คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การให้นมแม่ในมารดาครรภ์แฝด

S__38207899

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????? นมแม่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของทั้งปริมาณ ส่วนประกอบ และสารที่จำเป็นให้เหมาะสมสำหรับทารกแต่ละช่วงอายุได้ นอกจากนี้ยังมีปรับให้เหมาะสมสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่ใกล้ครบกำหนดได้ดี รวมทั้งมีการสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับครรภ์แฝดและการกระตุ้นน้ำนมที่เพิ่มขึ้น

????? ครรภ์แฝดถือว่าเป็นครรภ์เสี่ยงสูง สิ่งที่มารดาจะต้องเผชิญเมื่อมีครรภ์แฝดคือ ความเสี่ยงในการคลอดลูกก่อนกำหนด รวมทั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่เกิดกับทารกสูงขึ้น โอกาสที่ทารกจำเป็นต้องเฝ้าดูอาการที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตก็สูงขึ้นด้วย หากทารกจำเป็นต้องอยู่ที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ และนานเท่าที่ทำได้ การเริ่มให้นมแม่เมื่อทารกพร้อมโดยในระยะแรกอาจให้ปริมาณเพียงเล็กน้อยโดยใช้หลอดฉีดยา จากนั้นใช้อุปกรณ์ช่วยป้อนนมหรือการป้อนนมด้วยถ้วย และเมื่อทารกแข็งแรงขึ้นการดูดนมจากเต้าก็สามารถทำได้ แต่หากทารกครรภ์แฝดที่คลอดครบกำหนดและไม่มีภาวะแทรกซ้อน การให้ลูกดูดนมจากเต้าสามารถทำได้ทันทีหลังคลอดเช่นเดียวกับมารดาที่คลอดบุตรทั่วไป โดยให้ลูกกระตุ้นดูดนมบ่อยๆ ให้เกลี้ยงเต้า น้ำนมแม่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเพียงพอสำหรับทารกครรภ์แฝดโดยไม่ต้องวิตกกังวล

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

มารดาให้ลูกกินนมแม่ คุมกำเนิดได้ไหม

IMG_1021

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????? การคุมกำเนิดขณะมารดาให้นมบุตร สามารถทำได้ โดยมารดาที่ตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนแรก และมารดาปฏิบัติได้โดยยังไม่มีประจำเดือนมา การให้นมลูกจะช่วยป้องกันการตกไข่และการตั้งครรภ์ แต่หากมารดาไม่สามารถปฏิบัติได้หรือมีประจำเดือนมา การคุมกำเนิดด้วยวิธีการต่างๆ สามารถเป็นทางเลือกได้โดยขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละครอบครัว การใช้ถุงยางอนามัย การใส่ห่วงอนามัย การฉีดยาคุมกำเนิด และการฝังยาคุมกำเนิดสามารถใช้ในมารดาที่ให้นมบุตรได้ ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน แนะนำให้กินยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียวจะไม่มีผลกระทบต่อการให้นมบุตร สำหรับยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานที่มีฮอร์โมนรวมควรหลีกเลี่ยงในระยะแรกหลังคลอด หากจำเป็นต้องใช้ควรเริ่มหลังคลอดที่ 6 สัปดาห์ขึ้นไปและหลีกเลี่ยงในมารดาที่มีน้ำนมมาน้อย แต่หากมารดาไม่ต้องการมีบุตรแล้ว การคุมกำเนิดแบบถาวร ได้แก่ การทำหมัน ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสม ดังนั้น จะเห็นว่า การคุมกำเนิดไม่ได้เป็นข้อห้ามในระหว่างการให้นมลูก หากมารดาเข้าใจและได้รับการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การที่ทารกไม่ยอมกินนมแม่ อาจไม่ใช่ต้องการหย่านม

IMG_1025

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????? บางครั้งเมื่อทารกไม่ยอมกินนมแม่ มารดาอาจเข้าใจผิดคิดว่าทารกต้องการหย่านม แต่ในความจริงมีหลายปัจจัยที่ทำให้ทารกไม่ยอมกินนมแม่ โดยทั่วไป ทารกควรกินนมแม่อย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อช่วยในพัฒนาการของสมอง ร่างกาย และการเจริญเติบโตที่เหมาะสมตามวัย รวมทั้งช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันต่อต้านโรค เมื่อทารกไม่ยอมกินนมหรือหยุดกินก่อนเวลาเหมาะสม มารดาและบุคลากรทางการแพทย์ควรหาสาเหตุที่ทำให้ทารกไม่ยอมกินนมแม่ก่อน โดยไม่ควรเหมารวมว่าทารกต้องการหย่านม สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ทารกไม่ยอมกินนมแม่ ได้แก่

