แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 1 เดือนหลังคลอด ตอนที่ 2

IMG_0696

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

คำแนะนำที่ให้

  • อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด
  • แนะนำให้มารดาให้นมทารก 8-12 ครั้งต่อวัน ?
  • การให้นมแม่ในช่วงกลางคืน ปกติควรให้ 1-2 ครั้ง
  • อธิบายลักษณะของอุจจาระปกติของทารกที่มีการเปลี่ยนแปลง
  • อธิบายถึงความเสี่ยงของการใช้จุกนมหลอกและควรหลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอก
  • แนะนำเรื่องอาหารสำหรับมารดา
  • พูดคุยกับมารดาถึงแผนการกลับไปทำงานของมารดาว่า จะเริ่มเมื่อไร สามารถให้นมทารกขณะทำงานได้หรือไม่ หรืออาจต้องใช้วิธีการบีบเก็บน้ำนม
  • อธิบายวิธีการบีบน้ำนมเก็บและการเก็บรักษาน้ำนม
  • แนะนำการเสริมวิตามินดีวันละ 400 ยูนิตแก่ทารก (ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาจากการขาดวิตามินดีในมารดและทารก)
  • แนะนำเรื่องการใช้ยาเบื้องต้นที่มักมีการใช้บ่อยๆ ซึ่งยาเหล่านี้หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาบรรเทาอาการหวัด

การให้การดูแล

  • หากมีสาเหตุที่ทำให้น้ำนมไม่เพียงพอ พยายามแก้ไขสาเหตุก่อนการให้อาหารเสริมอื่นๆ
  • หากมีปัญหาต่อเนื่องที่เป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พิจารณาส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติก่อนมารดาและทารกกลับบ้าน

  • ชื่นชมมารดากับความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่
  • แทรกหรือเสริมข้อมูลให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ให้กำลังใจให้มารดาให้นมแม่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 1 เดือนหลังคลอด ตอนที่ 1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การนัดมารดาและทารกมาติดตามดูแลใน 1 เดือนหลังคลอด จะเป็นการติดตามดูการให้นมลูกของมารดาและสอบถามถึงอุปสรรคต่างๆ ที่จะทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การที่มารดาคิดว่าตนเองมีน้ำนมไม่เพียงพอ มารดาป่วยต้องรับประทานยาจึงหยุดให้นมลูก หรือการที่มารดาบางคนเริ่มเตรียมตัวที่จะกลับไปทำงาน เป็นต้น ในระยะนี้ จึงมีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดูแลมารดาและทารก ดังนี้

??????????????? การประเมินการกินนมแม่

  • ลักษณะการกินนมของทารกเป็นอย่างไร
  • มารดาให้ทารกกินนมกี่ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • ทารกได้รับการให้นมแม่ตามความต้องการหรือไม่
  • ทารกได้รับการเปลี่ยนผ้าอ้อมและถ่ายอุจจาระกี่ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • ทารกได้รับอาหารอื่นใดเสริมนอกเหนือจากนมแม่หรือไม่
  • มารดารู้สึกอย่างไรในการให้นมแม่
  • มารดาคิดว่าน้ำนมของตนเองเป็นอย่างไร
  • ลักษณะการกินอาหารของมารดาเป็นอย่างไร
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? การตรวจมารดาและทารก

  • คำนวณน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงจากตั้งแต่เกิด การชั่งก่อนหน้านี้ และการชั่งน้ำหนักในครั้งนี้
  • ทารกควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 140-200 กรัมต่อสัปดาห์
  • สังเกตมารดาขณะให้นมลูก หากทารกมีน้ำหนักขึ้นไม่เหมาะสมหรือดูดนมได้ไม่ดี
  • ตรวจร่างกายทารกโดยทั่วไป

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 2-3 วันหลังกลับบ้าน ตอนที่ 3

S__38207890-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การให้การดูแล

  • หากมีสาเหตุให้น้ำนมมาช้า พยายามแก้ไขสาเหตุก่อนการให้อาหารเสริมอื่นๆ
  • หากมีปัญหาต่อเนื่องที่เป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พิจารณาส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ
  • ให้การสนับสนุนให้จัดตั้งกลุ่มช่วยเหลือนมแม่ อาจเป็นกลุ่มมารดา มารดาที่มีประสบการณ์ ร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์

ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติก่อนมารดาและทารกกลับบ้าน

  • ยินดีกับมารดาและทารกที่ตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และระยะเวลาที่ต้องการให้นมลูก
  • แทรกหรือเสริมข้อมูลให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • เตือนมารดาในเรื่องการรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบห้าหมู่ และควรดื่มน้ำเมื่อมีอาการกระหาย
  • นัดติดตามมารดาและทารกที่คลินิกนมแม่ คลินิกหลังคลอด หรือคลินิกเด็กดีตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับความจำเป็นต้องติดตามปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาและทารกในแต่ละคู่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 2-3 วันหลังกลับบ้าน ตอนที่ 2

IMG_9422

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การตรวจมารดาและทารก

  • คำนวณการขึ้นของน้ำหนักทารกและการลดของน้ำหนักทารกหลังคลอด
  • สังเกตมารดาขณะให้นมลูก
  • กระตุ้นให้มารดาสนใจในการตรวจการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในระหว่างให้นมบุตร โดยในกรณีที่สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์
  • ตรวจและให้ความสนใจกับลักษณะในช่องปากทารกและการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกินนม
  • ประเมินว่าทารกมีภาวะขาดน้ำหรือไม่
  • สังเกตภาวะตัวเหลืองและค่าสารเหลืองโดยเปรียบเทียบกับกราฟที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของทารกที่มีภาวะตัวเหลือง

คำแนะนำที่ให้

  • อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด
  • กระตุ้นให้มารดาให้นมตามความต้องการของทารก
  • ทบทวนลักษณะและพฤติกรรมการกินนมปกติของทารก
  • อธิบายถึงความเสี่ยงของการใช้จุกนมหลอกและควรหลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอก
  • แนะนำให้จัดทารกนอนใกล้ๆ กับมารดาในที่ที่จัดไว้เฉพาะ การนอนบนเตียงเดียวกันที่มีพื้นที่จำกัดควรระมัดระวัง
  • ไม่ควรทิ้งระยะการให้นมลูกนานระหว่างช่วงกลางคืน
  • แนะนำการเสริมวิตามินดีวันละ 400 ยูนิตแก่ทารก (ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาจากการขาดวิตามินดีในมารดและทารก)

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 2-3 วันหลังกลับบ้าน ตอนที่ 1

S__38208109

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การนัดมารดาและทารกมาติดตามดูแลในช่วงแรกหลังคลอด โดยเฉพาะใน 2-3 วันแรกหลังกลับบ้าน มักจะทำการนัดในมารดาและทารกที่พบมีความเสี่ยงในการที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก โดยอาจจะมีปัญหาหรือความเสี่ยงจากมารดาหรือทารกที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น มารดามีอาการเจ็บหัวนม มารดามีน้ำนมมาช้า ทารกมีภาวะตัวเหลือง หรือน้ำหนักลดเกินกว่าปกติ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย เป็นต้น มีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดูแลมารดาและทารก ดังนี้

??????????????? การประเมินการกินนมแม่

  • มารดาให้ทารกกินนมกี่ครั้งใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • ทารกได้รับการเปลี่ยนผ้าอ้อมกี่ครั้งใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • ทารกถ่ายอุจจาระกี่ครั้ง ลักษณะ และสีเป็นอย่างไรใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • มีความจำเป็นต้องปลุกทารกเพื่อให้กินนมหรือไม่
  • ทารกเข้าเต้าได้ง่ายและอยากที่จะดูดนมแม่หรือไม่
  • ทารกได้รับอาหารอื่นใดเสริมนอกเหนือจากนมแม่หรือไม่
  • มารดาให้นมแม่อย่างไร และรู้สึกอย่างไรในการให้นมแม่
  • หากมารดารู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว หรือมีอาการเจ็บหัวนมหรือเต้านม ควรจะมีการบันทึกรายละเอียดไว้
  • มารดามีน้ำนมเพิ่มขึ้นไหม หากมีเริ่มมีเพิ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อไร หากไม่มี ต้องเน้นให้มารดาเห็นความสำคัญของการติดตามเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ทารกน้ำหนักลดเกินค่าปกติ ภาวะขาดน้ำ ภาวะตัวเหลือง เป็นต้น
  • มารดาได้รับประทานยาหลังจากกลับบ้านหรือไม่ เช่น ยาลูกกลอน ยาดองเหล้า ยาขับน้ำคาวปลา ซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องอธิบายให้มารดาทราบถึงความเสี่ยงหรืออันตรายที่เกิดจากการกินยาเหล่านี้
  • ลักษณะการกินอาหารของมารดาเป็นอย่างไร
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)