รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การดูแลแผลฝีเย็บ
-ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งที่อาบน้ำ
-ควรแช่น้ำอุ่นวันละ 15-20 นาที
-ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือสวนล้างช่องคลอดจนกระทั่งน้ำคาวปลาหมด
-หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกระทั่ง 3-4 สัปดาห์หลังคลอดหรือจนกระทั่งน้ำคาวปลาเปลี่ยนเป็นไม่มีสีน้ำตาลแดง
-การล้างบริเวณอวัยวะเพศ ควรล้างจากทางด้านหน้าไปด้านหลัง
-แนะนำให้อาบน้ำด้วยฝักบัว และควรให้แผลผ่าตัดคลอดแห้ง สำหรับแผลบริเวณฝีเย็บหากเปียกควรซับให้แห้ง
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ลักษณะน้ำคาวปลา
-น้ำคาวปลาจะมีประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังคลอด
-ปริมาณของน้ำคาวปลาควรจะน้อยลงและสีควรจะจางลง
-น้ำคาวปลาอาจเป็นสีแดงเพิ่มขึ้นในกรณีคุณแม่มีกิจกรรมต่างๆ มาก
-หากมีน้ำคาวปลาเป็นเลือดสีแดงและมามากโดยใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 1 ผืนต่อชั่วโมงหรือมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกมาจากช่องคลอดควรรีบไปปรึกษาแพทย์
-การกลับมามีประจำเดือนปกติจะเกิดขึ้นใน 6-8 สัปดาห์
-หากคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประจำเดือนอาจมาช้ากว่า 8 สัปดาห์หรืออาจจะมีมาหลังจากหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? หลังจากการพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังคลอด เมื่อคุณหมออนุญาตให้คุณแม่กลับบ้านได้ คุณแม่อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นหลายคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของร่างกาย กิจกรรมที่สามารถทำได้และการดูแลตนเองในช่วงหลังคลอด ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
การปฏิบัติตัวและกิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้
- -การปฏิบัติกิจกรรมประจำวันจะค่อยๆ กลับมาปกติทีละน้อย
- -คุณแม่ควรจะมีเวลาพักระหว่างวันและในช่วงที่ทารกหลับ
- -หลีกเลี่ยงการทำงานหรือเล่นกีฬาหนักและการยกของหนักเกินกว่า 4.5 กิโลกรัม สำหรับการเดินช้าๆ หรือมีความเร็วปานกลางสามารถทำได้
- -หากคุณแม่ผ่าตัดคลอด ต้องระมัดระวังเรื่องการขึ้นบันไดหรือขับรถ ควรรอประมาณ 4-5 สัปดาห์หลังคลอดเพื่อให้ความแข็งแรงของแผลดีก่อน
- -ในคุณแม่ที่ผ่าตัดคอลด ควรให้ความช่วยเหลือจนกระทั่งคุณแม่มั่นใจในการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน
- -ควรสอบถามการออกกำลังกายที่คุณแม่สามารถทำได้หลังคลอด โดยเฉพาะในรายที่ผ่าตัดคลอด
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
???????????? คุณแม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารตามปิระมิดอาหาร โดยลดอาหารจำพวกไขมันและของหวาน และควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ลักษณะการออกกำลังกายอาจจะออกโดยการว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินหรือแอโรบิคก็สามารถทำได้
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
- ขณะที่คุณแม่ให้นมลูก น้ำหนักจะลดลงเข้าสู่น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์โดยที่ไม่ควรจะลดต่ำกว่าเกณฑ์นี้และไม่ควรลดเร็วเกินไป
- เมื่อให้นมลูก คุณแม่มักกระหายน้ำมากขึ้น คุณแม่จึงควรดื่มน้ำอย่างน้อยหนึ่งแก้วหลังให้นมลูก
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขณะที่ให้นมลูก เนื่องจากแอลกอฮอล์จะผ่านทางน้ำนมได้
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาหรือกาแฟ ไม่ควรดื่มเกินวันละสอง
- คุณแม่อาจยังคงต้องกินยาบำรุงเสริมเหมือนกับก่อนการคลอด โดยปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสม
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)