การเริ่มให้ลูกได้กินนมแม่

31553183

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?กระบวนการของการเริ่มให้ลูกได้กินนมแม่ ควรวางทารกให้ผิวสัมผัสแนบชิดกับมารดาทันทีหลังคลอดนานอย่างน้อย 1 ชั่วโมงและช่วยให้มารดาได้เริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด สิ่งนี้ถือเป็นสิ่งเริ่มต้นที่สำคัญในการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

 

การปฏิบัติระหว่างการคลอดที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_0111

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การปฏิบัติระหว่างการคลอดที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การให้อาหารว่างและน้ำกับมารดาที่มีครรภ์เสี่ยงต่ำในช่วงการคลอดระยะเริ่มต้น การให้อิสระกับมารดาในการเคลื่อนไหวในระหว่างการรอคลอด การให้การสนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์กับมารดาระหว่างการคลอด การใช้ยาระงับความเจ็บปวดเท่าที่จำเป็นหรือเลือกใช้ทางเลือกอื่นในการลดความเจ็บปวด ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น การให้ทารกได้สัมผัสกับมารดาตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด การให้ทารกได้เริ่มดูดนมเร็ว และกระตุ้นดูดนมบ่อยๆ

 

การตรวจเต้านมและหัวนมของมารดาเพื่อส่งเสริมการให้นมลูก

nipple measurement tool1

รูปที่ 1 เครื่องมือที่ใช้วัดความยาวหัวนม

nipple measurement method

รูปที่ 2 วิธีการวัดความยาวหัวนม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การตรวจเต้านมและหัวนมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีการตรวจเต้านมและหัวนม เพื่อคัดกรองความผิดปกติของเต้านม ตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเต้านมที่เตรียมพร้อมสำหรับการให้นม ตรวจก้อนที่เต้านม ตรวจดูแผลผ่าตัดบริเวณเต้านม ตรวจหัวนมบอด ตรวจวัดความยาวหัวนมเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง โดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาจากหลอดฉีดยา ตรวจบริเวณปลายหลอด ขัดบริเวณขอบให้เรียบ แล้วติดแถบวัดเพื่อใช้ในการประเมินความยาวหัวนม1 รูปเครื่องมือที่ใช้วัดความยาวหัวนมและวิธีการวัดความยาวหัวนม แสดงดังรูปที่ 1 และ 2 การตรวจวัดความยาวหัวนมจะมีการตรวจติดตามจนถึงหลังคลอด หากหลังคลอดความยาวหัวนมมารดายังสั้นกว่า 7 มิลลิเมตร จะมีการนัดตรวจติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างใกล้ชิด

หนังสืออ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Paritakul P, Ketsuwan S, Wongin S. Nipple length and its relation to success in breastfeeding. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 1:S1-4.

 

 

 

 

 

การป้องกันการมีน้ำนมมาช้า

breast1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การป้องกันการมีน้ำนมมาช้า ได้แก่ การป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงระหว่างการคลอด การให้การระงับความเจ็บปวดเท่าที่จำเป็นหรือใช้การแพทย์การเลือก การจัดท่าให้ทารกอมหัวนมและลานนมให้เหมาะสม ดูดกระตุ้นน้ำนมบ่อยๆ และดูดจนเกลี้ยงเต้า โดยให้มารดาอยู่ในบรรยากาศผ่อนคลายระหว่างการให้นม

น้ำนมมาช้า

breast organ1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การมีน้ำนมมาช้า หมายถึง การที่น้ำนมเริ่มมาช้าเกิน 72 ชั่วโมงหลังคลอด ปัจจัยเสี่ยงของมารดาและทารกที่ส่งผลต่อการมีน้ำนมมาช้า ได้แก่ มารดาที่คลอดบุตรคนแรก มารดาที่อายุมากกว่า 30 ปี การคลอดที่เนิ่นนาน การได้รับยาแก้ปวดระหว่างการคลอด การผ่าตัดคลอด ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน การบวมของมารดา เบาหวาน การเจ็บหัวนมของมารดา การให้นมทารกไม่บ่อยพอ ความเครียดของมารดา การมีระดับคอร์ติซอลที่สูง น้ำหนักทารกมาก ทารกง่วงซึม และการใช้นมผสมเลี้ยงทารกก่อนการเริ่มมีน้ำนมมา

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)