คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยชีวิตทั้งแม่และลูก

latching2-1-o

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีว่า นมแม่มีประโยชน์มากทั้งต่อมารดาและทารก ในมารดาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ โรคเบาหวาน และช่วยในการคุมกำเนิดได้ ในทารกช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ โรคท้องร่วง การอักเสบของหูส่วนกลาง โรคหอบหืด โรคอ้วน และมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก รวมถึงเพิ่มความเฉลียวฉลาด โดยมีการคำนวณเฉพาะการป้องกันมะเร็งเต้านม ในมารดาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในปัจจุบันป้องกันมารดาทั่วโลกจากการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมปีละราว 20000 คน สำหรับในทารก หากได้กินนมแม่จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตของทารกทั่วโลกได้ราวปีละ 800000 คน1 ดังนั้น สิ่งที่เป็นพื้นฐานธรรมชาติที่ง่ายในการปฏิบัติที่ช่วยเสริมสร้างชีวิตให้มีคุณภาพที่ยาวนานขึ้น จึงควรค่าในการส่งเสริมสนับสนุน และลงทุนเพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Victora CG, Bahl R, Barros AJ, et al. Breastfeeding in the 21st century: epidemiology, mechanisms, and lifelong effect. Lancet 2016;387:475-90.

?

การตั้งครรภ์และให้นมบุตรมีผลเสียต่อมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่

00025-1-1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การติดเชื้อเอชไอวีพบได้ในคนทั่วไปทั้งในบุรุษและสตรี โดยอุบัติการณ์จะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งในปัจจุบันการใช้ชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี หากดูแลตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ออกกำลังกาย และลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้ แต่เริ่มมีคำถามว่า หากสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวีตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือคุมกำเนิดมีผลต่อตัวโรคที่เป็นอยู่ไหม จะทำให้โรคแย่ลงหรือไม่ มีการศึกษาเพื่อตอบคำถามนี้ พบว่า การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร หรือการคุมกำเนิดไม่ได้ทำให้การดำเนินของโรคแย่ลง1

? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม สตรีที่ตั้งครรภ์ควรทราบถึงโอกาสที่บุตรจะติดเชื้อผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดซึ่งหากมีการดูแลที่เหมาะสม โอกาสที่จะติดเชื้อน้อยราวร้อยละ 1 สำหรับการให้นมบุตร หากมีทางเลือกแนะนำการใช้นมผสม แต่หากจำเป็นต้องให้ลูกกินนมแม่ การพาสเจอไรส์นมแม่ หรือการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่าการกินนมแม่ร่วมกับนมผสม สำหรับการคุมกำเนิดสามารถใช้การคุมกำเนิดโดยการกินยาคุมกำเนิด การฉีดยาหรือใช้ยาฝังคุมกำเนิดได้อย่างปลอดภัยเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผนหรือไม่ได้ตั้งใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Wall KM, Kilembe W, Haddad L, et al. Hormonal Contraception, Pregnancy, Breastfeeding, and Risk of HIV Disease Progression Among Zambian Women. J Acquir Immune Defic Syndr 2016;71:345-52.

มารดาที่รู้สึกด้อยค่าเสี่ยงต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

IMG_0712

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การรู้สึกด้อยค่ามักพบในมารดาที่มีอาการซึมเศร้า ซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว โดยพบว่า มารดาที่รู้สึกด้อยค่าหรือมีอาการซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหนึ่งเดือนแรก1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์นอกจากจะต้องใส่ใจกับการสังเกตการณ์เข้าเต้าและการกินนมที่เหมาะสมของทารกแล้ว ยังต้องสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของมารดาร่วมกันไปด้วยเสมอ เนื่องจากการจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องเกิดจากความพร้อมของทั้งมารดาและทารก

