ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

latch3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้ทำนายมารดาที่ความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงนมแม่ในระยะ 7-10 วัน1 และใช้ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาทำเป็นแบบประเมินความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเดือนแรกหลังคลอด2 นอกจากนี้ การมีประสบการณ์การได้เห็นมารดาท่านอื่นให้นมแม่ยังมีผลบวกต่อทัศนคติในการเริ่มต้นให้นมแม่ด้วย3

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. J Pediatr 2002;141:659-64.

2.??????????? Mortazavi F, Mousavi SA, Chaman R, Khosravi A. Validation of the breastfeeding experience scale in a sample of Iranian mothers. Int J Pediatr 2014;2014:608657.

3.??????????? Hoddinott P, Kroll T, Raja A, Lee AJ. Seeing other women breastfeed: how vicarious experience relates to breastfeeding intention and behaviour. Matern Child Nutr 2010;6:134-46.

 

 

การเข้าเต้ากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

latch on

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การเข้าเต้า (latch on) กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่?การเข้าเต้าเป็นกระบวนการที่จัดการให้ปากทารกเข้าประกบกับเต้านม มีการคาบหัวนมและอมลานนม การเข้าเต้าที่ดีจะส่งผลต่อการดูดและกลืนน้ำนมอย่างเป็นจังหวะได้เหมาะสม มีการศึกษาพบว่าในมารดาที่คลอดบุตรคนแรกมีการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสมถึงร้อยละ 30 ดังนั้น จึงมีการใช้การเข้าเต้าเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ต่างๆ ในการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และใช้บอกความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 การประเมินการเข้าเต้าโดยใช้คะแนนการเข้าเต้า (latch score) นอกจากจะช่วยในการทำนายมารดาที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์จะได้วางแผนการติดตามเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดแล้ว ยังอาจช่วยทำนายระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.

2.??????????? Tornese G, Ronfani L, Pavan C, Demarini S, Monasta L, Davanzo R. Does the LATCH score assessed in the first 24 hours after delivery predict non-exclusive breastfeeding at hospital discharge? Breastfeed Med 2012;7:423-30.

 

 

 

 

การเริ่มให้นมลูกเมื่อแรกคลอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

step4_7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การเริ่มให้นมลูกกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาว่า การเริ่มให้นมลูกตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะช่วยกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินที่มีผลต่อการสร้างน้ำนมได้ดี และยังกระตุ้นออกซิโตซินที่จะช่วยในการหลั่งของน้ำนม การหดรัดตัวของมดลูกซึ่งลดการเสียเลือดหลังคลอด หากมีการเริ่มให้นมลูกช้ากว่า 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอดจะมีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

 

 

การให้ผิวของลูกสัมผัสผิวของแม่เมื่อแรกคลอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

20140131165351

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การให้ผิวของลูกสัมผัสผิวของแม่เมื่อแรกคลอด (skin-to-skin contact) กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่?มีการศึกษาว่า การให้ผิวของลูกสัมผัสผิวของแม่เมื่อแรกคลอด นอกจากจะช่วยให้ทารกเริ่มการกินนมแม่ในระยะแรกและช่วยให้สายสัมพันธ์ของมารดาและทารกดีขึ้น1,2 ยังมีผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 1-4 เดือนหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนสูงขึ้นด้วย3

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Srivastava S, Gupta A, Bhatnagar A, Dutta S. Effect of very early skin to skin contact on success at breastfeeding and preventing early hypothermia in neonates. Indian J Public Health 2014;58:22-6.

2.??????????? Mahmood I, Jamal M, Khan N. Effect of mother-infant early skin-to-skin contact on breastfeeding status: a randomized controlled trial. J Coll Physicians Surg Pak 2011;21:601-5.

3.??????????? Chiou ST, Chen LC, Yeh H, Wu SR, Chien LY. Early skin-to-skin contact, rooming-in, and breastfeeding: a comparison of the 2004 and 2011 National Surveys in Taiwan. Birth 2014;41:33-8.

 

 

 

การเจ็บหัวนมและเต้านมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

CIMG3154

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การเจ็บหัวนมและเต้านมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาว่า การมีการเจ็บหัวนมจะมีผลต่อการสร้างน้ำนมที่ลดลง1 มารดาที่มีอาการเจ็บเต้านมจะสัมพันธ์กับการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก2-4 และมีความสัมพันธ์กับการเริ่มการใช้นมผสมหรือขวดนมมากขึ้น5 แต่สิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะยาว6,7 สาเหตุของการเจ็บหัวนมมักเกิดจากการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม การจัดที่ให้นมลูกที่ไม่ถูกต้อง ทารกมีภาวะลิ้นติด และความผิดปกติในการดูดนมของทารก8 ซึ่งการให้ความรู้ สอนให้มารดาปฏิบัติ และการสังเกตมารดาขณะให้นมลูกจะช่วยบอกถึงสาเหตุ ลดความกลัวและความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บหัวนมและเต้านมได้9

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? McClellan HL, Hepworth AR, Kent JC, et al. Breastfeeding frequency, milk volume, and duration in mother-infant dyads with persistent nipple pain. Breastfeed Med 2012;7:275-81.

2.??????????? Kvist LJ, Larsson BW, Hall-Lord ML. A grounded theory study of Swedish women’s experiences of inflammatory symptoms of the breast during breast feeding. Midwifery 2006;22:137-46.

3.??????????? Walker M. Conquering common breast-feeding problems. J Perinat Neonatal Nurs 2008;22:267-74.

4.??????????? McClellan HL, Hepworth AR, Garbin CP, et al. Nipple pain during breastfeeding with or without visible trauma. J Hum Lact 2012;28:511-21.

5.??????????? Indraccolo U, Bracalente M, Di Iorio R, Indraccolo SR. Pain and breastfeeding: a prospective observational study. Clin Exp Obstet Gynecol 2012;39:454-7.

6.??????????? Hector D, King L, Webb K, Heywood P. Factors affecting breastfeeding practices: applying a conceptual framework. N S W Public Health Bull 2005;16:52-5.

7.??????????? DiGirolamo A, Thompson N, Martorell R, Fein S, Grummer-Strawn L. Intention or experience? Predictors of continued breastfeeding. Health Educ Behav 2005;32:208-26.

8.??????????? Tait P. Nipple pain in breastfeeding women: causes, treatment, and prevention strategies. J Midwifery Womens Health 2000;45:212-5.

9.??????????? Thorley V. Latch and the fear response: overcoming an obstacle to successful breastfeeding. Breastfeed Rev 2005;13:9-11.

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)