รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การใช้หัวนมหลอกของทารกมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่าทารกที่เริ่มนมแม่เร็วภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจะลดการใช้หัวนมหลอกในปีแรกร้อยละ 25 และทารกที่เริ่มกินนมแม่ภายใน30 นาทีถึง 6 ชั่วโมงหลังคลอดจะลดการใช้หัวนมหลอกในปีแรกร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับทารกที่เริ่มกินนมแม่หลังจากนั้นหรือทารกที่ไม่ได้กินนมแม่1 ดังนั้น การแนะนำและให้คำปรึกษากับมารดาและครอบครัวถึงประโยชน์ของการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วนอกจากจะช่วยเพิ่มความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้วนั้น ยังจะช่วยลดการใช้หัวนมหลอกในทารกในช่วงขวบปีแรกได้ด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Braga VS, Vitolo MR, Kramer PF,
Feldens EG, Feldens CA. Breastfeeding in the First Hours of Life Protects
Against Pacifier Use: A Birth Cohort Study. Breastfeed Med 2020;15:516-21.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ปัจจุบันมือถือถือเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่คนในสังคมจำเป็นต้องมี ในประเทศไทยร้อยละ 80 ของประชากรมีมือถือ และพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ที่มีมือถือจะมีการใช้สื่อเครือข่ายสังคมทางอินเตอร์เน็ตอย่างน้อย 1 แอปพริเคชั่น โดยในคนไทยจะมีการใช้ line สูงสุด รองลงมาคือ facebook มีการศึกษาพบว่า การรวมตัวเป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือกันในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา และช่วยเพิ่มอัตราและระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย1 ดังนั้น เทคโนลีโยในการสื่อสารในยุคใหม่ อาจเป็นหนทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
เอกสารอ้างอิง
1. Black R, McLaughlin M, Giles M.
Women’s experience of social media breastfeeding support and its impact on
extended breastfeeding success: A social cognitive perspective. Br J Health
Psychol 2020;25:754-71.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ปัจจุบันมีการส่งเสริมการปลูกกัญชาเพื่อการค้ามากขึ้นและการตื่นตัวในการใช้กัญชาทางการแพทย์สูงขึ้น จึงมีโอกาสที่จะพบการใช้กัญชาในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกเพิ่มขึ้นด้วย มีการศึกษาในประเทศแคนาดาที่มีการเปิดเสรีในการปลูกกัญชาพบการใช้กัญชาในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกเพิ่มขึ้น ทั้ง ๆ ที่มารดาส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 รับรู้ว่าการใช้กัญชาในระหว่างที่มารดาตั้งครรภ์และให้นมลูกจะเกิดผลเสียต่อทารกได้ โดยพบมีการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท ระบบประสาท และการพัฒนาการของการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติได้ แต่ก็ยังพบมารดาถึงร้อยละ 4 ที่ยังมีการใช้กัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมลูก1 การศึกษาถึงเหตุผลว่าทำไมมารดาจึงยังคงมีการใช้กัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมลูกจึงมีความจำเป็น เพื่อที่จะเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาการใช้กัญชาในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกที่เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอันตรายที่จะเกิดกับทารกจากการใช้กัญชาในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก
เอกสารอ้างอิง
1. Bartlett K, Kaarid K, Gervais N,
et al. Pregnant Canadians’ Perceptions About the Transmission of Cannabis in
Pregnancy and While Breastfeeding and the Impact of Information From Health
Care Providers on Discontinuation of Use. J Obstet Gynaecol Can 2020.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
สังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงจากสภาวะเดิมที่เป็นอยู่ (disruption) จากดิจิทัลเทคโนโลยีเกิดขึ้นในวงการต่าง ๆ ได้แก่ วงการสื่อ วงการแพทย์ และวงการอาหาร โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างภาวะเครียดให้แก่คนในสังคม ซึ่งส่งผลต่อการมีการใช้ความรุนแรง มีการใช้อำนาจหรือกลั่นแกล้งต่อบุคคลที่อ่อนแอหรือด้อยกว่า (bully) ทำให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ในกลุ่มบุคคลที่อ่อนแอ รวมทั้งในมารดาที่ให้นมลูก มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงต่อมารดาที่ให้นมลูกพบว่า มารดาในกลุ่มที่ทำการศึกษาที่ได้รับการกระทำรุนแรงจากสามีทั้งหมดจำนวน 21 คน มีมารดาเพียงคนเดียวที่สามารถให้นมลูกอย่างเดียวได้จนถึง 6 เดือน1 ดังนั้น การจัดตั้งหรือวางแนวการดูแลมารดาที่ได้รับการถูกกระทำความรุนแรง และการพัฒนาเครือข่ายที่จะรองรับปัญหาในเรื่องนี้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นหนทางอีกหนทางหนึ่งในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
1. Baraldi NG, Lettiere-Viana A,
Carlos DM, Salim NR, Pimentel DTR, Stefanello J. The meaning of the social
support network for women in situations of violence and breastfeeding. Rev Lat
Am Enfermagem 2020;28:e3316.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วนก่อนการตั้งครรภ์จะส่งผลในการเพิ่มภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งในระยะของการตั้งครรภ์ การคลอด รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยมีการศึกษาพบว่า การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ซึ่งจะพบดัชนีมวลกายของมารดายิ่งสูงจะยิ่งมีความสัมพันธ์กับการลดลงของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น โดยพบว่า มารดาที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจะมีโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอดน้อยกว่ามารดาที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 49 มี ในระยะหลังคลอด จะมีการเริ่มต้นการให้ลูกกินนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดน้อยกว่ามารดาที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละร้อยละ 42 และมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนออกจากโรงพยาบาลน้อยกว่ามารดาที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละร้อยละ 431 จึงควรถือว่ามารดาที่มีน้ำหนักมากหรืออ้วนเป็นภาวะเสี่ยงอย่างหนึ่งในการที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรที่บุคลากรทางการแพทย์ควรให้การดูแลและให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวอย่างใกล้ชิด
เอกสารอ้างอิง
1. Ballesta-Castillejos A,
Gomez-Salgado J, Rodriguez-Almagro J, Ortiz-Esquinas I, Hernandez-Martinez A.
Relationship between maternal body mass index with the onset of breastfeeding
and its associated problems: an online survey. Int Breastfeed J 2020;15:55.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)