คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

สุขภาพจิตของมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

สุขภาพจิตของมารดามีผลต่อการตั้งครรภ์และการให้นมบุตรหลังคลอด มารดาที่มีภาวะเครียดหรืออาการซึมเศร้าจะความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 และมีมาตรการจำกัดการออกจากบ้าน (lockdown) ในประเทศเบลเยี่ยม มีการออกแบบสำรวจภาวะสุขภาพจิตของมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตรออนไลน์ ซึ่งมีมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรตอบกลับจำนวน 5866 รายพบว่า มารดาเกือบครึ่งหนึ่งมีภาวะเครียดหรืออาการซึมเศร้า โดยจำนวนที่พบนี้เพิ่มจากภาวะปกติราว 2-3 เท่า1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์เอาใจใส่ดูแลมารดาแบบองค์รวม (holistic approach) โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพจิตเพิ่มเติมนอกเหนือจากการให้การดูแลมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรตามปกติ ซึ่งเมื่อมารดามีสุขภาพกายและจิตที่ดี จะส่งผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย

เอกสารอ้างอิง  

1.        Ceulemans M, Hompes T, Foulon V. Mental health status of pregnant and breastfeeding women during the COVID-19 pandemic: A call for action. Int J Gynaecol Obstet 2020.

การผ่าตัดทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่ตั้งแต่ในช่วงแรกหลังคลอดดีไหม

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปกติเมื่อทารกแรกเกิดมีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ การผ่าตัดแก้ไขมักจะทำเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นอายุอยู่ในช่วง 1-2 ปี โดยในระยะแรกการดูแลทารกให้กินนมแม่จะมีความยากลำบากเนื่องจากทารกจะสร้างแรงดูดในช่องปากได้ไม่ดี จึงต้องมีการดูแลทารกอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนนนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ในปัจจุบันได้มีการผ่าตัดแก้ไขทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่ตั้งแต่ในช่วงแรกหลังคลอด โดยทำผ่าตัดแก้ไขใน 1-2 สัปดาห์ หลังผ่าตัดเมื่อทารกมีความพร้อม ก็สามารถเริ่มให้ทารกินนมแม่ได้ มีการศึกษาถึงอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ทำการผ่าตัดแก้ไขปากแหว่งเพดานโหว่ตั้งแต่ในช่วงแรกหลังคลอดพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกกลุ่มนี้ไม่ได้แตกต่างกับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่ไม่ได้มีปากแหว่งเพดานโหว่1 นี่ก็แสดงว่า ในที่ที่มีความพร้อมในการที่จะทำการผ่าตัดทารกที่มีปากแหว่งเพดาโหว่ การผ่าตัดแก้ไขตั้งแต่ในช่วงแรกจะเป็นผลดีต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่               

เอกสารอ้างอิง

1.        Burianova I, Cerny M, Borsky J, et al. Duration of Surgery, Ventilation, and Length of Hospital Stay Do Not Affect Breastfeeding in Newborns After Early Cleft Lip Repair. Cleft Palate Craniofac J 2020:1055665620949114.

การชักนำการคลอดอาจมีผลเสียต่อการเริ่มให้ลูกกินนมแม่ในระยะแรกหลังคลอด

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การชักนำการคลอดคือ การกระตุ้นให้มารดาที่ยังไม่เข้าสู่ระยะคลอดให้เข้าสู่ระยะคลอดหรือเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งการตัดสินใจชักนำการคลอดจะใช้ในกรณีที่การคลอดจะเป็นผลดีต่อมารดาและทารกมากกว่าการปล่อยให้มารดารอเจ็บครรภ์คลอดเอง ดังนั้น มารดาที่ได้รับการชักนำการคลอดส่วนหนึ่งปากมดลูกยังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ระยะคลอด จึงต้องใช้ยาในการกระตุ้นให้เจ็บครรภ์ โดยยาที่นิยมใช้ ได้แก่ ออกซิโตซินสังเคราะห์ สำหรับระยะเวลาของการรอคลอดในมารดากลุ่มนี้ มักใช้เวลานานกว่ามารดาที่เจ็บครรภ์คลอดเองและเข้าสู่ระยะของการคลอดแล้ว จึงอาจมีผลเสียต่อการเริ่มต้นการให้ลูกกินนมแม่ในระยะแรกหลังคลอด1 เนื่องจากการคลอดที่ใช้เวลานาน จะทำให้เกิดการอ่อนเพลียของมารดาและทารก ทำให้มารดาและทารกขาดความพร้อมที่เริ่มกินนมในระยะแรกหลังคลอด ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่จำเป็นในการชักนำการคลอด บุคลากรทางการแพทย์ควรให้การดูแลมารดาและทารกในกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดเสมือนกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการที่จะมีการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า

เอกสารอ้างอิง

1.        Bryanton J, Montelpare W, Drake P, Drake R, Walsh D, Larter K. Relationships Among Factors Related to Childbirth and Breastfeeding Outcomes in Primiparous Women. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2020.

การบีบน้ำนมด้วยมือเพื่อระบายหรือกระตุุ้นน้ำนม

การบีบน้ำนมด้วยมือเพื่อระบายน้ำนมสามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดจากการตึงคัดเต้านมได้ โดยในมารดาที่มีน้ำนมมาดี จะเห็นลักษณะของน้ำนมพุ่ง

การจัดท่าให้นมลูกท่านอนตะแคง

ท่านอนตะแคงให้นมลูก เป็นท่าที่เป็นประโยชน์แก่มารดา เนื่องจากสามารถพักผ่อนไปพร้อมกับให้นมลูกและยังเหมาะกับมารดาหลังผ่าตัดคลอด