การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อช่วยในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เป็นที่ทราบกันแล้วว่า การโอบกอดเนื้อแนบเนื้อมีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ กระตุ้นการพัฒนาการของทารกผ่านระบบสัมผัสของมารดา ช่วยให้ทารกรู้สึกสงบ ปลอดภัย อบอุ่น ป้องกันอาการตัวเย็นของทารก ช่วยป้องกันการเกิดอาการน้ำตาลต่ำจากการตื่นตระหนกของทารก ทำให้มีการใช้พลังงานมากส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ นอกจากนี้ การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบนอกมารดาหลังคลอดทันทียังช่วยในกระบวนการการปรับตัวของทารกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกและมีความพร้อมที่จะคืบคลานเข้าหาเต้านมมารดา เพื่อการเริ่มต้นการดูดกินนมแม่1 ซึ่งการเริ่มต้นการกินนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดนั้น ส่งผลต่ออัตราการลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย ดังนั้น สถานพยาบาลควรมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมหรือทำให้เกิดการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อหลังคลอดทันทีและควรให้เวลากับกระบวนการนี้อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงเพื่อการกระตุ้นกระบวนการดังกล่าวเหล่านี้จะกระทำได้สมบูรณ์และได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

เอกสารอ้างอิง

  1. Lau Y, Tha PH, Ho-Lim SST, et al. An analysis of the effects of intrapartum factors, neonatal characteristics, and skin-to-skin contact on early breastfeeding initiation. Matern Child Nutr 2018;14.

 

การจัดรูปแบบการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ทารกที่คลอดก่อนกำหนดถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่จะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยทำให้มีความยากลำบากในการที่จะให้นมแม่แก่ทารก ความยากลำบากนี้มักขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ โดยหากทารกคลอดก่อนกำหนดมาก การพัฒนาระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่จะเตรียมพร้อมสำหรับการดูดและกินนมแม่อาจยังไม่สมบูรณ์ การเชื่อมโยงของระบบประสาทและฮอร์โมนอาจจะยังไม่ดีด้วย ดังนั้น การที่จะช่วยให้ทารกได้กินนมแม่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจึงต้องมีกระบวนการการวางแผนที่เฉพาะสำหรับคู่มารดาและทารกแต่ละคู่ที่มีความพร้อมในการกินนมแม่จากเต้าที่แตกต่างกัน1 รวมทั้งยังขึ้นอยู่กับภาวะแทรกซ้อนในระบบอื่น ๆ ของทารกที่อาจทำให้ทารกบางคนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งการวางแผนการให้นมแม่อาจเริ่มต้นด้วยการเพียงแต่มีการป้ายปากทารกด้วยนมแม่ การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ จนกระทั่งทารกเริ่มกินได้ อาจจะมีการป้อนนมด้วยถ้วยก่อนจนทารกมีความพร้อมที่จะกินนมได้จากเต้าของมารดาโดยตรง ซึ่งการวางแผนในการให้นมแม่แก่ทารกควรมีการให้คำปรึกษาแก่มารดาและครอบครัวให้มีความเข้าใจเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือในการที่จะช่วยให้ทารกกินนมแม่ได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Lau C. Breastfeeding Challenges and the Preterm Mother-Infant Dyad: A Conceptual Model. Breastfeed Med 2018;13:8-17.

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)