หรือจนกว่ามารดาจะหายจากการเจ็บหัวนม  แต่มีข้อระมัดระวังในการใช้ยาทาคือ มารดาต้องเช็ดทำความสะอาดหัวนมและลานนมด้วยน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก่อนที่จะให้ทารกดูดนม และทายาซ้ำหลังทารกดูดนมเสร็จแล้ว สำหรับ nystatin พบว่ามีการดื้อยาของเชื้อราได้มากกว่า13 ไม่แนะนำให้ใช้ ketoconazole เพราะจะเป็นพิษต่อตับของทารกได้14 และไม่แนะนำการใช้ Gentian violet เนื่องจากมีโอกาสที่จะทำให้เกิดมะเร็ง และอาจทำให้เกิดการแพ้ได้

การรักษาทารก แนะนำให้ใช้ยาน้ำ nystatin (ความเข้มข้น 100000 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) หยอดที่ด้านข้างของปากทั้งสองข้าง โดยหยอดข้างละ 0.5 มิลลิลิตร วันละ 4 ครั้ง นาน 14 วัน 

เอกสารอ้างอิง

12.       Heller MM, Fullerton-Stone H, Murase JE. Caring for new mothers: diagnosis, management and treatment of nipple dermatitis in breastfeeding mothers. Int J Dermatol 2012;51:1149-61.

13.       Wiener S. Diagnosis and management of Candida of the nipple and breast. J Midwifery Womens Health 2006;51:125-8.

14.       Anderson PO. Topical Drugs in Nursing Mothers. Breastfeed Med 2018;13:5-7.

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)