รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ? ในการช่วยสนับสนุนการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการผ่าตัดคลอด แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ควรกระตุ้นให้มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกเร็วที่สุดที่เป็นไปได้ โดยทั่วไป มารดาที่ผ่าตัดจะได้รับยาระงับความรู้สึกจากการฉีดยาเข้าไขสันหลัง ซึ่งมารดาจะรู้สึกตัวดี สามารถดูแลทารกได้ตั้งแต่แรกหลังคลอดเช่นเดียวกับมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด หากมารดาได้รับยาดมสลบ การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออาจเริ่มในห้องพักฟื้น โดยทำได้หากมารดาโต้ตอบรู้เรื่อง แม้ว่าจะมีการง่วงเล็กน้อยจะฤทธิ์ของยาแก้ปวดและยาสลบ สามีหรือสมาชิกในครอบครัว อาจดูแลช่วยในเรื่องการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและดูแลให้ทารกอบอุ่นในช่วงที่รอมารดาออกมาจากห้องผ่าตัด
? ? ? ? ? ? ? ?การช่วยเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด จะเริ่มเมื่อมารดาและทารกส่งสัญญาณว่ามีความพร้อม โดยมารดาไม่จำเป็นลุกนั่ง โอบกอดหรือต้องขยับเปลี่ยนท่าในการให้นมลูกได้ แต่จะเป็นทารกที่จะค้นหาเต้านมและเริ่มดูดนมเอง การปฏิบัตินี้สามารถทำได้นานตราบเท่าที่มีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เฝ้าดูอยู่ แม้มารดาจะยังง่วงซึมจะฤทธิ์ของยาดมสลบก็ตาม แพทย์หรือบุคลากรควรช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูก การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอาจจะต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อให้สามารถจัดท่าทารกเข้าเต้าได้ ท่าที่ใช้สำหรับการให้นมอาจใช้ท่านอนด้านข้าง (side-lying) บนเตียง ท่านี้จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการปวดในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ และมารดายังสามารถทำได้แม้มารดาต้องนอนราบหลังจากให้ยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง การจัดท่านี้มารดาควรจะต้องใช้หมอนช่วยพิงด้านหลังและรองใต้หัวเข่าขณะที่อยู่ในท่านอนด้านข้าง หรือมารดาอาจใช้ท่านั่งเอนหลัง (laid back) โดยทารกอยู่บนตัวมารดา สำหรับท่านอนหงายสามารถทำได้ แต่ไม่ควรให้ทารกกดทับบริเวณแผลผ่าตัด
? ? ? ? ? ? ? ?หากการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อทำได้ช้า อาจต้องดูแลและป้องกันภาวะตัวเย็นให้แก่ทารกโดยการห่มผ้าคลุมทารกให้อบอุ่นก่อน ต่อมาจึงให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาเมื่อมารดาพร้อม โดยการให้ความอบอุ่นต้องไม่ห่อทารกจนแน่นเกินไป ขยับไม่ได้ สำหรับทารกที่เกิดก่อนกำหนดจะได้ประโยชน์จากการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ แต่หากอาการทารกยังไม่คงที่และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออาจเริ่มเมื่อทารกมีอาการคงที่
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?การผ่าตัดคลอดมีผลต่อมารดาและทารกในด้านการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 โดยมารดามีแนวโน้มจะตื่นกลัวและเครียด ได้รับการให้น้ำเกลือและสายสวนปัสสาวะ ถูกจัดให้อยู่บนเตียงและจำกัดการเคลื่อนไหว ต้องงดน้ำและอาหารก่อนและหลังการคลอด ซึ่งทำให้ขาดพลังงานในการจะดูแลทารก ได้รับยาระงับความรู้สึกและยาแก้ปวดซึ่งส่งผลต่อมารดาและทารกในการเริ่มให้นมลูก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการตกเลือด มารดาอาจรู้สึกล้มเหลวที่ร่างกายไม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ และมักจะถูกแยกจากทารก
??????????? สำหรับผลกระทบจากการผ่าตัดคลอดที่มีต่อทารก ได้แก่ ทารกจะมีความเสี่ยงสูงในการที่จะไม่ได้กินนมแม่หรือได้กินนมแม่ในช่วงสั้นๆ ทารกที่ผ่าตัดคลอดจะมีปัญหาเรื่องการหายใจมากกว่า ทารกอาจจะต้องการการดูดเสมหะ ซึ่งทำให้ทารกเจ็บปากและลำคอซึ่งมีผลต่อการดูดนมแม่ ทารกได้รับยาทำให้ง่วงจากยาระงับความรู้สึกและยาแก้ปวดที่มารดาได้รับ ทารกจะได้รับการให้โอบกอดเนื้อแนบเนื้อน้อยกว่า และทารกมีโอกาสสูงกว่าที่จะย้ายไปหออภิบาลทารกแรกเกิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อระหว่างทารกด้วยกันเอง และต้องจำกัดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ?การผ่าตัดคลอดเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเริ่มต้นการกินนมแม่ของทารก และมีผลต่ออัตราและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย ?
