โรคหัดกับนมแม่

img_2191

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? โรคหัดเป็นไข้ออกผื่นที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการของผู้ป่วยจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ตาแดง ไอ มีจุดขาวขอบแดงในช่องปาก (Koplik?s spot) โดยทั่วไปอาการมักไม่รุนแรง แต่หากมีติดเชื้อในทารกแรกเกิดหรือผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนได้ สำหรับการติดเชื้อในทารกแรกเกิด หากเกิดจากการติดเชื้อของมารดาในระยะที่คลอดหรือหลังคลอดใหม่ ทารกจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงและมีความรุนแรง เนื่องจากทารกมีภูมิคุ้มกันต่ำ จำเป็นต้องมีการให้ภูมิคุ้มกัน (immunoglobulin) และวัคซีนแก่ทารก เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงจากอาการของโรค การให้นมลูก จากการศึกษาไม่พบเชื้อในน้ำนมแม่ ดังนั้น การให้นมจากมารดาที่เป็นหัด สามารถให้ได้ แต่หากทารกยังไม่มีอาการ ควรให้ภูมิคุ้มกันและวัคซีนแก่ทารกด้วย โดยในช่วงระยะที่มีไข้ออกผื่น ควรแยกทารกชั่วคราวจนกระทั่งพ้นระยะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไปแล้ว จึงสามารถดูดนมจากเต้าได้ การบีบน้ำนมเก็บให้ทารกระหว่างนี้ สามารถทำได้ เพราะจะมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยต่อต้านการติดเชื้อ (Immunoglobulin A) ในระยะ 2 วันหลังจากมารดามีผื่นขึ้น ในกรณีที่ทารกมีอาการของการติดเชื้อแล้ว ให้ภูมิคุ้มกันและวัคซีนแก่ทารกเช่นเดียวกัน เพื่อลดความรุนแรงของโรค และการให้นมแม่สามารถทำได้1 ?

? ? ? ? อย่างไรก็ตาม อย่าลืมที่จะเอาใจใส่ในการป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรผู้ดูแลมารดาและทารกด้วย สำหรับวัคซีนป้องกันโรคหัดเป็นวัคซีนมาตรฐานที่ให้แก่เด็กทุกคนในปัจจุบัน ซึ่งมารดาควรดูแลให้ทารกได้รับวัคซีนตามมาตรฐานอย่างครบถ้วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

โรคหูดหงอนไก่กับนมแม่

img_2100

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? โรคหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัส Human papilloma virus หรือ HPV ซึ่งมักจะเกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหรือในช่องปาก หากติดเชื้อในระหว่างการคลอดจะมีโอกาสที่จะติดเชื้อไปยังทารก โดยการติดเชื้อหากติดเชื้อในบริเวณกล่องเสียงของทารก อาจอุดตัน ทำให้หายใจลำบาก และเกิดอันตรายรุนแรงได้ การใส่ใจดูแลตรวจหาร่องรอยของโรคก่อนการคลอดมีความจำเป็นเพื่อการวางแผนการคลอดที่เหมาะสม ในระยะหลังคลอดนั้น การติดเชื้อบริเวณเต้านมหรือหัวนมพบน้อยเช่นเดียวกับการพบเชื้อในน้ำนม จากข้อมูลที่ผ่านมา ไม่มีรายงานและไม่พบว่ามีความเสี่ยงของทารกเพิ่มขึ้นจากการให้ทารกกินนมแม่ จึงยังคงแนะนำให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ในมารดาที่เป็นหูดหงอนไก่ รวมทั้งสามารถบีบเก็บน้ำนมให้ทารกได้เช่นเดียวกับมารดาทั่วไป1 อย่างไรก็ตาม? ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกซึ่งมีชนิดที่ป้องกันการติดเชื้อหูดหงอนไก่ได้ ดังนั้น ในสตรียุคใหม่ในอนาคต หากสามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีหรือก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ประสิทธิภาพในการป้องกันจะสูง

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

กลยุทธ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สามารถดาวน์โหลดสไลด์ได้โดยคลิกที่?breastfeeding-promotion-strategy

โรคเริมกับนมแม่

IMG_1553

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? โรคเริมเกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex ซึ่งหากติดเชื้อในระหว่างการคลอดจะมีโอกาสที่จะติดเชื้อไปยังทารก การติดเชื้อหากติดเชื้อในหลากหลายระบบในร่างกายทารกจะเป็นอันตรายรุนแรงได้ เนื่องจากโรคเริม หากมารดาเป็นแล้ว หลังจากหายจากอาการ เชื้อไวรัสจะยังซ่อนตัวอยู่ในปลายประสาท เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย เครียด หรือมีภาวะที่ภูมิคุ้มกันต่ำลง เชื้อจะเพิ่มจำนวนและแสดงอาการ โดยอาการแสดง หากเป็นการติดเชื้อในครั้งแรกจะมีความรุนแรงมากกว่า อาการที่พบจะมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว และมีตุ่มใสๆ กระจายในบริเวณที่มีการติดเชื้อ อาจพบบริเวณที่ปาก อวัยวะเพศ หรือเต้านม โดยที่ตุ่มใสจะแตกออกและเกิดเป็นแผลตื้นๆ ที่มีอาการแสบ และปวดเจ็บแปลบตามปลายประสาทได้ ในกรณีที่เป็นซ้ำหลังจากการเป็นในครั้งแรกแล้ว อาการจะน้อยลง และไม่รุนแรง

? ? ? ? ? ? ? สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่เป็นข้อห้าม ยกเว้นในกรณีที่มีแผลบริเวณเต้านม แต่เมื่อแผลแห้งเป็นสะเก็ดก็สามารถกลับมาให้นมแม่ได้ โดยในระหว่างที่เป็นแผล อาจใช้แผ่นหรือผ้าปิดแผล ร่วมกับมารดาควรดูแลเรื่องความสะอาดและล้างมือบ่อยๆ ในกรณีที่มารดามีอาการมาก การใช้ยาต้านไวรัสให้ในระยะแรกจะช่วยความรุนแรงและลดระยะเวลาของอาการของโรค นอกจากนี้ มารดาที่รับประทานยาต้านไวรัส acyclovir สามารถให้นมแม่ได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

ไวรัสตับอักเสบจีกับนมแม่

IMG_1554

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? โรคไวรัสตับอักเสบจี การติดเชื้อจะผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่ง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจีนั้นสามารถทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อเรื้อรังได้ มีรายงานการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก โดยมากมักจะติดเชื้อในช่วงระยะก่อนหรือในระหว่างการคลอดมากกว่าการติดเชื้อจากการกินนมแม่ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังมีจำกัด การติดเชื้อสามารถเกิดการอักเสบเรื้อรังได้ ร่วมกับยังขาดภูมิคุ้มกันและวัคซีนที่จะใช้ป้องกันการติดเชื้อในทารก ดังนั้น ข้อแนะนำเบื้องต้น คือ หากมารดาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจีในช่วงใกล้คลอดหรือในระยะคลอด และมีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดสูง แนะนำให้เลือกใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก การเลือกที่จะให้นมแม่อาจพิจารณาในพื้นที่ที่มีความขาดแคลนและไม่สามารถจัดนมผงดัดแปลงสำหรับทารกอย่างพอเพียงและเหมาะสมได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)