การผ่าตัดทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่ตั้งแต่ในช่วงแรกหลังคลอดดีไหม

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปกติเมื่อทารกแรกเกิดมีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ การผ่าตัดแก้ไขมักจะทำเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นอายุอยู่ในช่วง 1-2 ปี โดยในระยะแรกการดูแลทารกให้กินนมแม่จะมีความยากลำบากเนื่องจากทารกจะสร้างแรงดูดในช่องปากได้ไม่ดี จึงต้องมีการดูแลทารกอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนนนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ในปัจจุบันได้มีการผ่าตัดแก้ไขทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่ตั้งแต่ในช่วงแรกหลังคลอด โดยทำผ่าตัดแก้ไขใน 1-2 สัปดาห์ หลังผ่าตัดเมื่อทารกมีความพร้อม ก็สามารถเริ่มให้ทารกินนมแม่ได้ มีการศึกษาถึงอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ทำการผ่าตัดแก้ไขปากแหว่งเพดานโหว่ตั้งแต่ในช่วงแรกหลังคลอดพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกกลุ่มนี้ไม่ได้แตกต่างกับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่ไม่ได้มีปากแหว่งเพดานโหว่1 นี่ก็แสดงว่า ในที่ที่มีความพร้อมในการที่จะทำการผ่าตัดทารกที่มีปากแหว่งเพดาโหว่ การผ่าตัดแก้ไขตั้งแต่ในช่วงแรกจะเป็นผลดีต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่               

เอกสารอ้างอิง

1.        Burianova I, Cerny M, Borsky J, et al. Duration of Surgery, Ventilation, and Length of Hospital Stay Do Not Affect Breastfeeding in Newborns After Early Cleft Lip Repair. Cleft Palate Craniofac J 2020:1055665620949114.