การให้ยาระงับความรู้สึกกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

101019213

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การให้ยาระงับความรู้สึกกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การที่มารดาได้รับการให้การระงับความรู้สึกด้วยวิธี epidural anesthesia มีความเสี่ยงต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นเป็น 1.26 เท่า1 มีผลต่อการให้นมลูกของมารดาในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอดและมีโอกาสที่มารดาจะหยุดการให้นมแม่ใน 24 สัปดาห์แรกสูงกว่า2 ขณะที่การให้ยาแก้ปวดเชื่อว่ามีผลต่อพฤติกรรมทารกในการดูดนม3

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Dozier AM, Howard CR, Brownell EA, et al. Labor Epidural Anesthesia, Obstetric Factors and Breastfeeding Cessation. Matern Child Health J 2012.

2.??????????? Torvaldsen S, Roberts CL, Simpson JM, Thompson JF, Ellwood DA. Intrapartum epidural analgesia and breastfeeding: a prospective cohort study. Int Breastfeed J 2006;1:24.

3.??????????? Szabo AL. Review article: Intrapartum neuraxial analgesia and breastfeeding outcomes: limitations of current knowledge. Anesth Analg 2013;116:399-405.

 

 

 

 

วิธีการคลอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

obgyn5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?วิธีการคลอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาว่า การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศและการผ่าตัดคลอดมีผลในทางลบต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1-3 มารดาที่ผ่าตัดคลอดต้องการการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นมลูกมากกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด4 และมารดาที่ผ่าตัดคลอดมักมีอาการปวดแผลมากกว่าซึ่งทำให้การให้นมแม่ได้น้อยกว่า 6 ครั้งใน 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งจะทำให้มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5 อย่างไรก็ตาม เมื่อสามารถเริ่มให้นมลูกได้แล้ววิธีการคลอดพบว่าไม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1,6,7

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

2.??????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

3.??????????? Perez-Rios N, Ramos-Valencia G, Ortiz AP. Cesarean delivery as a barrier for breastfeeding initiation: the Puerto Rican experience. J Hum Lact 2008;24:293-302.

4.??????????? Cakmak H, Kuguoglu S. Comparison of the breastfeeding patterns of mothers who delivered their babies per vagina and via cesarean section: an observational study using the LATCH breastfeeding charting system. Int J Nurs Stud 2007;44:1128-37.

5.??????????? Woods AB, Crist B, Kowalewski S, Carroll J, Warren J, Robertson J. A cross-sectional analysis of the effect of patient-controlled epidural analgesia versus patient controlled analgesia on postcesarean pain and breastfeeding. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2012;41:339-46.

6.??????????? Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.

7.??????????? Cernadas JM, Noceda G, Barrera L, Martinez AM, Garsd A. Maternal and perinatal factors influencing the duration of exclusive breastfeeding during the first 6 months of life. J Hum Lact 2003;19:136-44.

 

 

 

 

ดัชนีมวลกายกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

01_991

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ดัชนีมวลกาย มีการศึกษาว่า สตรีที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์สูงมีผลลบต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 และในมารดาที่ดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์หรืออยู่ในเกณฑ์อ้วนยังมีอัตราการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่าในมารดาที่มีดัชนีมวลกายปกติ2 ในมารดาที่มีภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากระหว่างการตั้งครรภ์ที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่า อาจเนื่องจากส่วนหนึ่งมารดาเหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอดและการติดเชื้อหลังคลอดสูงกว่าด้วย3-5 ซึ่งการมีการผ่าตัดคลอดมารดาจะเริ่มให้นมลูกได้ช้ากว่า มีการเคลื่อนไหวหลังคลอดได้น้อยกว่าเนื่องจากในระหว่างการผ่าตัดคลอดมักได้รับยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง แต่หากมีสามี ญาติหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยสนับสนุนอาจลดผลกระทบของการผ่าตัดคลอดต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมได้

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Zhu P, Hao J, Jiang X, Huang K, Tao F. New Insight into Onset of Lactation: Mediating the Negative Effect of Multiple Perinatal Biopsychosocial Stress on Breastfeeding Duration. Breastfeed Med 2012.