? ? ? ? ? แต่ในทางกลับกัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลับช่วยลดการเกิดการซึมเศร้าหลังคลอด โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ในช่วงสามเดือนหลังคลอด2 และความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดพบในมารดาที่ให้นมแม่ร้อยละ 2.5 ขณะที่พบร้อยละ 19.4 ในมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่3

เอกสารอ้างอิง

  1. Zanardo V, Volpe F, Giustardi A, Canella A, Straface G, Soldera G. Body image in breastfeeding women with depressive symptoms: a prospective study. J Matern Fetal Neonatal Med 2016;29:836-40.
  2. Figueiredo B, Canario C, Field T. Breastfeeding is negatively affected by prenatal depression and reduces postpartum depression. Psychol Med 2014;44:927-36.
  3. Tashakori A, Behbahani AZ, Irani RD. Comparison Of Prevalence Of Postpartum Depression Symptoms Between Breastfeeding Mothers And Non-breastfeeding Mothers. Iran J Psychiatry 2012;7:61-5.

?

 

 

การกินนมแม่จะช่วยให้ทารกอารมณ์ดี

 

IMG_0721

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การกินนมแม่นั้น ขณะที่มารดาให้นมบุตร ได้ส่งผ่านความรักความอบอุ่นผ่านทางการสัมผัส การสบตา และการพูดจาระหว่างการให้นม ซึ่งหากมารดาได้ใช้โอกาสนี้ในการสื่อสารและถ่ายทอดอารมณ์ไปยังทารก เชื่อว่าทารกจะสัมผัสและรับรู้ได้ อย่างไรก็ตาม อารมณ์ของทารกเป็นสิ่งที่วัดยาก มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการกินนมแม่กับอาการหงุดหงิดร้องกวนของทารก ซึ่งพบว่า ระยะเวลาของการกินนมแม่แปรผกผันกับการหงุดหงิดหรือร้องกวนของทารกที่อายุเก้าเดือน (OR = 0.98, 95% CI: 0.97-0.99)1 หมายความว่า ทารกที่กินนมแม่นานจะหงุดหงิดหรือร้องกวนน้อยกว่าทารกที่กินนมแม่ในช่วงสั้นๆ ซึ่งอาจจะตีความเป็นนัยว่า ?ทารกอารมณ์ดีมากกว่า? นอกจากนี้ การให้ทารกกินนมแม่ยังช่วยพัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนดและทารกที่คลอดครบกำหนด โดยทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่กินนมแม่จะมีพัฒนาการที่ดีกว่าทารกที่กินนมผสมเมื่อเปรียบเทียบที่อายุหนึ่งปีครึ่ง เจ็ดปีครึ่งและแปดปี2 และทารกที่คลอดครบกำหนดจะมีพัฒนาการทางการมองเห็นได้ดีกว่าทารกที่กินนมผสม3 รวมทั้งทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวโดยทั่วไปดีกว่า4 และมีการพัฒนาการของสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเนื้อสมองสีขาวดีกว่าด้วย5

เอกสารอ้างอิง

  1. Taut C, Kelly A, Zgaga L. The Association Between Infant Temperament and Breastfeeding Duration: A Cross-Sectional Study. Breastfeed Med 2016.
  2. Lucas A, Morley R, Cole TJ, Lister G, Leeson-Payne C. Breast milk and subsequent intelligence quotient in children born preterm. Lancet 1992;339:261-4.
  3. Jorgensen MH, Hernell O, Lund P, Holmer G, Michaelsen KF. Visual acuity and erythrocyte docosahexaenoic acid status in breast-fed and formula-fed term infants during the first four months of life. Lipids 1996;31:99-105.
  4. Bouwstra H, Boersma ER, Boehm G, Dijck-Brouwer DA, Muskiet FA, Hadders-Algra M. Exclusive breastfeeding of healthy term infants for at least 6 weeks improves neurological condition. J Nutr 2003;133:4243-5.
  5. Isaacs EB, Fischl BR, Quinn BT, Chong WK, Gadian DG, Lucas A. Impact of breast milk on intelligence quotient, brain size, and white matter development. Pediatr Res 2010;67:357-62.

