ชุมชนมิตรนมแม่ (baby-friendly community)

car_26133311

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? -บางชุมชน อาจมีแนวคิดในการสร้าง ?ชุมชนนมแม่หรือชุมชนมิตรนมแม่? ซึ่งแสดงถึงความช่วยเหลือเกื้อกูล และความเข้มแข็งของชุมชน ที่เป็นแก่นสำคัญหนึ่งในบันได้สิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-ชุมชนมิตรนมแม่ จะมีลักษณะ

  • เป็นระบบสุขภาพหรือหน่วยสุขภาพพื้นฐานในชุมชนที่จัดให้มีลักษณะเอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจะเอาใจใส่ในการสนับสนุนการให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
  • เป็นที่ที่รองรับมารดาหลังจากกลับบ้าน โดยมีการสนับสนุนที่เป็นระบบในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ระยะแรก เน้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และการคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน ซึ่งได้รับการยอมรับจากชุมชนและเข้าถึงได้ง่าย
  • การสนับสนุนอาจจะมีการจัดการให้นมลูกเหมาะสมกับช่วงอายุของทารก ความถี่ในการให้นม เวลาที่ควรจะเริ่มอาหารเสริม และการคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องหลังหกเดือน
  • มีการสนับสนุนมารดาจากแม่สู่แม่หรือในลักษณะคล้ายคลึงกันอยู่ในชุมชน
  • ไม่มีการบริการ การจัดร้านจำหน่าย หรือเผยแพร่ในสิ่งที่ขัดต่อหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยอาหารทารกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  • องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาและครอบครัวเพื่อให้ทารกได้รับอาหารที่ดีที่สุด โดยอาจจะสร้าง ?กลุ่มรณรงค์เพื่อนมแม่หรือกลุ่มพิทักษ์นมแม่ในชุมชน? จากผู้นำในชุมชนหรือร่วมมือกับสถานประกอบการจัดสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

เมื่อไม่มีกลุ่มสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมให้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

น้องหลับ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? -หากในชุมชนไม่มีกลุ่มสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมให้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก่อนมารดาจะกลับบ้าน ควร

  • อภิปรายกับครอบครัวถึงสิ่งที่ช่วยสนับสนุนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยหากเป็นไปได้ ควรพูดกับสมาชิกในครอบครัวว่าจะช่วยอะไรได้บ้างเมื่อมารดากลับบ้าน
  • ได้รับชื่อของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลหรือคลินิกนมแม่ที่มารดาจะขอคำปรึกษาได้ และควรมีการนัดมารดาและทารกกลับมาในสัปดาห์เพื่อติดตามและสังเกตการให้นมบุตร และควรมีคลินิกที่พร้อมเปิดให้มารดามาปรึกษาได้ตลอดเวลาหากพบปัญหาหรือความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ในการนัดตรวจหลังคลอดที่หกสัปดาห์ มารดาควรนำทารกมาด้วยเพื่อทารกจะได้รับการประเมินสุขภาพและได้รับการติดตามด้วย
  • ย้ำเตือนมารดาถึงประเด็นสำคัญในการให้ลูกกินนมแม่
  • การจดบันทึกหรือพิมพ์เอกสารเพื่อเตือนความทรงจำให้กับมารดาในประเด็นสำคัญต่างๆ อาจจะเป็นประโยชน์ โดยเอกสารนี้ไม่ควรเป็นของบริษัทนมผสม
  • ขอเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมารดาไว้เพื่อโทรศัพท์สอบถามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาเป็นอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลให้บุคลากรได้เรียนรู้หลังมารดากลับบ้าน

-บางโรงพยาบาลอาจจะจัดเป็นคลินิกสำหรับให้นมแม่ที่มารดาสามารถมาให้นมแม่ เก็บน้ำนมหรือรับคำปรึกษาอื่นๆ ได้เมื่อมารดามีความยากลำบากในการให้นมลูก

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การให้การสนับสนุนมารดาจากแม่สู่แม่

 

 

 

content_69237_27060312

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? -การสนับสนุนมารดาจากแม่สู่แม่ใช้ในชุมชน โดยมารดาที่มีประสบการณ์จะแบ่งบันความรู้และทักษะให้กับคุณแม่คนใหม่ โดยอาจเป็นตัวต่อตัว หรือเป็นกลุ่ม ควรติดต่อมารดาที่มีประสบการณ์และมีจิตอาสาโดยขอเบอร์โทรศัพท์และให้เบอร์ติดต่อนี้กับคุณแม่มือใหม่ในกรณีที่มีความต้องการจะขอคำปรึกษา

-การจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนมารดาจากแม่สู่แม่ อาจจะเริ่มต้นจากกลุ่มมารดาที่มีจิตอาสาเพียงไม่กี่คนก่อนหรืออาจจะร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ในชุมชนก็ได้ โดยเมื่อเริ่มทำกลุ่มไปแล้ว มารดาอาสาสมัครจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอาจจัดกลุ่มมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันร่วมด้วยก็ได้

