นมแม่กับส่วนประกอบของนมแม่4

58887656

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?สารอาหารที่มีมากในนมแม่ ได้แก่ แลคโตส ไขมันและโปรตีนปริมาณ ส่วนสารอาหารที่มีปริมาณน้อยในนมแม่ ได้แก่ วิตามินและแร่ธาตุ

“ปริมาณแลคโตส? โปรตีน และไขมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาหารที่มารดารับประทาน แต่ชนิดของอาหารที่มารดารับประทานอาจมีผลต่อสัดส่วนของชนิดของโปรตีนและไขมันในน้ำนม สำหรับวิตามินและแร่ธาตุ ปริมาณในนมแม่ของวิตามินและแร่ธาตุส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับอาหารที่มารดารับประทานและปริมาณสารอาหารที่สะสมอยู่ในร่างกายมารดา โดยวิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินบีสาม วิตามินบีหก วิตามินบีสิบสอง วิตามินซี วิตามินดี วิตามินเคและไอโอดีน หากมารดามีการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ การเสริมวิตามินและแร่ธาตุอาจมีความจำเป็น ส่วนโฟเลตและแร่ธาตุอื่นๆ ไม่ขึ้นอยู่กับอาหารของมารดาที่รับประทาน”

 

นมแม่กับส่วนประกอบของนมแม่3

58887656

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ?“มารดาที่ให้นมบุตรต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500-600 กิโลแคลอรี แต่หากร่างกายมารดารับประทานอาหารที่ให้พลังงานไม่เพียงพอในการสร้างน้ำนม ร่างกายจะดึงพลังงานที่สะสมมาใช้เพื่อให้มีการผลิตน้ำนมที่เพียงพอ ดังนั้น หากมารดาอยู่ในสถานการณ์ที่มีภาวะฉุกเฉินหรือมีการขาดแคลนอาหารไม่รุนแรงและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน มารดาจะยังคงมีน้ำนมให้ทารกได้”

 

 

นมแม่กับส่วนประกอบของนมแม่2

58887656

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ช่วงระยะหลังคลอด นมแม่ในระยะแรกจะเป็นหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลือง ซึ่งอุดมไปด้านสารประกอบที่ช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันกับทารก และสารที่ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการ โดยหัวน้ำนมจะมีอยู่ในช่วง 1-3 วันหลังคลอด จากนั้นจะเข้าสู่ระยะการสร้างน้ำนมระยะที่สอง โดยน้ำนมจะเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำนมระยะเปลี่ยนผ่าน โดยระยะนี้จะอยู่ช่วงวันที่ 3-14 หลังคลอด และเปลี่ยนเป็นน้ำนมระยะสมบูรณ์ ?เดิมมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการงดให้น้ำนมเหลือง ซึ่งทำให้ทารกขาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากกับชีวิตของทารกและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความเจ็บป่วยหลายชนิด

 

นมแม่กับส่วนประกอบของนมแม่1

58887656

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? “ความพิเศษของการสร้างน้ำนมและส่วนประกอบของน้ำนมของนมแม่คือ การมีความสามารถปรับให้เหมาะสมกับทารก โดยส่วนประกอบของนมแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุครรภ์ของมารดาที่คลอดบุตร การให้นมขณะเริ่มต้นหรือใกล้จะให้นมหมดเต้า ปริมาณน้ำนมที่มีมากหรือน้อย จำนวนครั้งและการกินนมของทารก และช่วงเวลาของการให้นมในเวลากลางวันหรือกลางคืน”

 

การขอรับคำปรึกษาของมารดาผ่านอินเตอร์เน็ต2

26401415

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?อีกรูปแบบหนึ่งจะเป็นกลุ่มเปิด คือ การเปิดเป็นกลุ่มที่รับให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางสื่ออินเตอร์เน็ต การขอคำปรึกษาของมารดา มารดาอาจค้นในเครื่องมือค้นหาข้อมูลต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตแล้วเขียนปัญหาสอบถามไว้ในเว็บไซต์ที่เปิดช่องทางให้สื่อสาร วิธีนี้จะให้ความสะดวกกับมารดาในกรณีที่ต้องการสอบถามปัญหาหรือข้อสงสัยต่างๆ ในกรณีที่มารดาขาดผู้ที่เป็นพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษา มารดาสามารถจะเขียนคำถามทิ้งไว้ เจ้าของเว็บไซต์ ผู้ที่มีประสบการณ์หรือผู้ที่มีความรู้จะเข้ามาตอบ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นมีการคัดกรองความน่าเชื่อถือ โดยหากเป็นเว็บไซต์มาตรฐานที่สามารถตรวจสอบชื่อและวุฒิของผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาตอบได้ ข้อมูลที่ได้รับจะมีความน่าเชื่อถือ แต่หากไม่สามารถตรวจสอบได้ มารดาอาจต้องพิจารณาข้อแนะนำด้วยความระมัดระวัง ดังนั้น การขอคำปรึกษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในกลุ่มที่เปิดทั่วไปจำเป็นต้องมีการคัดกรองข้อมูลและการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลเสมอ สำหรับข้อมูลจากแหล่งองค์กรของรัฐบาลที่เป็นทางการและมีข้อมูลสถานที่และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสามารถเลือกนำข้อมูลและข้อแนะนำต่างๆ มาใช้ได้

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)