 

ลักษณะหัวนมมารดามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่

breast stimulation2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในการเข้าเต้าดูดนมของทารก ทารกจะอมหัวนมและลานนมเข้าไปในปาก ใช้ลิ้นที่ยื่นออกมากดไล่น้ำนมในท่อน้ำนมที่ลานนมโดยกดเข้ากับเพดานปาก แรงดูดของทารกร่วมกับกลไกน้ำนมพุ่ง (oxytocin reflex) จะช่วยให้น้ำนมไหลออกมาได้ดี ทารกดูดและกลืนน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ทารกมีหัวนมที่มีลักษณะหัวนมบอด แบนหรือสั้น อาจจะทำให้การอมหัวนมและลานนมในทารกบางรายอาจเลื่อนหลุดได้ง่าย และในกรณีที่ลักษณะหัวนมใหญ่ บวมและยาวก็อาจจะทำให้ทารกอมได้เฉพาะหัวนมโดยอมไม่ถึงลานนม การเข้าเต้าดูดนมอาจทำได้ยากขึ้น1 อย่างไรก็ตาม ทารกส่วนใหญ่ ไม่ได้เป็นปัญหากับลักษณะหัวนมของมารดา ทารกจะเรียนรู้และปรับตัวในการเข้าเต้า ในกรณีที่เป็นปัญหาในการเข้าเต้าได้ยาก อาจต้องใช้การป้อนนมจากการบีบหรือปั๊มนมในระยะแรก เมื่อทารกโตขึ้น อ้าปากได้กว้างขึ้น อมหัวนมและลานนมได้ลึกขึ้น จะสามารถเอาชนะอุปสรรคในเรื่องลักษณะหัวนมของมารดาได้ หากบุคลากรทางการแพทย์ได้อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงเรื่องนี้ มารดาลดความวิตกกังวลลง ความมั่นใจที่จะคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีมากขึ้น

? ? ? ? ? ?ในประเทศไทย ความเชื่อเรื่องลักษณะของหัวนมที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีอยู่อย่างแพร่หลายและมีการศึกษาวิจัยถึงเรื่องความยาวปกติ ความยาวหัวนมที่สั้นและลักษณะของหัวนมที่มีผลต่อการเข้าเต้าและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลายการวิจัย2-4 แต่ต้องจำไว้เสมอว่า จะมีทารกเพียงบางส่วนเท่านั้นที่อาจจะเข้าเต้าได้ยากขึ้นในระยะแรก ดังนั้น การไม่ไปตีตราว่ามารดามีปัญหาเรื่องหัวนมจนทำให้มารดาเชื่อว่าตนเองมีปัญหาจนให้นมไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ การเอาใจใส่ติดตามในการเข้าเต้าของมารดาและทารกในแต่ละคู่จนกระทั่งมารดาให้นมได้อย่างมั่นใจก่อนกลับบ้านในมารดาหลังคลอดทุกรายเป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยหากมารดายังเข้าเต้าไม่ได้ดีและจำเป็นต้องอนุญาตให้กลับบ้าน การนัดติดตามดูอย่างใกล้ชิดในสัปดาห์แรกเป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่งยวด ซึ่งในสัปดาห์แรกเป็นเสมือนสัปดาห์ทองในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Paritakul P, Ketsuwan S, Wongin S. Nipple length and its relation to success in breastfeeding. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 1:S1-4.
  3. Chanprapaph P, Luttarapakul J, Siribariruck S, Boonyawanichkul S. Outcome of non-protractile nipple correction with breast cups in pregnant women: a randomized controlled trial. Breastfeed Med 2013;8:408-12.
  4. Thanaboonyawat I, Chanprapaph P, Lattalapkul J, Rongluen S. Pilot study of normal development of nipples during pregnancy. J Hum Lact 2013;29:480-3.