การทาสีบ้านระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การทาสีบ้าน หากเป็นสีภายในซึ่งมักจะใช้สีน้ำผสมกาวยาง (latex paint) จะค่อนข้างปลอดภัยในการเปลี่ยนสีห้องภายในบ้านระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ควรเปิดให้อากาศถ่ายเทสะดวกระหว่างการทาสีใหม่ๆ การใช้แปรงหรือลูกกลิ้ง การฟุ้งกระจายของสีจะน้อยกว่าการใช้สีสเปรย์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้สีสเปรย์ที่ผสมสาร m-butyl ketone หรือ MBK เนื่องจากเป็นพิษโดยการทำลายระบบประสาทของทารกในมารดาที่ได้รับสารนี้ระหว่างการตั้งครรภ์ได้ สำหรับการใช้สีน้ำมันหรือสีที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว สีน้ำมันส่วนใหญ่จะมีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ และสารตะกั่วในสีเป็นพิษต่อทารก ซึ่งมารดาควรหลีกเลี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์

เอกสารอ้างอิง

  1. Long VE, McMullen PC. Telephone triage for obstetrics and gynecology. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 2010; 48-9.

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์กับเด็กออทิสติก

w51

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดออทิสติกในเด็กมีหลายอย่างทั้งด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิด ? ? ออทิสติกในทารก ได้แก่ การที่มารดาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ โดยมีการศึกษาพบว่า มารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงแรกจนถึง? 26 สัปดาห์ มีความเสี่ยงในการเกิดออทิสติกในทารกเพิ่มขึ้น 1.42 เท่า (95% CI 1.15-1.74)1? ดังนั้น การดูแลและปฏิบัติตัว รับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ก็น่าจะลดความเสี่ยงในการเกิดทารก ? ? ? ?ออทิสติกได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Xiang AH, Wang X, Martinez MP, et al. Association of maternal diabetes with autism in offspring. JAMA 2015;313:1425-34.

 

การสอนทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่บุคลากรทางการแพทย์

1410868496077

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ?ในการเรียนการสอนทักษะให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เบื้องต้นผู้สอนควรมีความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านทักษะ ซึ่งมีทฤษฎีของ Harrow?s instructive modal for psychomotor domain ที่อธิบายไว้ 5 ขั้นตอน คือ

  1. ขั้นเลียนแบบ
  2. ขั้นทำตอบคำบอก
  3. ขั้นทำได้ถูกขั้นตอน
  4. ขั้นทำและนำเสนอได้ด้วยความมั่นใจ
  5. ขั้นทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ

? ? ? ? การสอนทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่บุคลากรทางการแพทย์นั้น เป้าหมายคาดหวังคือ อย่างน้อยควรอยู่ในขั้นทำได้ถูกขั้นตอน ดังนั้น หากมีการฝึกเลียนแบบและทำตอบคำบอกกับหุ่นหัตถการจนสามารถทำได้ถูกขั้นตอน ผลการเรียนรู้เมื่อได้ปฏิบัติจริงจะดีขึ้น1 สำหรับการจะทำได้ถึงขั้นมั่นใจและเป็นธรรมชาตินั้นต้องอาศัยการเก็บเกี่ยวประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญ อย่างไรก็ตาม การประเมินผลและตอบสนองกลับให้แก่ผู้เรียนเป็นระยะและบ่อยๆ จะทำให้การเรียนรู้ทางด้านทักษะของผู้เรียนดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Herrmann-Werner A, Nikendei C, Keifenheim K, et al. “Best practice” skills lab training vs. a “see one, do one” approach in undergraduate medical education: an RCT on students’ long-term ability to perform procedural clinical skills. PLoS One 2013;8:e76354.