เอกสารอ้างอิง
Habib FA. Monitoring the practice and progress of initiation of breastfeeding within half an hour to one hour after birth, in the labor room of king khalid university hospital. J Family Community Med 2003;10:41-6.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?บทบาทของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงที่มีการเริ่มต้นการกินนมแม่ของทารก ได้แก่ การให้เวลาและบรรยากาศที่สงบเงียบแก่มารดาและทารก การช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการดูแลทารก ไม่ปวดเมื่อย ร่วมกับการชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เป็นแนวโน้มที่ดีในการกินนมแม่ของทารก ได้แก่ การตื่นตัวหรือการใช้จมูกคุ้ยค้นเข้าหาเต้านมมารดา และควรหลีกเลี่ยงการเร่งรัดให้ทารกไปที่เต้านมมารดาหรือจับเต้านมมารดาใส่ปากทารก ดังนั้น หลักสำคัญ คือ ?ควรสังเกตการเริ่มการกินนมแม่ของทารกพร้อมการให้กำลังใจ ไม่เร่งรัดหรือกดดันทั้งมารดาและทารก?
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?การเริ่มให้ลูกได้ดูดกินนมแม่ ควรเริ่ม ?ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด? 1 กระบวนการนี้จะต่อเนื่องกันกับการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ โดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ควรช่วยให้มารดาสังเกตและตระหนักรู้ถึงสัญชาติญาณการเริ่มต้นในการดูดนมแม่ของทารก เมื่อทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาในบรรยากาศที่สงบ พฤติกรรมการเตรียมการดูดนมแม่จะเริ่มขึ้น โดยระยะเวลาที่ใช้อาจจะไม่กี่นาทีถึงเป็นชั่วโมง พฤติกรรมเหล่านี้ของทารก ได้แก่
การพักอยู่ในภาวะตื่นตัวในช่วงสั้นๆ เพื่อปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่
การนำนิ้วมือใส่ปากและดูด และการใช้มือควานหาเต้านมแม่
มุ่งความสนใจไปที่จุดสีดำบนเต้านมที่เป็นจุดหมาย
เคลื่อนที่ไปยังเต้านมและใช้จมูกคุ้ยค้น
เมื่อค้นพบหัวนมแล้ว จึงอ้าปากอมหัวนมและลานนม
??????????? ไม่ควรสร้างความกดดันให้กับมารดาและทารกในการเริ่มต้นการกินนมแม่ว่า
การเริ่มต้นต้องใช้เวลานานเท่าใด?
การกินนมแม่ครั้งแรกต้องกินนานแค่ไหน?
การอ้าปากอมหัวนมและลานนมทำได้ดีเพียงใด?
ทารกกินหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองได้มากน้อยแค่ไหน?
เพราะ ?การดูดนมครั้งแรกของทารกควรจะได้รับการพิจาณาว่าเป็นการเริ่มต้นมากกว่าการกินนมแม่อย่างเป็นจริงเป็นจัง?
??????????? การช่วยเหลือที่มากขึ้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเริ่มในครั้งถัดไป โดยช่วยให้มารดาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดท่า การอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก ลักษณะท่าทางที่บ่งบอกถึงความต้องการในการกินนมของทารก และทักษะอื่นๆ ที่จำเป็น ???????????
