การลาพักหลังคลอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Mom3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การลาพักหลังคลอด การที่มารดาได้ลาพักหลังคลอด มารดาจะมีโอกาสได้อยู่ดูแลทารกและสามารถให้นมทารกได้อย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาว่า มารดาที่ลาพักหลังคลอดได้นานจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า1 ในประเทศไทยการลาพักหลังคลอดในข้าราชการและพนักงานของรัฐ มารดาจะลาคลอดได้ 90 วันหรือสามเดือน ซึ่งหลังสามเดือนเมื่อมารดาต้องกลับไปทำงานจึงพบเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2,3?แต่ในประเทศยุโรปบางประเทศได้แก่ สโลวาเนียให้ลาคลอดได้หนึ่งปีโดยได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน สวีเดน นอร์เวย์จะเปิดโอกาสให้มารดาลาพักหลังคลอดถึงหนึ่งปีครึ่งหรือมากกว่านั้นเพื่อเลี้ยงดูทารกโดยมารดายังได้รับเงินเดือนโดยรวมราวร้อยละ 77-86 ต่อปี สำหรับในเอเชีย ประเทศเวียดนามออกกฎหมายให้สตรีลาพักหลังคลอดได้ถึงหกเดือน ซึ่งจะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนให้สูงขึ้นได้

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Skafida V. Juggling work and motherhood: the impact of employment and maternity leave on breastfeeding duration: a survival analysis on Growing Up in Scotland data. Matern Child Health J 2012;16:519-27.

2.???????????? Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health sci 2009;16:116-23.

3.???????????? Plewma P. Prevalence and factors influencing exclusive breast-feeding in Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 3:S94-9.

 

 

 

การกลับเข้าทำงานของมารดากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

w33

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การกลับเข้าทำงานของมารดา การที่มารดาต้องกลับไปทำงาน ทำให้มีโอกาสที่จะต้องแยกจากทารก หากมารดาไม่ได้รับการแนะนำและฝึกปฏิบัติในการบีบน้ำนมและมีความรู้ในเรื่องการเก็บรักษาน้ำนม ร่วมกับต้องมีความช่วยเหลือของครอบครัวในผู้ที่ช่วยดูแลทารก จะมีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 และมีผลลบต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2 ในการศึกษาในประเทศไทยพบเป็นสาเหตุสำคัญที่พบบ่อยที่สุดในการหยุดกินนมแม่3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.

2.???????????? Ladomenou F, Kafatos A, Galanakis E. Risk factors related to intention to breastfeed, early weaning and suboptimal duration of breastfeeding. Acta Paediatr 2007;96:1441-4.

3.???????????? Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health sci 2009;16:116-23.

4.???????????? Plewma P. Prevalence and factors influencing exclusive breast-feeding in Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 3:S94-9.

 

 

การให้ทารกนอนร่วมเตียงกับมารดากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การให้ทารกนอนร่วมเตียงกับมารดา มารดาจะสะดวกและสามารถจะให้นมได้ตามความต้องการของทารก ในทารกที่นอนร่วมเตียงเดียวกับมารดาพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 และพบว่ามีการให้นมแม่ช่วงกลางคืนมากกว่าทารกนอนแยกเตียงสามเท่า2

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Tan KL. Factors associated with exclusive breastfeeding among infants under six months of age in peninsular malaysia. Int Breastfeed J 2011;6:2.

2.???????????? McCoy RC, Hunt CE, Lesko SM, et al. Frequency of bed sharing and its relationship to breastfeeding. J Dev Behav Pediatr 2004;25:141-9.

 

 

 

โรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วันแม่ 48 (3)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?โรงพยาบาลที่ปฏิบัติตามเกณฑ์ของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก (Baby-Friendly Hospital Initiative) หรือโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว โรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เหล่านี้ จะมีการปฏิบัติตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Ten Steps to Successful Breastfeeding) ซึ่งการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัตินี้ส่งผลดีต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 การเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2-5

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Declercq E, Labbok MH, Sakala C, O’Hara M. Hospital practices and women’s likelihood of fulfilling their intention to exclusively breastfeed. Am J Public Health 2009;99:929-35.

2.???????????? Hawke BA, Dennison BA, Hisgen S. Improving Hospital Breastfeeding Policies in New York State: Development of the Model Hospital Breastfeeding Policy. Breastfeed Med 2012.

3.???????????? Goodman K, DiFrisco E. Achieving baby-friendly designation: step-by-step. MCN Am J Matern Child Nurs 2012;37:146-52; quiz 52-4.

4.???????????? Labbok MH. Global baby-friendly hospital initiative monitoring data: update and discussion. Breastfeed Med 2012;7:210-22.

5.???????????? Venancio SI, Saldiva SR, Escuder MM, Giugliani ER. The Baby-Friendly Hospital Initiative shows positive effects on breastfeeding indicators in Brazil. J Epidemiol Community Health 2012;66:914-8.

 

 

 

การให้ทารกอยู่กับมารดาตลอด 24 ชั่วโมงหลังคลอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

101019213

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การให้ทารกอยู่กับมารดาตลอด 24 ชั่วโมงหลังคลอด มารดาและทารกจะมีโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและทารก มารดาจะสามารถสังเกตได้ถึงสัญญาณของความต้องการในการกินนมของทารก ทำให้สามารถให้นมทารกได้ตามความต้องการ โดยทั่วไปทารกจะกินนมวันละ 8-12 ครั้ง ซึ่งหากมารดาสังเกตและให้นมได้ตามความต้องการของทารก ทารกจะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้อย่างเหมาะสม มีการศึกษาว่า การให้ทารกอยู่กับมารดาตลอด 24 ชั่วโมงมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น 5 เท่า (95%CI 1.5-16.9)1 ช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2 เพิ่มโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน3 และช่วยในความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น4

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Cotto CW, Garcia Fragoso L. Rooming-in improves breastfeeding initiation rates in a community hospital in Puerto Rico. Bol Asoc Med P R 2010;102:30-2.

2.???????????? England G. Rooming-in promotes breastfeeding. Nurs N Z 2006;12:3.

3.???????????? Chiou ST, Chen LC, Yeh H, Wu SR, Chien LY. Early skin-to-skin contact, rooming-in, and breastfeeding: a comparison of the 2004 and 2011 National Surveys in Taiwan. Birth 2014;41:33-8.

4.???????????? Rapley G. Keeping mothers and babies together–breastfeeding and bonding. RCM Midwives 2002;5:332-4.

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)