-การช่วยเหลือโดยมารดาที่มีจิตอาสาจะง่ายที่จะติดต่อและไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมารดาที่มีประสบการณ์จะพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือคุณแม่มือใหม่ที่มีความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตลอดเวลา

-ในกลุ่มการสนับสนุนมารดาจากแม่สู่แม่

  • สร้างความพร้อมของความช่วยเหลือในชุมชน
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมการช่วยเหลือเกื้อกูลกันจากญาติ เพื่อน และเพื่อนบ้าน
  • ทำให้กิจกรรมการให้นมและดูแลลูกเป็นกิจกรรมปกติมากกว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้โดยบุคลากรทางการแพทย์
  • กิจกรรมกลุ่มที่ทำให้เกิดการช่วยเหลือและการสนับสนุนโดยมารดาที่มีประสบการณ์
  • มารดาจะรู้สึกมั่นใจและมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
  • มารดาที่ตั้งครรภ์หรือมารดาที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถเข้าร่วมกลุ่มได้
  • มารดาสามารถให้ความช่วยเหลือกันนอกเวลาการจัดกิจกรรมกลุ่มซึ่งจะช่วยสร้างความเป็นเพื่อนกันให้มากขึ้นได้ในชุมชน

-บางกลุ่มของกลุ่มสนับสนุนมารดาจากแม่สู่แม่อาจเป็นเครือข่ายร่วมกับชุมชนอื่นในระดับเขต หรือเครือข่ายในระดับประเทศ ซึ่งอาจมีส่งสนับสนุนเรื่องการจัดอบรม เอกสารหรือการบริการอื่นๆ และอาจทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล โดยมารดาที่มีประสบการณ์อาจจะได้รับการเชิญจากบุคลากรทางการแพทย์ในการไปเยี่ยมหอผู้ป่วยหลังคลอดหรือคลินิกฝากครรภ์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ แนะนำตนเอง และสร้างความคุ้นเคยกับคุณแม่คนใหม่ด้วย

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การติดตามและช่วยเหลือมารดาหลังกลับบ้าน(ตอนที่ 2)

pump1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

บุคลากรทางการแพทย์ในชุมชนและการให้บริการปฐมภูมิ

-เมื่อใดก็ตามที่บุคลากรทางการแพทย์ได้พบกับมารดาและทารก ควรให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการดูแลทารก โดยหากไม่สามารถจัดการได้เอง อาจส่งต่อให้ผู้ช่วยเหลือในชุมชนหรือผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแลต่อได้

-บุคลากรทางการแพทย์ในชุมชนจะใกล้ชิดกับมารดาและครอบครัวมากกว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่โรงพยาบาล และอาจมีเวลาที่จะให้การดูแลมารดาและครอบครัวมากกว่า จึงควรมีการอบรมและสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ในชุมชนได้มีความรู้ ทักษะในการช่วยเหลือการให้นมบุตรและการดูแลทารกด้วย

-ศูนย์สุขภาพชุมชนอาจจะตั้ง ?คลินิกนมแม่? สำหรับช่วยให้มารดาสามารถเข้าถึงการบริการง่ายกว่าการรอนัดขอโรงพยาบาล โดยจะจัดรวมกลุ่มมารดาเพื่อแบ่งเป็นประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในลักษณะ ?กลุ่มนมแม่? หรือ ?อาสาสมัครนมแม่? เพื่อช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

-บุคลากรทางการแพทย์อาจจะร่วมกับชุมชนก่อตั้ง ?ชุมชนนมแม่? ซึ่งเป็นชุมชนตัวอย่างในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน โดยหลังจากนั้นจึงมีการเริ่มอาหารเสริม และคงให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปจนครบสองปีหรือนานกว่านั้น

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การติดตามและช่วยเหลือมารดาหลังกลับบ้าน(ตอนที่ 1)

pregnant8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ครอบครัวและเพื่อน

-โดยทั่วไป ครอบครัวและเพื่อนเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนที่ปฏิบัติไม่ได้ก็มักถูกรบกวนจากการให้อาหารเสริมอื่นๆ จากคนใกล้ชิดเหล่านี้เช่นกัน

-มารดาที่ใช้อาหารอื่นทดแทนนมแม่ก็จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนด้วย เช่นในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีจำเป็นต้องได้รับอาหารอื่นทดแทนนมแม่หรือในกรณีที่เลือกที่จะให้นมแม่อย่างเดียวต้องไม่ควรได้รับการให้อาหารอื่นผสมสลับกับนมแม่ เพราะจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก

หนังสืออ้างอิง
1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. 2009

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)