เอกสารอ้างอิง
Naylor AJ. The ten steps: ten keys to breastfeeding success. Breastfeed Med 2010;5:249-51.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?อุปสรรคที่ขัดขวางการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอดมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดและข้อแนะนำแนวทางแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ?ได้แก่
การบังคับให้มารดานอนอยู่บนเตียงระหว่างหลังคลอด มารดาบางคนต้องการที่จะนั่งเอนหลังกอดทารกไว้กับอกหรือเปลี่ยนท่าทางเพื่อความสบายตัวจะถูกจำกัดโดยการให้นอนอยู่บนเตียงโดยเฉพาะหากเป็นเตียงชั่วคราวที่ใช้สำหรับการย้ายเตียง จะแคบ นอนหรือนั่งไม่สบาย การลุกเดินของมารดาสามารถทำได้ แต่ควรระมัดระวังเรื่องอาการหน้ามืดที่พบบ่อยได้หลังคลอด ดังนั้นมารดาต้องการลุกเดินควรมีญาติหรือบุคลากรทางการแพทย์ช่วยดูแลในช่วงแรก
การขาดการให้กำลังใจหรือสนับสนุนจากสามีหรือคนใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยในการสนับสนุนให้มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ ให้นมลูกและช่วยดูแลมารดาและลูกในช่วงที่มารดาฟื้นตัวใหม่ๆ ในระยะหลังคลอด
การงดการให้อาหารหรือน้ำเป็นเวลานานตั้งแต่ในระยะแรกของการคลอด ทำให้มารดาอ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะอุ้มหรือประคองลูก
การให้ยาลดอาการปวดที่จะทำให้มารดาและทารกง่วงซึม หากทารกง่วงซึมจากการได้ยาลดอาการปวด การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกยิ่งจำเป็นเพื่อช่วยกระตุ้นสัมผัสทารก สนับสนุน สร้างความผูกพัน และช่วยในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ดีขึ้นด้วย
การตัดฝีเย็บและการเย็บแผล ทารกสามารถจะอยู่บนอกแม่ได้ หากมารดาจำเป็นต้องได้รับการเย็บแผลฝีเย็บหรือแผลผ่าตัดคลอด ไม่มีความจำเป็นต้องแยกทารกออกจากมารดาในระหว่างนี้
การให้น้ำเกลือ การติดเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจทารก และการทำหัตถการอื่นที่ไม่มีเหตุผลทางการแพทย์ จะขัดขวางการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อได้
การห่อทารกจนแน่นเกินไปหลังคลอด จะขัดขวางการเคลื่อนไหวของทารกที่อาจคืบคลานไปหาเต้านมและเริ่มดูดนมได้
นโยบายแยกมารดาและทารกหลังคลอด
ความวิตกกังวลเรื่องทารกตัวเย็น ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการเช็ดตัวทารกให้แห้งและวางลงบนหน้าอกมารดา จากนั้นใช้ผ้าห่มคลุมทั้งทารกและมารดา หากอุณหภูมิในห้องเย็น อาจคลุมศีรษะทารกหรือสวมหมวกเพื่อลดการสูญเสียความร้อน ทารกที่ได้โอบกอดเนื้อแนบเนื้อกับมารดาจะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ดีกว่าทารกที่อยู่ในบริเวณที่อุ่นด้วยเครื่องทำความร้อน
การตรวจร่างกายทารก การตรวจทารกสามารถทำได้ขณะทารกอยู่บนอกแม่ ซึ่งทารกจะสงบ สำหรับการชั่งน้ำหนักสามารถทำหลังจากนั้น
การอาบน้ำ การอาบน้ำตั้งแต่แรกควรชะลอไว้ก่อน รอให้ไขของทารกที่อยู่บนผิวได้เคลือบ หล่อลื่น และช่วยรักษาอุณหภูมิของทารก การเช็ดตัวทารกให้แห้งเพียงพอแล้วสำหรับทารกระยะแรกหลังคลอด
ห้องคลอดยุ่ง หากห้องคลอดยุ่ง ทารกและมารดาอาจได้รับการย้ายมาที่หอผู้ป่วยเพื่อให้ทารกได้โอบกอดเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกและทำต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยได้
ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะอยู่กับมารดาและทารก อาจพิจารณาให้สามีหรือสมาชิกในครอบครัวสามารถจะเฝ้าอยู่กับมารดาและทารกได้
มารดาเหนื่อย1 ส่วนใหญ่มารดาน้อยมากที่จะเหนื่อยมากจนไม่อยากอุ้มลูก การได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ จะทำให้มารดาผ่อนคลาย บุคลากรควรทบทวนแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ด้วยว่ามีการปฏิบัติใดที่ทำให้มารดารู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง เช่น การงดน้ำงดอาหาร การคลอดที่เนิ่นนานเกินไป เป็นต้น
มารดาไม่ต้องการอุ้มลูก การที่มารดาไม่ต้องการอุ้มลูกอาจจะบ่งถึงว่า มารดาอาจมีภาวะซึมเศร้าหรือมีความเสี่ยงที่จะทอดทิ้งลูก การให้มารดาได้สัมผัสกับลูกจะลดความเสี่ยงเหล่านี้
เอกสารอ้างอิง
Habib FA. Monitoring the practice and progress of initiation of breastfeeding within half an hour to one hour after birth, in the labor room of king khalid university hospital. J Family Community Med 2003;10:41-6.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)