รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ปกติแล้วในการคลอดที่โรงพยาบาล เมื่อมารดาปวดเบ่งคลอดและปากมดลูกเปิดหมด ทารกพร้อมที่จะคลอด มารดาจะได้รับการจัดท่าให้เบ่งคลอด โดยท่าที่นิยมใช้ในโรงพยาบาลคือท่ามารดานอนหงายและยกขาทั้งสองข้างขึ้นบนที่รองขาพร้อมกับแยกขาออกกว้าง ซึ่งทางการแพทย์เรียกท่านี้ว่า? ท่าขบนิ่ว (lithotomy position) ท่านี้ไม่ได้ส่งเสริมการเบ่งคลอดเนื่องจากการเบ่งคลอดจะทำได้ยากในท่าที่มารดานอนหงายและต้องยกขาขึ้น ดังนั้น การจะช่วยให้มารดาเบ่งคลอดได้ดีขึ้นควรปรับหลังของมารดาให้ยกสูงขึ้น หรืออยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน การเบ่งคลอดของทารกก็จะดีขึ้น เนื่องจากมีแรงดึงดูดของโลกช่วยให้ทารกลงมาตามช่องคลอดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาว่า หากให้มารดาคลอดในท่านั่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดการฉีดขาดของหูรูดทวารหนักได้มากกว่าโดยเฉพาะในมารดาในท้องหลัง สำหรับท้องแรกการคลอด เมื่อเปรียบเทียบกับท่านั่ง ท่านอนตะแคงจะมีการฉีดขาดของหูรูดน้อยกว่า1 ขณะที่ท่าขบนิ่วมารดาจะมีการฉีกขาดของหูรูดมากกว่า สรุปแล้ว ท่าคลอดที่มีแนวโน้มจะเบ่งคลอดได้ง่าย มักมีโอกาสเสี่ยงต่อการฉีกขาดของหูรูดทวารหนักมากกว่า แต่ท่าขบนิ่วนั้นไม่เหมาะสมในการเบ่งคลอด ดังนั้น ในการจัดท่ามารดาจึงควรเลือกให้เหมาะสมโดยให้มีความสมดุลกันระหว่างการคลอดที่ไม่ยากและเสี่ยงต่อการฉีกขาดของหูรูดทวารหนักน้อยกว่าด้วย
เอกสารอ้างอิง
Elvander C, Ahlberg M, Thies-Lagergren L, Cnattingius S, Stephansson O. Birth position and obstetric anal sphincter injury: a population-based study of 113 000 spontaneous births. BMC Pregnancy Childbirth 2015; 15:252.
?
?
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?4.โรคซึมเศร้าหลังคลอดของบิดา หรือ Paternal postpartum depression เป็นอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในบิดาในช่วงหลังคลอด ลักษณะจะมีอาการซึมเศร้า อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาการนี้มักพบในช่วงสามเดือนแรกหลังคลอด แต่มีรายงานว่าอาจพบได้ถึงในช่วง 1 ปีหลังคลอด เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่เกิดจากการเผชิญเหตุการณ์หลังคลอดร่วมกับความเสี่ยงจากบุคลิกภาพ1 การดูแลรักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอดของบิดา ต้องมีการวางแผนการดูแลรักษาโดยแพทย์และจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาร่วมกับการเอาใจใส่และความเข้าใจของครอบครัว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาสามารถทำได้ตามปกติ
เอกสารอ้างอิง
Paulson JF, Bazemore SD. Prenatal and postpartum depression in fathers and its association with maternal depression: a meta-analysis. JAMA 2010;303:1961-9.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? 3.โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum depression มารดาจะมีอาการซึมเศร้า ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเลี้ยงดูทารก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่วมกับมารดาอาจรู้สึกผิด โทษตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำร้ายตัวเองและทำร้ายบุตรได้ อาการนี้เกิดได้ในช่วงหลังคลอดเช่น แต่อาการมักยาวนานและต่อเนื่องกันนานกว่าสองสัปดาห์ การดูแลโรคซึมเศร้าหลังคลอดนั้นมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์และทีมที่ร่วมในการรักษา เนื่องจากมารดามีอาการซึมเศร้ารุนแรงในระดับที่ถือว่าผิดปกติและนับเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน การใช้ยาร่วมในการรักษามีความจำเป็น ยาที่ใช้มีหลายชนิด โดยที่ยาที่มักเลือกใช้ก่อนมักใช้ยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) ได้แก่ sertraline (Zoloft), paroxetine (Paxil) และ escitalopram (Lexapro) เนื่องจากระดับยาที่พบในน้ำนมมีระดับต่ำ สำหรับยา Fluoxetine (Prozac) ใช้รักษาได้ดี แต่ค่าครึ่งชีวิตของยายาวนานกว่า ยาจะผ่านไปที่น้ำนมมากกว่า ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ โดยหากมีความจำเป็น ควรมีการติดตามดูอาการข้างเคียงที่อาจพบได้ในทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถทำได้ หากมารดาปราศจากความคิดที่จะทำร้ายตนเองหรือทำร้ายลูก ดังนั้น ก่อนการวางแผนการรักษาจำเป็นต้องมีการประเมินมารดาถึงความเสี่ยงนี้
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? 2. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum blues หรือ baby blues มารดาจะมีอาการเศร้า กระวนกระวาย ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อาการนี้มักพบในช่วง 2-3 วันหลังคลอด โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปในสองสัปดาห์ สาเหตุเชื่อว่าเป็นจากการลดระดับของฮอร์โมนในช่วงหลังคลอด การดูแลภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ทำโดยอธิบายให้มารดาและครอบครัวเข้าใจถึงลักษณะการเกิดอาการ ความร่วมมือของสามีและครอบครัวที่ดูแลเอาใจใส่ ลดงาน ลดภาระและลดความวิตกกังวลให้แก่มารดา จะช่วยสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาได้ การให้นมลูกจะช่วยสร้างความรู้สึกที่มีคุณค่าแก่มารดา ดังนั้น ไม่ควรให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาบางรายที่มีอาการซึมเศร้าอาจนอนไม่หลับ การจัดให้มารดาได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยในการรักษาด้วย การรักษาด้วยยาส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นในภาวะนี้
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ?อาการซึมเศร้าที่พบหลังคลอดแบ่งเป็น 4 ลักษณะตามความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาการเกิดอาการซึมเศร้า และผู้ที่มีอาการ ซึ่งการดูแลในแต่ละลักษณะอาการ มีดังนี้1 ,2
อารมณ์เศร้าก่อนการให้นม หรือ Dysphoric Milk Ejection Reflux (D-MER) มารดาจะมีอาการเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย ร้องไห้ โกรธ ความรู้สึกขาดความช่วยเหลือ หรือขาดความหวังก่อนที่จะให้นมบุตร อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียงแค่สองหรือสามนาทีแล้วหายไป สาเหตุของอาการซึมเศร้าเชื่อว่าเกิดจากโดปามีน (dopamine) จะมีระดับที่ลดลง การดูแลอาการเศร้าก่อนการให้นมนั้น ทำโดยอธิบายให้มารดาเข้าใจถึงลักษณะการเกิดอาการ ให้ความมั่นใจ ดูแลเอาใจใส่ และลดความวิตกกังวลให้แก่มารดาร่วมกับความร่วมมือของครอบครัว ฝึกผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึกๆ ฟังดนตรีที่ชอบ หรือใช้กลิ่นบำบัด (aromatherapy) โดยอาจใช้เทียนหอมในกลิ่นลาเวนเดอร์ที่ช่วยให้มารดารู้สึกผ่อนคลายได้ อาการแปรปรวนก่อนการให้นมโดยทั่วไปจะดีขึ้นเองและหายเองเมื่อเวลาผ่านไปราว 2-3 เดือน โดยการให้นมแม่ยังสามารถให้ได้ปกติ
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)