คลังเก็บหมวดหมู่: มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

การให้นมแม่ในมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยการฉายแสง

1001

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? การรักษามะเร็งเต้านมด้วยรังสีรักษาจะเป็นการร่วมรักษากับวิธีอื่น ในการรักษามะเร็งเต้านมโดยทั่วไปจะฉายรังสีขนาด 45-50 Gy? 25 fraction ใน 5 สัปดาห์ การฉายแสงนั้นจะมีผลต่อเต้านม โดยในระยะแรกจะเกิดการไหม้ของผิวหนัง ในระยะต่อมา เซลล์ที่ต่อมน้ำนมจะถูกทำลาย1 และแทนที่ด้วยพังผืด (fibrosis) ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา2 ดังนั้นในระหว่างการฉายแสงจะมีผลต่อการสร้างน้ำนม ทำให้มารดาระหว่างได้รับรังสีรักษาไม่สามารถให้นมลูกได้ จึงเป็นข้อจำกัดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

  1. Cathers LE, Gould MN. Human mammary cell survival following ionizing radiation. Int J Radiat Biol Relat Stud Phys Chem Med 1983;44:1-16.
  2. Bourgeois JF, Gourgou S, Kramar A, Lagarde JM, Gall Y, Guillot B. Radiation-induced skin fibrosis after treatment of breast cancer: profilometric analysis. Skin Res Technol 2003;9:39-42.

การให้นมแม่ในมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างเดียว

latch on

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ??หากมารดาที่เป็นมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเดียว ในเต้านมอีกข้างมารดาจะสามารถให้นมแม่ได้ แต่การเลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องมีการวางแผน ซึ่งหากสามารถทำการกระตุ้นให้มีน้ำนมมาก่อนถึงช่วงเวลาผ่าตัด การกระตุ้นน้ำนมต่อหลังการผ่าตัดจะทำได้ง่ายกว่า แต่หากการผ่าตัดเต้านมเกิดหลังคลอดทันที มารดาขาดการกระตุ้นเต้านมโดยการดูดนมของทารกหรือการปั๊มนมหรือยังไม่มีน้ำนมมา การกระตุ้นให้น้ำนมมาจะทำได้ยากและใช้เวลามากกว่า

การรักษามะเร็งเต้านม

fa6f9da7557e2825b07f0913a6208034

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? สำหรับการรักษาโดยทั่วไปจะใช้วิธีการผ่าตัดเต้านมทั้งหมดพร้อมนำต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ (modified radical mastectomy) ออก จะใช้ในการรักษามะเร็งเต้านมในระยะแรกและระยะเริ่มลุกลาม โดยในสตรีบางคนอาจมีทางเลือกที่จะใช้การผ่าตัดเฉพาะส่วนที่เก็บรักษาเต้านมไว้ร่วมกับการฉายรังสีรักษา1,2 หรืออาจจะมีการใช้เคมีบำบัด (chemotherapy) ร่วมในการรักษา3 ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิด ลักษณะของมะเร็งเต้านมและความเสี่ยงในการเกิดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งโดยพิจารณาตามดุลยพินิจของแพทย์ ในการรักษามะเร็งเต้านมในระยะลุกลามจะใช้การผ่าตัดเต้านมทั้งหมดพร้อมนำต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ร่วมกับการใช้เคมีบำบัด แม้ในปัจจุบันจะมีการเลือกใช้ผ่าตัดเฉพาะส่วนที่เก็บรักษาเต้านมมากขึ้น4,5 นอกจากนี้ยังมีการใช้การรักษาด้วยฮอร์โมนในกรณีที่มะเร็งเต้านมเป็นชนิดที่ตอบสนองต่อฮอร์โมน6

หนังสืออ้างอิง

 

  1. Blichert-Toft M, Nielsen M, During M, et al. Long-term results of breast conserving surgery vs. mastectomy for early stage invasive breast cancer: 20-year follow-up of the Danish randomized DBCG-82TM protocol. Acta Oncol 2008;47:672-81.
  2. Clarke M, Collins R, Darby S, et al. Effects of radiotherapy and of differences in the extent of surgery for early breast cancer on local recurrence and 15-year survival: an overview of the randomised trials. Lancet 2005;366:2087-106.
  3. Xenidis N, Perraki M, Apostolaki S, et al. Differential effect of adjuvant taxane-based and taxane-free chemotherapy regimens on the CK-19 mRNA-positive circulating tumour cells in patients with early breast cancer. Br J Cancer 2013;108:549-56.
  4. Caudle AS, Kuerer HM. Breast conservation therapy after neoadjuvant chemotherapy: optimization of a multimodality approach. J Surg Oncol 2014;110:32-6.
  5. Chen AM, Meric-Bernstam F, Hunt KK, et al. Breast conservation after neoadjuvant chemotherapy: the MD Anderson cancer center experience. J Clin Oncol 2004;22:2303-12.
  6. Adelson K, Germain D, Raptis G, Biran N. Hormonal modulation in the treatment of breast cancer. Endocrinol Metab Clin North Am 2011;40:519-32, viii.

