การใช้นมแม่ช่วยรักษาทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยที่แพ้นมวัว

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? นมผงที่ใช้อยู่ส่วนใหญ่จะผลิตจากนมวัว ซึ่งแม้ส่วนมากทารกจะสามารถกินนมวัวที่ผลิตมาเป็นนมผงเหล่านี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีทารกส่วนหนึ่งที่มีอาการแพ้ ที่ไม่สามารถจะรับนมวัวได้ ซึ่งมักจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการดูแลรักษาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยมีความต้องการหรือความจำเป็นที่จะได้รับสารอาหารที่มีความจำเพาะที่จะช่วยในการเจริญเติบโตในทารกที่คลอดออกมาก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยและมีความไม่สมบูรณ์ของระบบย่อยและดูดซึมสารอาหาร การเติมสารที่จำเป็นลงไปในน้ำนมที่ใช้เลี้ยงทารกจึงต้องมีการเสริมสารอาหารลงไปอย่างเหมาะสมและตามความต้องการของทารกในแต่ละขนาดของน้ำหนักตัว แต่หากมารดาของทารกที่คลอดก่อนกำหนดและทารกมีน้ำหนักตัวน้อยสามารถกระตุ้นน้ำนม และมีการบีบเก็บน้ำนมให้ทารกได้ น้ำนมของมารดาที่คลอดทารกที่คลอดก่อนกำหนดนั้น จะมีสัดส่วนของสารอาหารที่มีการปรับให้เหมาะสมกับทารกที่คลอดก่อนกำหนดอยู่แล้ว โดยมีความจำเป็นต้องเสริมสารอาหารบางชนิดอยู่บ้าง แต่ก็มีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับการใช้นมผงที่ต้องเสริมสารอาหารที่จะทำให้เกิดความเหมาะสมสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม บางกรณีมารดาไม่สามารถกระตุ้นเก็บน้ำนมให้เพียงพอได้ การมีธนาคารนมแม่ที่ได้รับน้ำนมมาจากมารดาที่ผ่านการตรวจคัดกรองมาร่วมบริจาค การที่จะให้นมแม่จากธนาคารนมแม่นี้ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นน้ำนมของตัวแม่ที่คลอดเองที่มีความเหมาะสมสำหรับทารกที่สุด แต่นมแม่ที่เป็นนมของมนุษย์เช่นกันก็สามารถใช้ในการดูแลรักษาในทารกที่มีอาการแพ้หรือไม่สามารถรับนมวัวได้1 การพัฒนาหรือสร้างระบบการบริจาคในรูปแบบธนาคารนมแม่จึงควรมี ที่ซึ่งต้องมีการทำความเข้าใจและสื่อสารกับคนในสังคมให้ทราบถึงประโยชน์ในกรณีที่มีความจำเป็นดังตัวอย่างที่กล่าวไปแล้ว

เอกสารอ้างอิง

  1. Sandhu A, Fast S, Bonnar K, Baier RJ, Narvey M. Human-Based Human Milk Fortifier as Rescue Therapy in Very Low Birth Weight Infants Demonstrating Intolerance to Bovine-Based Human Milk Fortifier. Breastfeed Med 2017;12:570-3.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเด็กอ้วน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? แม้ว่าค่านิยมของคนในสังคมจะมองดูว่าชอบ ?ทารกที่อ้วน? แต่ในความเป็นจริงด้านสุขภาพแล้ว ทารกที่อ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าทารกปกติตั้งแต่แรกเกิด ทารกที่มารดามีน้ำหนักขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าปกติจะมีความเสี่ยงที่จะมีทารกตัวโต และทารกตัวโตจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดยาก การคลอดทารกที่ติดไหล่ และอัตราการผ่าตัดคลอดที่สูงขึ้น หลังคลอดแล้ว หากทารกยังเลือกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนในวัยเด็กและเสี่ยงต่อเบาหวานและโรคทางเมตาบอลิกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น เมื่อทราบข้อมูลดังนี้แล้ว ทางที่จะบรรเทาความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอ้วนจากการที่มารดาน้ำหนักขึ้นมากกว่าปกติระหว่างการตั้งครรภ์คือ ?การให้ลูกได้กินนมแม่? ซึ่งจะสามารถลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอ้วนได้1 และควรมีการเปลี่ยนทัศนคติในเรื่องที่ ?ทารกอ้วนน่ารักและอยากให้ลูกอ้วน? ควรเปลี่ยนไปเป็นอยากให้ ?ทารกหรือลูกรูปร่างพอเหมาะและมีสุขภาพดี? มากกว่าที่จะอ้วนและเสี่ยงต่อโรคร้ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. Liu JX, Xu X, Liu JH, Hardin JW, Li R. Association of maternal gestational weight gain with their offspring’s anthropometric outcomes at late infancy and 6 years old: mediating roles of birth weight and breastfeeding duration. Int J Obes (Lond) 2018;42:8-14.