????? -ทารกกินนมผสม การที่ทารกกินนมผสม กลไกการกินนมผสมคือ น้ำนมจะไหลเข้าปากและคอทารกโดยทารกไม่ต้องออกแรงในการดูดหรือออกแรงน้อย ทารกไม่ต้องแลบลิ้นยื่นออกเพื่อกดลานนมเหมือนกับการกินนมแม่ ซึ่งจะทำให้ทารกได้ฝึกควบคุมการกินอาหาร แต่ในการกินนมผสมจากขวด ทารกจะกินตามที่มารดาป้อน หากไม่ระมัดระวัง ทารกจะกินนมจำนวนมากเกินไป ทำให้แหวะนม อาเจียน ทารกน้ำหนักเกินเกณฑ์ และปฏิเสธการกินนมแม่ได้

????? -ทารกไม่สบาย มีการติดเชื้อ การติดเชื้อที่พบได้บ่อย คือ การติดเชื้อในทางเดินหายใจ โดยอาจทำให้ทารกมีน้ำมูก และหายใจไม่สะดวกขณะกินนม ซึ่งจะทำให้ทารกไม่ยอมกินนมได้ นอกจากนี้ การติดเชื้อในหูชั้นกลาง ซึ่งจะทำให้ทารกเจ็บในขณะดูดนม ก็ทำให้ทารกไม่ยอมดูดนมได้เช่นกัน

????? -ทารกเริ่มมีฟันขึ้น ทารกจะมีการเจ็บบริเวณเหงือก อาจทำให้ทารกไม่ค่อยยอมดูดนม หรือทารกมีการกัดหัวนมมารดา ทำให้มารดาเจ็บ และกลัวการให้นม

????? -ความเครียดในครอบครัว ส่งผลกระทบต่อมารดา และมีผลต่อทารกที่อาจจะรู้สึกถึงความตึงเครียดไปด้วย ทำให้การดูดนมไม่ดีหรือไม่ยอมดูดนม

????? -การแยกห่างจากมารดา หากทารกห่างเหินจากมารดาไประยะหนึ่งแล้ว การกลับมาให้นมในตอนแรกๆ ทารก อาจไม่ยอมดูดนมได้ อย่างไรก็ตาม การแยกห่างจากมารดาขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการที่ทารกแยกห่างจากมารดาด้วย ทารกที่แยกห่างจากมารดาตั้งแต่ในระยะแรก ยังไม่มีสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ลูกอาจรู้สึกห่างเหิน หรือขาดการจดจำหรือฝังใจกับมารดา ผลกระทบจะมีมากกว่า ซึ่งความห่างเหินจะมีและส่งผลต่อการกินนมของลูกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การวางแผนสำหรับการหย่านมลูก

IMG_1036

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????? ความตั้งใจของมารดาร่วมกับการวางแผนการเลี้ยงลูกด้วยนมที่ดี จะทำให้ความคาดหวังที่จะเลี้ยงลูกได้ตามระยะเวลาประสบความสำเร็จ เมื่อถึงเวลาที่หย่านมลูก มารดาควรมีการวางแผนเช่นกัน คำถามที่ต้องถามตนเองเมื่อมารดาวางแผนการหย่านมลูก ได้แก่

