ทารกเข้าเต้ากินนมเองได้จริงหรือ

4

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????ในระยะแรกหลังคลอด สัญชาตญาณของทารกที่จะเข้าหาเต้าและกินนมเองจะยังมีมาก แต่จะน้อยลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป โดยมีการศึกษาพบว่า ในวันแรกหลังคลอดจากการกินนมแม่ 11 ครั้ง ทารกจะเข้าหาเต้าและกินนมได้เองถึง 10 ครั้ง ในขณะที่ในวันที่หกหลังคลอด จากการกินนมแม่ 12 ครั้ง ทารกจะมีการเข้าหาเต้าและกินนมเองเพียง 2 ครั้ง ดังนั้น เมื่อผ่านระยะหลังคลอดไปนานขึ้น สัญชาตญาณของทารกที่จะเข้าหาเต้าจะลดลง การเข้าเต้าของทารกจึงต้องมีความช่วยเหลือของมารดาร่วมด้วย และเป็นความร่วมมือระหว่างมารดาและทารกในการที่จะช่วยกันเข้าเต้าและกินนมได้ ซึ่งหลังจากอาศัยสัญชาตญาณในระยะแรก การเรียนรู้ถึงการเข้าเต้าที่เหมาะสมสำหรับมารดาและบุตรในแต่คู่จะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้น

? ? ? ? ? ? ?จะเห็นว่า ในทารกที่ขาดโอกาสที่จะเข้าหาเต้าและกินนมได้เองตั้งแต่ระยะแรก สัญชาตญาณของทารกในการเข้าหาเต้าลดลง มารดาและทารกขาดโอกาสที่จะเรียนรู้การเข้าเต้าร่วมกัน การเริ่มการกินนมแม่เมื่อทารกอายุมากขึ้น จึงยากกว่าในระยะแรกหลังคลอด

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

อาการลูกหิว สิ่งจำเป็นที่แม่ต้องสังเกต

IMG_0727

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังคลอด ช่วงแรกจะมีการให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดาเนื้อแนบเนื้อภายใน 30 นาทีแรก และให้ทารกได้อยู่บนอกแม่นานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยพัฒนาการระบบประสาทของทารกและความคุ้นเคยกับเต้านมที่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ โดยหากให้เวลาทารกนานเพียงพอ ทารกจะไขว่คว้าเข้าหาเต้านมและกินนมได้เอง

? ? ? ? ? ? ? ? แต่หลังจากนั้น สิ่งที่แม่จำเป็นต้องสังเกตคือ อาการที่ลูกหิว (feeding cues) ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ นอนหลับแต่กลอกตาไปมา ขยับหรือหันศีรษะไปมา กำมือแน่น อมนิ้วมือหรือกำปั้น เลียริมฝีปาก ดูดหรือแลบลิ้น แต่หากแม่รอให้ทารกหิวมากจนร้องไห้แล้ว ทารกจะหงุดหงิด การจะควบคุมให้ทารกเข้าเต้าหรือกินนมกลับมีความลำบากหรือยากขึ้น ดังนั้น สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นที่แม่จะต้องเรียนรู้ นั่นคือ?”การให้นมในเวลาที่เหมาะสมคือเวลาที่ลูกเริ่มหิว

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

เก้าระยะของทารกในการเริ่มกินนมแม่

51

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีการศึกษาถึงลักษณะอาการของทารกหลังคลอดจนถึงการเริ่มกินนมแม่ในครั้งแรก พบว่า มีระยะต่างๆ แบ่งได้เป็น 9 ระยะ

? ? ? ?-ระยะที่หนึ่ง ทารกร้องไห้ขณะแรกเกิด

? ? ? -ระยะที่สอง ทารกเริ่มรู้สึกผ่อนคลาย

? ? ? -ระยะที่สาม ทารกตื่นตัวมากขึ้น

? ? ? -ระยะที่สี่ ทารกจะเริ่มขยับแขนขา

? ? ? -ระยะที่ห้า ระยะพัก

? ? ? -ระยะที่หก ระยะไขว่คว้าหาเต้านม

? ? ? -ระยะที่เจ็ด ระยะสร้างความคุ้นเคยกับเต้านม

? ? ? -ระยะที่แปด ระยะเริ่มดูดนม

? ? ? -ระยะที่เก้า ทารกจะนอนหลับ

? ? ? ? ? ? ? ?การเข้าใจถึงลำดับขั้นตอนของแต่ละระยะ จะทำให้มารดาหรือบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ไปรบกวนหรือขัดขวางกลไกที่จะเกิดขึ้นขณะวางทารกไว้ที่อกมารดา จนทารกจะสามารถเริ่มดูดนมแม่ได้เอง ซึ่งถ้ามารดาเริ่มต้นได้ดี ก็จะส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ระยะเก้าระยะนี้จะใช้เวลานานขึ้น โดยอาจใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง หากมารดาได้รับยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวดในระหว่างการคลอด

