การรับรู้ถึงสิ่งสนับสนุนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อมารดาต้องการ

DSC00115

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?-เมื่อมารดาต้องการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากกลับบ้าน มารดาอาจจะต้องการการสนับสนุนจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจขณะมารดาเรียนรู้ในการดูแลทารก โดยมารดาอาจต้องการความช่วยเหลือ หาก

  • มีภาระงานในการดูแลลูกอีกคนหรือสมาชิกอื่นในครอบครัว
  • เป็นคุณแม่มือใหม่
  • ให้นมลูกด้วยความยากลำบาก
  • จำเป็นต้องทำงานนอกบ้านและต้องแยกลูกไว้ที่บ้าน
  • ต้องแยกจากทารกโดยติดต่อได้เฉพาะผู้ดูแลทารก
  • ได้รับข้อมูลที่สับสนหรือขัดแย้งกันจากหลายๆ คน
  • มารดาหรือทารกมีปัญหาเรื่องสุขภาพ

บางครั้งมารดาอาจจะคิดว่าต้องทำทุกๆ อย่างได้ด้วยตนเอง โดยการขอความช่วยเหลืออาจแสดงว่าเป็นมารดาที่ไม่พร้อมหรือไม่สามารถบริหารจัดการได้ แต่ในความเป็นจริง เมื่อเราเรียนรู้ในเรื่องใหม่ๆ อาจจำเป็นต้องใช้เวลา และบางครั้งอาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ซึ่งในการเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นแม่ก็เช่นกัน มารดาควรต้องเรียนรู้ว่ามีสิ่งสนับสนุนหรือช่วยเหลือใดๆ หากมารดามีความจำเป็นหรือต้องการเมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-การติดตามมารดาที่ใช้อาหารอื่นทดแทนนมแม่ก็มีความสำคัญ เพราะต้องมั่นใจว่า มารดาเลือกวิธีการให้อาหารที่เหมาะสมแล้ว เพราะมารดาอาจต้องการความช่วยเหลือหากต้องการเปลี่ยนชนิดของอาหารทดแทนนมแม่

-การพูดคุยกับมารดาตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์ว่ามีสิ่งสนับสนุนใดบ้างในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะช่วยให้มารดามีความมั่นใจในการตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

ความสามารถในการตระหนักรู้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นไปด้วยดี

images123

? ?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? -บางครั้งบุคลากรทางการแพทย์จะแจ้งมารดาว่าควรมาปรึกษาหากมีปัญหาในการให้นมลูก แต่คุณแม่มือใหม่อาจจะไม่มีความรู้ว่าอะไรเป็นปกติหรืออะไรผิดปกติ ลักษณะที่จะบ่งบอกว่ามารดาและทารกมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดี ได้แก่

  • ทารกมีความแข็งแรงและตื่นตัว โดยมีการกินนมแม่อย่างน้อย 8 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • ทารกสงบและนอนหลับได้เป็นช่วงๆ ใน 24 ชั่วโมง
  • ทารกปัสสาวะ 6 ครั้งหรือมากกว่าใน 24 ชั่วโมงโดยปัสสาวะสีไม่เข้ม และควรอุจจาระอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน
  • เต้านมควรตึงคัดก่อนให้นมและควรนิ่มลงหลังการให้นม และไม่ควรมีการเจ็บเต้านมหรือหัวนม
  • มารดาควรมีความมั่นใจในการดูแลทารกโดยทั่วไป

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

ความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและคงให้นมแม่ต่อเนื่อง

13749112721374911362l

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? -เมื่อมารดากลับบ้านอาจจะได้รับแรงกดดันให้ให้น้ำหรืออาหารเสริมกับทารก ดังนั้น มารดาต้องได้รับการย้ำเตือนให้เข้าใจถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนและการคงให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง??

-หลังจากหกเดือนแรก? ทารกควรได้รับอาหารเสริมโดยการให้นมแม่จะยังคงมีสารอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยป้องกันความเจ็บป่วยและช่วยให้มารดาและทารกใกล้ชิดกัน นมแม่ยังคงมีสารอาหารที่มีคุณค่าและดีต่อสุขภาพทารกจนกระทั่งสองปีหรือนานกว่านั้น

-หากมารดาติดเชื้อเอชไอวีและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว การให้นมผสมกันระหว่างนมแม่กับนมผสมจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การเตรียมมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนกลับบ้าน

images1111

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? -ในมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่? ก่อนกลับบ้าน มารดาควร

  • เข้าใจว่าจะเลือกนมชนิดใดให้ในทารกโดยที่ชนิดของนมนั้นได้รับการยอมรับ มีความเป็นไปได้ จัดหาได้ ให้ได้ต่อเนื่อง และมีความปลอดภัยโดยที่มีความเหมาะสมกับมารดา
  • รู้ว่าจะให้นมเท่าไรจึงจะเพียงพอสำหรับทารก
  • รู้วิธีที่จะลดความเสี่ยงจากการเลือกใช้นมอื่นแทนนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมารดาควรมีความสามารถในการเตรียมนมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรสังเกตและมั่นใจว่ามารดาสามารถเตรียมนมได้ถูกต้องและปลอดภัย

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

ความสามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ด้วยตนเอง

ลูบหลัง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? -บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรมเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรจะสังเกตมารดาขณะให้นมลูกโดยต้องมั่นใจว่ามารดาสามารถให้นมลูกด้วยตนเองได้

-ก่อนที่มารดาจะกลับบ้าน ในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาควร

  • เข้าใจถึงการให้นมลูกโดยทารกเป็นผู้กำหนด รู้ความต้องการปริมาณน้ำนมและพฤติกรรมของทารก
  • รู้ถึงอาการแสดงของทารกที่ต้องการกินนม
  • สามารถจะจัดท่าที่เหมาะสมในการเข้าเต้าที่ดีได้
  • รู้ถึงลักษณะของการกินนมที่มีประสิทธิภาพและลักษณะทารกที่เจริญเติบโตได้ดี
  • รู้ว่าลักษณะใดที่แสดงว่าน้ำนมมารดามีไม่พอ
  • สามารถที่จะให้บีบน้ำนมด้วยมือได้

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)