การให้ลูกกินนมจากเต้ากับการปั๊มนมป้อนให้ลูกมีผลดีแตกต่างกันหรือไม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในสมัยก่อน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นก็คือการให้นมแม่จากเต้านมของมารดา แต่ปัจจุบัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความหมายรวมไปถึงการปั๊มนมแม่และป้อนนมแม่ให้แก่ลูกด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีผลต่อความเฉลียวฉลาดของทารกที่มากกว่าทารกที่กินนมผง กลไกที่จะส่งผลต่อความเฉลียวฉลาดนั้น เชื่อว่าเกิดจากการกระตุ้นการพัฒนาการของทารกผ่านการสัมผัส การโอบกอด และการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมารดาและทารกขณะที่ลูกได้ดูดกินนมแม่จากเต้านม หากการปั๊มนมและป้อนนมให้แก่ทารกมีการป้อนนมอย่างเดียวขาดการโอบกอด การสัมผัส และปฏิสัมพันธ์กันระหว่างแม่กับลูก คำถามที่มีข้อสงสัยคือ ทารกที่กินนมแม่จากน้ำนมที่ปั๊มนมจะยังคงมีความเฉลียวฉลาดเหมือนกับทารกที่กินนมจากเต้านมแม่โดยตรงหรือไม่ มีความพยายามที่จะทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ปัญหาของระยะเวลาที่ปั๊มนมและให้นมลูกไม่แน่นอน ผลการประเมินจึงยังไม่สามารถสรุปได้1 แต่จากข้อมูลในปัจจุบัน หากสามารถให้นมแม่จากเต้าได้ ผลต่อความเฉลียวฉลาดของทารกย่อมน่าจะดีกว่า และการให้นมแม่ที่ได้จากการปั๊มนมก็น่าจะดีกว่าการให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก การทำความเข้าใจกับมารดาและครอบครัวในเรื่องเหล่านี้จึงมีความจำเป็น

เอกสารอ้างอิง

  1. Keim SA, Smith K, Boone KM, Oza-Frank R. Cognitive Testing of the Brief Breastfeeding and Milk Expression Recall Survey. Breastfeed Med 2018;13:60-6.

การป้อนนมผงหลังคลอดมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? โดยทั่วไปวิธีการคลอดบุตรจะมีผลต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน การผ่าตัดคลอดมักทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้ช้าและมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม หากมีการเอาใจใส่ให้มารดาที่ผ่าตัดคลอดสามารถเริ่มนมแม่ได้เร็วใกล้เคียงกับมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก็ไม่น่าจะแตกต่างกัน อุปสรรคอีกอย่างที่พบว่ามีความสำคัญต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็คือ การให้ลูกกินนมผงตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด สิ่งนี้ส่งผลในการลดการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 ดังนั้น นโยบายการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องน่าจะมีบทบาทในการปกป้องและป้องกันการให้นมผงแก่ทารกในระยะแรกหลังคลอดได้ ซึ่งโรงพยาบาลที่ปฏิบัติตามนโยบายสายสัมพันธ์แม่ลูกได้ก็จะมีโอกาสที่จะสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จมากกว่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Kiani SN, Rich KM, Herkert D, Safon C, Perez-Escamilla R. Delivery mode and breastfeeding outcomes among new mothers in Nicaragua. Matern Child Nutr 2018;14.

แม่เครียดเริ่มการเลี้ยงลูกและให้ลูกกินนมแม่ได้น้อยลง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ความเครียดมีผลต่อการตัดสินใจหลาย ๆ อย่างของมารดารวมทั้งในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม่ที่มีความเครียดมากมักมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสม มีการศึกษาถึงภาวะที่ก่อให้เกิดความเครียดแก่มารดาในช่วงหนึ่งปีก่อนการคลอดบุตรและติดตามผลว่ามีผลกระทบต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และส่งผลทำให้หยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ระยะเวลาหนึ่งเดือนหลังคลอดหรือไม่ พบว่า มารดาที่มีปัจจัยใหญ่อย่างน้อยหนึ่งอย่างในช่วงหนึ่งปีก่อนการคลอดบุตรจะมีผลทำให้การเริ่มการให้ลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกหลังคลอดน้อยลง และเมื่อติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่หนึ่งเดือนพบว่า มารดาที่มีความเครียดดังกล่าวหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่ามารดาที่ไม่มีความเครียด1 การที่บุคลากรทางการแพทย์มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนี้ จะสามารถนำไปประยุกต์ในการคัดกรองความเสี่ยงของมารดาที่จะหยุดให้นมแม่ก่อนเวลาอันควร โดยให้ความสนใจและใส่ใจในมารดากลุ่มนี้มากขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาและหาทางออกที่เหมาะสมให้มารดาสามารถยังคงให้นมแม่ต่อเนื่องไปได้ตามระยะเวลาที่ควรเป็น

เอกสารอ้างอิง

  1. Kitsantas P, Gaffney KF, Nirmalraj L, Sari M. The influence of maternal life stressors on breastfeeding outcomes: a US population-based study. J Matern Fetal Neonatal Med 2018:1-5.

 

 

ทารกที่กินนมแม่ลดความเสี่ยงต่อการถูกทิ้งหรือการล่วงละเมิดทางเพศ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ทารกที่กินนมแม่จากเต้าหากได้เริ่มต้นตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดและให้นมแม่เป็นเวลานานจะมีความผูกพันระหว่างมารดากับทารกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลไกของความผูกพันระหว่างมารดาและทารกจะผ่านการทำงานของฮอร์โมนหลักคือ ออกซิโทซิน ที่ถูกเรียกว่าเป็น ?ฮอร์โมนแห่งความรัก? มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการเลี้ยงดูทารกที่ไม่ดีพบว่า ทารกที่กินนมแม่จะมีโอกาสถูกทอดทิ้งน้อยกว่าร้อยละ 46 และเสี่ยงต่อการล่วงละเมิดทางเพศน้อยกว่าร้อยละ 531 สิ่งนี้เป็นหลักฐานที่ตอกย้ำถึงผลของความรักความผูกพันที่ถูกสร้างขึ้นจากกระบวนการกินนมแม่ ทำให้เกิดการดูแลเอาใจใส่ทารก รักและใส่ใจ ทะนุถนอม จนมีผลในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเลี้ยงดูทารกไม่ดี เสี่ยงต่อการถูกทอดทิ้งและล่วงละเมิดทางเพศได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Kremer KP, Kremer TR. Breastfeeding Is Associated with Decreased Childhood Maltreatment. Breastfeed Med 2018;13:18-22.

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)