การให้นมแม่ในทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ตอนที่ 1

IMG_1626

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (hypotonia) ก่อนที่จะอธิบายเรื่องภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ควรต้องเข้าใจความหมายของแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อก่อน (muscle tone) ซึ่งแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อนั้น คือแรงต้านทานการออกแรงยืดกล้ามเนื้อในขณะที่กล้ามเนื้ออยู่ในระยะพัก โดยแรงต้านของกล้ามเนื้อจะมีขนาดพอเหมาะในสภาวะปกติเพื่อให้การคงอยู่ของตำแหน่งของกล้ามเนื้อทำได้ดี เมื่อแรงต้านของกล้ามเนื้อนี้มีน้อยกว่าปกติจะถือว่ามีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ซึ่งในการให้ทารกกินนมแม่ ทารกอาจมีแรงดูดที่อ่อนแรง หรือต้องพึ่งพามารดาในการประคองคอหรือศีรษะมากขึ้น เพื่อช่วยให้ตำแหน่งการกินและดูดนมทารกทำให้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas J, Marinelli KA, Academy of Breastfeeding M. ABM Clinical Protocol #16: Breastfeeding the Hypotonic Infant, Revision 2016. Breastfeed Med 2016.

กลิ่นน้ำนมแม่และการกินนมแม่ลดความเจ็บปวดของทารก

IMG_1698

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในช่วงระยะหลังคลอด ทารกจะได้รับการเจาะเลือดตรวจและฉีดวัคซีน? ซึ่งความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดหรือฉีดวัคซีนจะทำให้ทารกร้องไห้และอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลของมารดาและครอบครัว มีการศึกษาที่ให้ทารกได้กลิ่นนมแม่ก่อนการเจาะเลือดที่ปลายเท้าพบว่า ทารกมีอาการแสดงถึงความเจ็บปวดน้อยลง1 เช่นเดียวกันกับการให้ทารกกินนมแม่ขณะฉีดวัคซีนทารกจะช่วยลดความเจ็บปวดของทารกได้2 ดังนั้น การที่บุคลากรทางการแพทย์ใส่ใจกับความวิตกกังวลของมารดา โดยช่วยลดไม่ให้มารดามีความเครียด จะทำให้น้ำนมมารดามาได้ดีและป้องกันปัญหาการเกิดภาวะน้ำนมไม่พอได้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Akcan E, Polat S. Comparative Effect of the Smells of Amniotic Fluid, Breast Milk, and Lavender on Newborns’ Pain During Heel Lance. Breastfeed Med 2016.
  2. Thomas T, Shetty AP, Bagali PV. Role of breastfeeding in pain response during injectable immunisation among infants. Nurs J India 2011;102:184-6.

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)