 

ความตั้งใจหรือความคาดหวังในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

bf28

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ความตั้งใจหรือความคาดหวังในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญโดยหากมารดามีความตั้งใจหรือความคาดหวังจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลานาน พบว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า1-3 โดยหากมารดาทำสำเร็จมารดาจะรู้สึกพึงพอใจเกินกว่าที่คาดไว้ แต่หากคาดหวังแล้วไม่ประสบความสำเร็จตามความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาจะรู้สึกไม่พึงพอใจในระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3

? ? ? ? ? ? สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในระยะฝากครรภ์จะเป็นตัวทำนายความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่4,5 นอกจากนี้ยังพบว่า ความใส่ใจต่อข้อแนะนำในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน6 ทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประวัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ก่อน และการสนับสนุนจากสามีมีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย7

? ? ? ? ? ? ?ดังนั้น การที่บุคลากรสนับสนุนปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากจะมีผลดีต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว จะทำให้มารดามีความพึงพอใจในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกินกว่าที่คาดไว้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Forster DA, McLachlan HL, Lumley J. Factors associated with breastfeeding at six months postpartum in a group of Australian women. Int Breastfeed J 2006;1:18.
  2. Blyth RJ, Creedy DK, Dennis CL, et al. Breastfeeding duration in an Australian population: the influence of modifiable antenatal factors. J Hum Lact 2004;20:30-8.
  3. Gregory EF, Butz AM, Ghazarian SR, Gross SM, Johnson SB. Met Expectations and Satisfaction with Duration: A Patient-Centered Evaluation of Breastfeeding Outcomes in the Infant Feeding Practices Study II. J Hum Lact 2015.
  4. Insaf TZ, Fortner RT, Pekow P, Dole N, Markenson G, Chasan-Taber L. Prenatal stress, anxiety, and depressive symptoms as predictors of intention to breastfeed among Hispanic women. J Womens Health (Larchmt) 2011;20:1183-92.
  5. Fairlie TG, Gillman MW, Rich-Edwards J. High pregnancy-related anxiety and prenatal depressive symptoms as predictors of intention to breastfeed and breastfeeding initiation. J Womens Health (Larchmt) 2009;18:945-53.
  6. Wen LM, Baur LA, Rissel C, Alperstein G, Simpson JM. Intention to breastfeed and awareness of health recommendations: findings from first-time mothers in southwest Sydney, Australia. Int Breastfeed J 2009;4:9.
  7. Al-Akour NA, Khassawneh MY, Khader YS, Ababneh AA, Haddad AM. Factors affecting intention to breastfeed among Syrian and Jordanian mothers: a comparative cross-sectional study. Int Breastfeed J 2010;5:6.

 

 

การมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

bf51

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและผู้อื่น โดยประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจใช้ทำนายมารดาที่ความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงนมแม่ในระยะ 7-10 วัน1 และใช้มาทำเป็นแบบประเมินความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเดือนแรกหลังคลอดได้2 นอกจากนี้ การมีประสบการณ์การได้เห็นมารดาท่านอื่นให้นมแม่ยังมีผลบวกต่อทัศนคติในการเริ่มต้นให้นมแม่3 และการเล่าประสบการณ์ การแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้แก่มารดามือใหม่ จะมีประโยชน์กับมารดาท่านอื่นด้วย สำหรับมารดาที่ไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วมากกว่ามารดาที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยสามเดือน 3.24 เท่า (95% CI 2.37-4.42)4

เอกสารอ้างอิง

  1. Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. J Pediatr 2002;141:659-64.
  2. Mortazavi F, Mousavi SA, Chaman R, Khosravi A. Validation of the breastfeeding experience scale in a sample of Iranian mothers. Int J Pediatr 2014;2014:608657.
  3. Hoddinott P, Kroll T, Raja A, Lee AJ. Seeing other women breastfeed: how vicarious experience relates to breastfeeding intention and behaviour. Matern Child Nutr 2010;6:134-46.
  4. Bai DL, Fong DY, Tarrant M. Previous breastfeeding experience and duration of any and exclusive breastfeeding among multiparous mothers. Birth 2015;42:70-7.

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)