การสื่อสารที่เข้าถึงมารดาช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบันการสื่อสารอยู่ในยุคไร้พรมแดน แต่การนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาประยุกต์เพื่อการใช้ประโยชน์ยังมีจำกัด แม้ว่าจะเริ่มมีการนำมาใช้บ้างในทางการดูแลสุขภาพและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตัวอย่างของการนำมาใช้ประโยชน์ เช่น การสร้างกลุ่มให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ผ่าน line group การสร้างเว็บเพจ หรือเว็บไซด์ที่เผยแพร่ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเผยแพร่วิดีโอสอนการเข้าเต้า การสื่อสารด้วยข้อความโต้ตอบระหว่างมารดากับผู้ที่ให้คำปรึกษา1 รูปแบบที่หลากหลายจะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อ มีความพอเหมาะ ถูกจริต และมารดาสามารถเข้าถึงได้ด้วยความสะดวกและสบายใจ ดังนั้น สื่อที่จะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรมีการผลิตให้มีความหลากหลายเพื่อรองรับการเข้าถึงของมารดาในแต่ละกลุ่มอาชีพ แต่ละกลุ่มการศึกษา และแต่ละกลุ่มความชอบของใช้ เพื่อประโยชน์ที่ได้จากการนำมาประยุกต์ใช้จะมีสูงสุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Martinez-Brockman JL, Harari N, Segura-Perez S, Goeschel L, Bozzi V, Perez-Escamilla R. Impact of the Lactation Advice Through Texting Can Help (LATCH) Trial on Time to First Contact and Exclusive Breastfeeding among WIC Participants. J Nutr Educ Behav 2018;50:33-42 e1.

ระบบพี่เลี้ยงนมแม่ช่วยการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ตัวชี้วัดที่สำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ควรมีการเก็บรวบรวมและนำมาเปรียบเทียบวิเคราะห์ผลได้แก่ การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ตัวชี้วัดนี้ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจของมารดาในการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอีกส่วนสะท้อนถึงการดูแลและเอาใจใส่ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาลที่มารดาให้การคลอดบุตรและเลือกไว้ว่าน่าจะเป็นโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงระบบการให้คำปรึกษาที่มีพี่เลี้ยงนมแม่ (peer counselling) ในเรื่องการช่วยการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า การมีพี่เลี้ยงนมแม่ที่คอยช่วยให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวจะช่วยให้อัตราการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นร้อยละ 66 นอกจากนี้ระบบพี่เลี้ยงนมแม่ยังช่วยป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหนึ่งปีได้ถึงร้อยละ 551 ดังนั้น การจัดรูปแบบพี่เลี้ยงนมแม่จะช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลมีความพร้อมและสามารถจัดระบบพี่เลี้ยงนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. McCoy MB, Geppert J, Dech L, Richardson M. Associations Between Peer Counseling and Breastfeeding Initiation and Duration: An Analysis of Minnesota Participants in the Special Supplemental Nutrition Program for Women, Infants, and Children (WIC). Matern Child Health J 2018;22:71-81.

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)