คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวช่วยลดน้ำหนักหลังคลอด

IMG_1678

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ???ปัจจุบัน ความใส่ใจในเรื่องสุขภาพของคนในสังคมมีเพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนก็ยังพบมากขึ้นด้วย ในระยะของการตั้งครรภ์โดยทั่วไปในสตรีที่มีน้ำหนักปกติ จะมีน้ำหนักขึ้นราว 10-12 กิโลกรัม แต่ค่านิยมในการบำรุงหรือให้มารดารับประทานอาหารอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้บางคนน้ำหนักเพิ่มขึ้น 15-20 กิโลกรัม เมื่อน้ำหนักมารดาเพิ่มขึ้นมากเกิน ก็อาจนำมาซึ่งทารกที่ตัวโต คลอดยาก และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในระหว่างฝากครรภ์และคลอด โดยในระยะหลังคลอด มารดาหลังคลอดยังต้องวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไปและน้ำหนักที่เกินอยู่มาก นอกจากการระมัดระวังดูแลเรื่องอาหารการกินในระหว่างการตั้งครรภ์ให้เหมาะสมแล้ว การให้นมลูกหลังคลอดในหกเดือนแรกยังเป็นวิธีหนึ่งที่พบว่าช่วยในการลดน้ำหนักของมารดาลงได้1 ซึ่งนอกเหนือจากการให้ประโยชน์ในเรื่องสุขภาพที่ดีและความเฉลียวฉลาดแก่ทารกแล้ว ยังมีผลดีต่อสุขภาพมารดาในเรื่องอื่นๆ ด้วย สำหรับความวิตกกังวลอีกเรื่องที่พบบ่อย คือ? การให้นมแล้วเต้านมจะหย่อนยานนั้น เป็นเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง? แน่นอนการที่มารดาให้นมจะมีเต้านมที่ขยาย ตึงคัดมากขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอาจจะเป็นที่ชื่นชอบในสตรีบางคนที่เต้านมเล็ก ดูไม่มีหน้าอก เมื่อเต้านมขยายก็อาจจะใส่เสื้อผ้าได้สวยขึ้น สำหรับในสตรีที่มีเต้านมใหญ่ การใส่เสื้อชั้นในที่พยุงทรงมีความจำเป็น ความหย่อนคล้อยของเต้านมขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเต้านม การใส่เสื้อผ้าที่พยุงทรงอย่างเหมาะสม และการออกกำลังกายให้มีเนื้อเยื่อที่ตึงตัวและกระชับ ดังนั้น องค์การอนามัยจึงพยายามส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก ซึ่งสนับสนุนให้น้ำหนักมารดาลดลงกลับสู่ภาวะก่อนตั้งครรภ์ได้ดี และยังลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Lopez-Olmedo N, Hernandez-Cordero S, Neufeld LM, Garcia-Guerra A, Mejia-Rodriguez F, Mendez Gomez-Humaran I. The Associations of Maternal Weight Change with Breastfeeding, Diet and Physical Activity During the Postpartum Period. Matern Child Health J 2016;20:270-80.

เด็กกินนมแม่ เฉลียวฉลาดกว่า เพราะเนื้อสมองมากกว่า

IMG_1593

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ???ทารกแรกเกิดที่กินนมแม่ นอกจากจะได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดาแล้ว ยังพบว่ามีความเฉลียวฉลาดมากกว่า ซึ่งมีการศึกษาเปรียบเทียบเนื้อสมองของทารกที่กินนมแม่และทารกที่ไม่ได้กินนมแม่เมื่อโตขึ้น พบว่า ขนาดของเนื้อสมองของทารกที่กินนมแม่มีมากกว่า โดยพบว่าส่วนของเนื้อสมองที่เป็นสีเทามีมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อสมองสีเทาที่อยู่บริเวณสมองส่วนหน้า1 ซึ่งเชื่อว่าเป็นกลไกที่จะอธิบายถึงการที่ทารกที่กินนมแม่มีระดับสติปัญญาหรือไอคิวที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการศึกษาเพื่อเติมเพื่ออธิบายในรายละเอียดของผลลัพธ์นี้

เอกสารอ้างอิง

  1. Luby JL, Belden AC, Whalen D, Harms MP, Barch DM. Breastfeeding and Childhood IQ: The Mediating Role of Gray Matter Volume. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 2016;55:367-75.

การกินยาดองเหล้าในระหว่างการให้นมลูก

alcohol drinking3 (21)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ???ยาดองเหล้าเป็นสิ่งที่คุ้ยเคยในวัฒนธรรมไทย โดยทั่วไป ยาดองเหล้ามักมีสมุนไพรหลากหลายชนิดที่เป็นส่วนผสมในยาดองเหล้า โดยสรรพคุณของยาดองเหล้านั้น จะขึ้นอยู่กับสมุนไพรที่เป็นส่วนผสม สมุนไพรบางชนิดมีการศึกษาที่เป็นระบบและได้รับการรับรองว่ามีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม การใช้แอลกอฮอล์หรือเหล้าเป็นตัวทำละลายสารที่ออกฤทธิ์ของสมุนไพรนั้น อาจมีผลเสียในระหว่างการให้นมลูก เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า การกินเหล้าในระหว่างการตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดความผิดปกติของทารกที่เกิดมาได้ โดยมีหน้าตาและพัฒนาการที่ผิดปกติ เช่นเดียวกันในระหว่างการให้นมบุตร หากมารดากินเหล้า จะเกิดผลกระทบต่อทารกได้ โดยมีผลต่อสติปัญญาและพัฒนาการ1 ซึ่งในต่างประเทศการได้รับแอลกอฮอล์อาจเกิดจากการที่มารดากินเหล้าโดยตรง แต่ในประเทศไทย การได้รับแอลกอฮอล์หรือเหล้าอาจได้รับโดยทั้งตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ทั้งจากวัฒนธรรมการกินยาดองเหล้าหรือการกินยาขับน้ำคาวปลาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือเหล้า ซึ่งบางครั้งมารดาอาจไม่ทราบหรือไม่ได้ดูรายละเอียดของส่วนผสมของสลากของยาขับน้ำคาวปลา การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับมารดาให้แพร่หลายมากขึ้นในหลากหลายช่องทางจึงยังมีความจำเป็น สำหรับการใช้สมุนไพรในระหว่างการให้นมบุตร หากมีความเข้าใจและได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง การใช้สมุนไพรจะใช้ในรูปแบบการต้มหรือการทำเป็นรูปแบบยาเม็ด ซึ่งจะไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือเหล้าที่มีผลเสียต่อทารก อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้สมุนไพรที่มีข้อมูลแสดงถึงความปลอดภัยของทารกและมารดาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. May PA, Hasken JM, Blankenship J, et al. Breastfeeding and maternal alcohol use: Prevalence and effects on child outcomes and fetal alcohol spectrum disorders. Reprod Toxicol 2016;63:13-21.

นมแม่วันละข้อ4

นมแม่วันละข้อ3