การให้น้ำหรือชาสมุนไพรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

01_22

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การให้น้ำหรือเครื่องดื่มชาสมุนไพร การให้น้ำหรือเครื่องดื่มชนิดต่างๆ กับทารกแรกเกิดเป็นวัฒนธรรมหรือความเชื่อที่มีในแต่ละประเทศ ทารกที่กินน้ำหรือชาสมุนไพรจะทำให้ทารกอิ่มและกินนมแม่ได้น้อยลง ทำให้การกระตุ้นน้ำนมแม่ลดลงส่งผลต่อการลดลงของปริมาณน้ำนมแม่ด้วย และน้ำหรือชาสมุนไพรจะมีคุณค่าทางอาหารและพลังงานน้อยเมื่อเทียบกับนมแม่จึงมีผลต่อเจริญเติบโตของทารกได้ มีการศึกษาพบว่า ในทารกที่ได้รับน้ำหรือชาสมุนไพรจะมีโอกาสที่ทารกจะได้รับนมชนิดอื่นเพิ่มขึ้นสามเท่า ซึ่งส่งผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวแต่ไม่พบว่ามีผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 หากมารดายังให้ลูกกินนมแม่เป็นหลักอยู่

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Giugliani ERJ, do Esp?rito Santo LC, de Oliveira LD, Aerts D. Intake of water, herbal teas and non-breast milks during the first month of life: Associated factors and impact on breastfeeding duration. Early Human Development 2008;84:305-10.

 

 

 

การใช้นมผสมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

images1111

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การใช้นมผสม การให้ทารกกินนมผสม ทารกจะลดการดูดนมแม่ลง ซึ่งจะทำให้การกระตุ้นการสร้างน้ำนมลดลง ยิ่งมารดาให้นมผสมบ่อยครั้งมาก ทารกยิ่งมีโอกาสดูดกระตุ้นนมแม่ยิ่งน้อยลง น้ำนมมารดาจะลดลง และอาจทำให้มารดาต้องหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่า ระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะสั้นลงหากมารดามีการใช้นมผสม1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

 

 

 

การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

pillss

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมน ในระยะหลังคลอดจะมีการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจากการคลอดรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เกิดไหลของน้ำนม ดังนั้นเมื่อมีการใช้ฮอร์โมนในระยะแรกหลังคลอดจึงกระทบต่อกระบวนการนี้ การเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโดยใช้ในระยะแรกหลังคลอดโดยเฉพาะในระยะที่มารดายังอยู่ที่โรงพยาบาลก่อนการอนุญาตให้กลับบ้านอาจส่งผลต่อการสร้างปริมาณน้ำนม1,2 การคุมกำเนิดหลังคลอดมักเริ่มหลังจากการนัดติดตามหลังคลอดในช่วง 4-6 สัปดาห์ แต่ในสภาวะที่มารดามีความเสี่ยงสูงที่จำเป็นต้องรีบให้การคุมกำเนิด และในมารดาที่การนัดติดตามดูแลหลังคลอดทำได้ยากลำบากหรือมารดาอาจไม่ให้ความร่วมมือ การให้การคุมกำเนิดโดยการหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนควรเป็นทางเลือกแรก หากไม่สามารถทำได้ ควรการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนหลังจากที่น้ำนมมารดามาดีแล้ว เนื่องจากจะมีผลกระทบน้อยมาก

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Kapp N, Curtis KM. Combined oral contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:10-6.

2.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

 

 

 

 

การให้ความรู้กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

photo11-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีผลสนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น1,2 โดยรูปแบบความรู้สามารถให้ได้ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ในลักษณะของรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) การให้ฝึกปฏิบัติ (hand on) การให้แก้โจทย์ปัญหาหรือการให้แสดงบทบาท (role-play) รูปแบบของการจัดการให้ความรู้ในลักษณะที่เป็นรูปแบบการพูดคุยต่อหน้า (face to face) ที่มีหลากหลายรูปแบบระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดจะให้ผลดีในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีกว่าการจัดรูปแบบการสอนเพียงอย่างเดียว3

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

2.???????????? Noel-Weiss J, Rupp A, Cragg B, Bassett V, Woodend AK. Randomized controlled trial to determine effects of prenatal breastfeeding workshop on maternal breastfeeding self-efficacy and breastfeeding duration. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:616-24.

3.???????????? Meedya S, Fahy K, Kable A. Factors that positively influence breastfeeding duration to 6 months: a literature review. Women Birth 2010;23:135-45.

 

 

 

การสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

photo7-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์ จะช่วยสนับสนุนมารดาและครอบครัว โดยช่วยให้มารดาและครอบครัวมีความรู้ มีทักษะ และมีที่ปรึกษาเมื่อพบปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาว่า การสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์จะมีผลดีต่อความสำเร็จและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Britton C, McCormick FM, Renfrew MJ, Wade A, King SE. Support for breastfeeding mothers. Cochrane Database Syst Rev 2007:CD001141.

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)