2.??????????? Thompson LA, Zhang S, Black E, et al. The Association of Maternal Pre-pregnancy Body Mass Index with Breastfeeding Initiation. Matern Child Health J 2012.

3.??????????? Al-Kubaisy W, Al-Rubaey M, Al-Naggar RA, Karim B, Mohd Noor NA. Maternal obesity and its relation with the cesarean section: a hospital based cross sectional study in Iraq. BMC Pregnancy Childbirth 2014;14:235.

4.??????????? Graham LE, Brunner Huber LR, Thompson ME, Ersek JL. Does amount of weight gain during pregnancy modify the association between obesity and cesarean section delivery? Birth 2014;41:93-9.

5.??????????? Leth RA, Uldbjerg N, Norgaard M, Moller JK, Thomsen RW. Obesity, diabetes, and the risk of infections diagnosed in hospital and post-discharge infections after cesarean section: a prospective cohort study. Acta Obstet Gynecol Scand 2011;90:501-9.

 

 

 

ลำดับครรภ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

01_991

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ลำดับครรภ์ ครรภ์แรกมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 น่าจะเนื่องจากการครรภ์แรกมารดายังขาดประสบการณ์ในการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาอาจเกิดความวิตกกังวล ความกลัว และความเครียดในการคลอดบุตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลไกออกซิโตซินและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับมารดาที่เป็นครรภ์หลัง มารดาจะทราบขั้นตอนการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่มีประสบการณ์ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ก่อนนั้นเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งเช่นกันที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเอาใจใส่ และดูแลอย่างใกล้ชิด สร้างความเชื่อมั่นให้กับมารดาว่าสามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาเหล่านี้ประสบความสำเร็จได้

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Narayan S, Natarajan N, Bawa KS. Maternal and neonatal factors adversely affecting breastfeeding in the perinatal period. Medical Journal Armed Forces India 2005;61:216-9.

 

 

 

อายุของมารดากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?อายุของมารดา ปัจจัยเรื่องอายุมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาว่ามารดาอายุน้อยจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่ามารดาที่อายุมากขึ้น1-3 ซึ่งอาจเป็นเพราะมารดาที่อายุมากขึ้นน่ามีความรับผิดชอบในการดูแลทารกมากกว่า มีอาชีพ และเศรษฐานะมั่งคงกว่า ข้อมูลของอายุน้อยบางการศึกษาใช้เกณฑ์อายุที่น้อยกว่า 20-21 ปี2,4 บางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 26 ปี3 และบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 30 ปี1 เกณฑ์อายุที่แตกต่างกันน่าจะเป็นผลมาจากลักษณะวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของแต่ละสังคมในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม การศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในมารดาวัยรุ่นที่คลอดบุตรปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อนพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในมารดาวัยรุ่นไม่แตกต่างมารดาที่อายุมากกว่า 20 ปี5 ซึ่งแสดงถึงอาจมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเป็นปัจจัยที่รบกวนผลกระทบของอายุต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมด้วย

จากข้อมูลเหล่านี้น่าจะแสดงให้เห็นว่า อายุของมารดาแม้มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน แต่การที่มารดาตั้งใจ เอาใจใส่และร่วมมือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และแก้ปัญหาในปัจจัยอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจไม่แตกต่างกัน

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Zobbi VF, Calistri D, Consonni D, Nordio F, Costantini W, Mauri PA. Breastfeeding: validation of a reduced Breastfeeding Assessment Score in a group of Italian women. J Clin Nurs 2011;20:2509-18.

2.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

3.???????? Narayan S, Natarajan N, Bawa KS. Maternal and neonatal factors adversely affecting breastfeeding in the perinatal period. Medical Journal Armed Forces India 2005;61:216-9.

4.???????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

5.???????? Puapornpong p, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014.(in press)

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)