?????? -เวลาที่ให้ลูกหย่านม ลูกอายุเท่าไหร่ โดยทั่วไป ตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลก? แนะนำให้ให้นมลูกอย่างเดียวหกเดือน ต่อจากนั้นให้อาหารตามวัยร่วมกับนมแม่จนครบ 2 ปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน มารดาและครอบครัวอาจวางแผนการให้นมลูกได้ไม่ครบตามแนะนำ หากมารดาให้ลูกหย่านมก่อน 1 ปี การเตรียมอาหารทางเลือกสำหรับทารกที่เหมาะสม คือ นมผสม ซึ่งการเปลี่ยนให้ทารกกินนมผสมในบางราย ทารกอาจไม่ยอมกิน หรืออาจมีการขับถ่ายที่ผิดปกติ ท้องผูกหรือท้องเสียได้ การลองเริ่มนมผสมจึงต้องลองซื้อนมมาขนาดน้อยก่อน เพื่อให้ทารกลองกินดู ว่านมยี่ห้อนี้จะเหมาะสมกับทารกหรือไม่ แล้วจึงซื้อในปริมาณที่มากขึ้น หากมารดาให้ลูกหย่านมหลัง 1 ปี มารดามีทางเลือกของอาหารทดแทนโดยอาจใช้นมผสม นมพาสเจอร์ไรส์ หรือนมสเตอริไลส์ ขึ้นอยู่กับมารดาแต่ละรายที่ตัดสินใจตามความเหมาะสมกับทารก ความสะดวก และเศรษฐานะของมารดา ซึ่งมารดาต้องเตรียมความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นจากนมผสม สำหรับการดูแลทางด้านจิตใจของทารกที่ไม่ได้ดูดนมแม่ การเอาใจใส่ หรือเพิ่มความใกล้ชิดในการดูแลของคนในครอบครัวมากขึ้นจะช่วยให้ทารกปรับตัวได้ดีขึ้น หากมารดามีความจำเป็นต้องออกไปทำงานและไม่สามารถบีบเก็บนมแม่มาให้ได้

?????? -ระยะเวลาที่ใช้ในการหย่านม หากมารดาต้องการหย่านมหรือหยุดให้นมทันที การปรับตัวของร่างกายอาจไม่ทันกับการตัดสินใจ มารดาอาจมีเต้านมคัด เจ็บเต้านม เต้านมอักเสบ หรือเกิดฝีที่เต้านมได้ หากได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสม การวางแผนโดยการค่อยๆ ลดปริมาณการให้นมแม่ลงร่วมกับการค่อยๆ ให้อาหารทดแทนจะทำให้มารดาและทารกปรับตัวได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม การปรับลดการให้นมแม่ลงตามช่วงเวลาก็เป็นทางเลือกหนึ่ง หากมารดาต้องไปทำงานกลางวันและไม่สามารถบีบเก็บน้ำนมได้ การให้นมแม่ในช่วงเวลากลางคืนก็ยังมีประโยชน์กับทารก โดยเมื่อมารดาลดปริมาณการให้น้อยลง? การผลิตน้ำนมจะลดลงเอง และทารกจะปรับตัว จนหย่านมได้เอง ระยะเวลาในการเตรียมตัวสำหรับการหย่านมในมารดาแต่ละคนอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างของมารดาและทารกโดยยึดเป้าประสงค์หลักคือ ให้ทารกกินนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่นานได้ โดยการหย่านมมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจมารดาและทารกน้อยที่สุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

เมื่อแม่ต้องการให้ลูกหย่านม

362225_8693264_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????? เมื่อมารดาพูดถึงการหย่านมหรือการหยุดให้นมลูก คงต้องสอบถามความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า มารดาหมายถึงอะไร บางครั้งการที่มารดาพูดถึงการหย่านม อาจหมายถึงการเริ่มที่จะให้อาหารเสริมตามวัย หรือหมายถึงการหยุดให้นมในเวลากลางคืน หรือหมายถึงความต้องการที่จะหยุดให้นมในวันนี้ทันที หรือในช่วงนี้ หรือหยุดการให้นมไปตลอด

????? การเริ่มให้นมจะมีกระบวนการที่มารดาต้องปรับตัวและต้องใช้เวลาเช่นเดียวกันกับการหย่านม มารดาควรต้องทราบว่าร่างกายและจิตใจมารดาต้องใช้เวลาในการปรับตัวเช่นกัน การหยุดให้นมแม่ทันที มารดาอาจมีอาการตึงคัดเต้านม เจ็บ หรือมีการอักเสบของเต้านมได้ หากดูแลไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การหย่านมแม่ควรเลือกในช่วงของอายุของทารกที่เหมาะสม โดยหากมารดามีการเตรียมตัว และให้เวลากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การให้ลูกกินนมแม่และการหย่านมจะเป็นความรู้สึกที่ดีที่ฝังอยู่ในจิตใจของมารดาและทารก เมื่อได้ระลึกถึงความหลัง

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.