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

หลักการเป็นที่ปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ฉบับย่อ)

IMG_0301-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เมื่อได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่มีจิตอาสาที่จะทำทางด้านนี้ ควรเริ่มต้นด้วยความใส่ใจและเสริมสร้างความรู้ให้กับตนเองโดยศึกษาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเมื่อจะเป็นที่ปรึกษา อาจใช้ฉบับย่อ ?หลัก 3 ส.? ได้แก่ สังเกต สำรวจ ส่งเสริมสนับสนุน

? ? ? ? ? ? ? สังเกต ผู้ที่ให้คำปรึกษา ควรจะสังเกต เก็บข้อมูลของมารดาและครอบครัว เพื่อทำความเข้าใจกับสภาพ สิ่งแวดล้อม และข้อจำกัดของแต่ละครอบครัว ซึ่งจะได้ข้อมูลที่ใช้ในการให้คำปรึกษาได้เหมาะสม

? ? ? ? ? ? ? สำรวจ ผู้ที่ให้คำปรึกษา เมื่อได้ข้อมูลจากการสังเกตมาแล้ว ต้องสำรวจตรวจสอบว่า อะไรเป็นอาการที่พบหรือแสดงออก และอะไรเป็นปัญหา ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาทำได้ตรงจุดและถูกต้อง เช่น มารดาเจ็บหัวนมขณะให้ลูกดูดนม อาการเจ็บหัวนมเป็นอาการที่พบ แต่ปัญหาอาจเกิดจากการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดจากทารกมีภาวะลิ้นติด ดังนั้น อาการที่พบ อาจจะไม่ใช่สาเหตุของปัญหา

? ? ? ? ? ? ส่งเสริมสนับสนุน ผู้ที่ให้คำปรึกษา ควรส่งเสริมการวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกับมารดาและครอบครัว เนื่องจากธรรมชาติของแต่ละครอบครัวมีความแตกต่างกัน มารดาและครอบครัวจะเลือกทางเลือกที่เหมาะสมกับตนเองเมื่อได้รับข้อมูลที่เพียงพอและเหมาะสมแล้ว จากนั้น ควรให้การสนับสนุนโดยเป็นแรงคิดและแรงใจในการดูแลพร้อมติดตาม ชื่นชมความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ซึ่งหากผู้ที่มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือมารดาให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นำหลักการเป็นที่ปรึกษาฉบับย่อนี้ไปใช้แล้ว ก็น่าจะช่วยให้เด็กไทยได้กินนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ

125663

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีน้ำนมและมีสัญชาตญาณในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยธรรมชาติ ในยุคโบราณกาลการให้นมลูก มนุษย์จะสามารถให้นมลูกได้เองโดยมีสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่จะช่วยให้ต้องสามารถให้นมลูกได้ หากให้ไม่ได้ ทารกจะขาดอาหารและเสียชีวิต แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมได้รบกวนสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่ธรรมชาติต้องให้นมลูก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงต้องมีการเรียนรู้ ผ่านการสังเกต ช่วยเหลือหรือได้รับคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์มาก่อน ซึ่งการเรียนรู้นั้น ผ่านคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านที่สังคมยังมีความใกล้ชิด ช่วยเหลือจุนเจือกัน ความรู้และทักษะการให้นมลูกจึงถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่งได้

? ? ? ? ? ? ?แต่เมื่อราว 200 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีการพัฒนานมผสม การถ่ายทอดทักษะเหล่านี้ค่อยๆ หายไป ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เป็นสังคมครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การให้นมลูกในปัจจุบัน แม้จะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่มารดาและครอบครัวจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ โดยอาศัยบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ช่วย ซึ่งหากมารดาให้นมลูกได้ สัญชาตญาณความเป็นแม่กลับมามากขึ้น ความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะกลับมาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)