 

 

ระยะของมะเร็งเต้านม

fa6f9da7557e2825b07f0913a6208034

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การบอกระยะของโรค จะช่วยในการวางแผนการรักษาและบอกพยากรณ์โรค โดยระยะของมะเร็งเต้านมมักใช้การแบ่งระยะตามอาการทางคลินิกและผลพยาธิวิทยา (TMN staging) ซึ่งจะใช้ขนาดของก้อน (tumor) การลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง (node) และการกระจายไปอวัยวะอื่น (metastasis) ช่วยในการบ่งบอกระยะของโรคซึ่งมีการใช้ร่วมกับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพอื่นๆ (biomarker)1 สำหรับระยะของโรคเพื่อง่ายในการสื่อสารกับผู้ป่วยมีการแบ่งเป็นระยะ 0 คือ ระยะก่อนมะเร็งหรือระยะที่มะเร็งยังอยู่ในเนื้อเยื่อเต้านม (carcinoma in situ) ที่ยังไม่มีการกระจายไปเนื้อเยื่อใกล้เคียงหรือกระจายไปที่อื่น ระยะที่ 1 คือ ระยะที่มะเร็งขนาดเล็กและกระจายจำกัดอยู่เฉพาะในเต้านม ระยะที่ 2 คือ ระยะที่มะเร็งมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง (regional lymph node) ในระยะที่ 1 และ 2 อาจรวมเรียก? ?ระยะเริ่มลุกลาม (early invasive)? ระยะที่ 3 คือ ระยะที่มะเร็งขนาดใหญ่ (มากกว่า 5 เซนติเมตรขึ้นไป) มีการกระจายไปที่ผนังหน้าอกหรือผิวหนังหรือมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียงจำนวนมาก (ตั้งแต่ 10 ต่อมน้ำเหลืองขึ้นไป)หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า (infraclavicular lymph node) หรือเรียก ?ระยะลุกลาม (advanced invasive) ระยะที่ 4 คือ ระยะที่มีการกระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น หรือเรียก ?ระยะแพร่กระจาย (metastasis)2,3

หนังสืออ้างอิง

 

  1. Orucevic A, Chen J, McLoughlin JM, Heidel RE, Panella T, Bell J. Is the TNM Staging System for Breast Cancer Still Relevant in the Era of Biomarkers and Emerging Personalized Medicine for Breast Cancer – An Institution’s 10-year Experience. Breast J 2015.
  2. Atoum MF, Hourani HM, Shoter A, Al-Raheem SN, Al Muhrib TK. TNM staging and classification (familial and nonfamilial) of breast cancer in Jordanian females. Indian J Cancer 2010;47:194-8.
  3. Coburn NG, Clarke-Pearson E, Chung MA, Law C, Fulton J, Cady B. A novel approach to T classification in tumor-node-metastasis staging of breast cancer. Am J Surg 2006;192:434-8.

 

เมื่อได้รับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมระหว่างการตั้งครรภ์

w51

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?หากได้รับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้ป่วยและครอบครัวจำเป็นต้องตัดสินใจบนข้อมูลของอายุครรภ์และความเสี่ยงในการเกิดการลุกลามของมะเร็ง ซึ่งหากอายุครรภ์อยู่ในไตรมาสแรก การสิ้นสุดการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งเป็นทางเลือกหนึ่ง หากอายุครรภ์อยู่ในไตรมาสสาม การให้ยากระตุ้นความสมบูรณ์ของปอดทารกและเลือกให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดในช่วงที่สามารถดูแลและเลี้ยงทารกได้เป็นแนวทางในการดูแลเพื่อให้มารดาได้รับการรักษามะเร็งเต้านมได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่การตั้งครรภ์อยู่ในไตรมาสสอง จะเป็นปัญหาในการเลือกการรักษาอย่างมาก เนื่องจากอายุครรภ์ของทารกถ้าต้องคลอดออกมาก่อนกำหนด การเลี้ยงดูทารกที่คลอดออกมาอาจไม่รอดหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการดูแลหรือการเลี้ยงดูทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก สำหรับการทำแท้ง อาจจะเป็นปัญหาในกรณีที่มารดามีบุตรยากหรืออายุมาก เนื่องจากการรักษามะเร็งเต้านมอาจทำให้การทำงานของรังไข่ผิดปกติไปและหลังการรักษาอาจพบภาวะมีบุตรยากได้ และในบางรายที่พบมะเร็งเต้านมในสตรีที่มีอายุน้อยที่ยังไม่มีบุตรอาจมีความจำเป็นต้องมีการวางแผนการเก็บรักษาไข่เพื่อใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ในการทำเด็กหลอดแก้วในอนาคต1,2

หนังสืออ้างอิง

  1. Moffat R, de Geyter C, Myrick ME, et al. Young women with breast cancer: how many are actually candidates for fertility preservation? Arch Gynecol Obstet 2012;286:1521-7.
  2. Klemp JR, Kim SS. Fertility preservation in young women with breast cancer. J Assist Reprod Genet 2012;29:469-72.