รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
มีการศึกษาว่าทารกที่กินนมแม่จะมีลักษณะการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า เนื่องจากรสชาติของนมแม่ที่ทารกกินจะมีความหลากหลายตามลักษณะของอาหารที่แม่รับประทาน ซึ่งจะทำให้ทารกที่กินนมแม่มีความคุ้นเคยกับความหลากหลายของชนิดของอาหารมากกว่า และมีแนวโน้มที่จะลองและยอมรับกับการรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ตามธรรมชาติมากกว่า1 ซึ่งการที่ทารกที่กินนมแม่มีลักษณะของการกินเช่นนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. Eshriqui I, Folchetti LD, Valente
AMM, de Almeida-Pititto B, Ferreira SRG. Breastfeeding duration is associated
with offspring’s adherence to prudent dietary pattern in adulthood: results
from the Nutritionist’s Health Study. J Dev Orig Health Dis 2020;11:136-45.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
มีการศึกษาถึงอาหารในช่วง 1000 วันแรกของทารกพบว่ามีความสัมพันธ์กับสุขภาพเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น1 สำหรับอาหารที่สำคัญในระยะแรกเกิด คือ นมแม่ ซึ่งจะพบว่ามีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดโรคอ้วน และกลุ่มอาการเมตาบอลิก โดยมีความสอดคล้องกันและอธิบายส่วนหนึ่งจากกลไกคือ ลักษณะอาหารที่เหมาะสมสำหรับทารกตั้งแต่ในระยะแรกจะสร้างโปรแกรมการเผาพลาญอาหารที่ดีที่จะมีผลต่อเนื่องไปเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น นอกจากนี้ ด้วยกลไกการควบคุมการรับประทานอาหารที่เกิดจากการควบคุมการดูดนมแม่ตามที่ทารกหิวในทารกที่กินนมแม่ จะส่งผลดีในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน
เอกสารอ้างอิง
1. Eshriqui I, Folchetti LD, Valente
AMM, de Almeida-Pititto B, Ferreira SRG. Breastfeeding duration is associated
with offspring’s adherence to prudent dietary pattern in adulthood: results
from the Nutritionist’s Health Study. J Dev Orig Health Dis 2020;11:136-45.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
อุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวคือการมีการให้น้ำหรืออาหารอื่นแก่ทารกก่อนทารกอายุหกเดือน โดยอาหารอื่นที่มีการให้ได้แก่ น้ำ น้ำผึ้ง น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร น้ำข้าวต้ม ชา กล้วย เป็นต้น ซึ่งการที่จะทำให้มารดาเข้าใจในเรื่องของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่มารดาตั้งแต่ในระยะการฝากครรภ์ และมีกระบวนการส่งเสริมที่จะทำให้มารดาเชื่อมั่นในการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างต่อเนื่องในระยะของการคลอดและระยะหลังคลอด แต่หากมารดาไม่ได้มีการฝากครรภ์ กระบวนการที่จะทำให้มารดามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในระยะหลังคลอด คือ การที่บุคลากรทางการแพทย์ให้คำปรึกษากับมารดาและครอบครัว ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในระยะหลังคลอด1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรจัดให้มีระบบที่ชัดเจนและเอื้อให้มีการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวแก่มารดาทุกราย เพื่อช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เป็นไปตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก
เอกสารอ้างอิง
1. Gasparin VA, Strada JKR, Moraes BA, Betti T, Pitilin
EB, Santo L. Factors associated with the maintenance of exclusive breastfeeding
in the late postpartum. Rev Gaucha Enferm 2020;41:e20190060.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
ขณะนั่งทบทวนอ่านบทความและรายงานวิจัย ก็เกิดคำถามอย่างหนึ่งคือ อาชีพแพทย์หรือหมอที่มีความรู้เรื่องการดูแลเรื่องสุขภาพเป็นอย่างดี และทราบถึงคุณค่าและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในการปฏิบัติ จริง ๆ แล้วหมอสามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตามเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลกได้มากน้อยแค่ไหน ลองค้นช้อมูลในการศึกษาในประเทศไทยพบว่าไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงค้นในวิจัยต่างประเทศโดยเป็นการศึกษาในประเทศตรุกีพบว่า แพทย์มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้นานเฉลี่ย 4.8 เดือนและคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องได้นานเฉลี่ย 15.8 เดือน ปัญหาหรืออุปสรรคในการเลี้ยงลุกด้วยนมแม่คือ การกลับไปทำงานและอยู่เวรของแพทย์ และการขาดสิ่งที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในที่ทำงาน นอกจากนี้ จากข้อมูลในรายงาน พบร้อยละ 43.6 ของแพทย์ที่ไม่สามารถใช้สิทธิการลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเต็มที่1 โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม้ว่าจะมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูง แต่ก็ยังมีอุปสรรคในเรื่องการงานและการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในที่ทำงาน ดังนั้น การที่จะช่วยให้แพทย์มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นจำเป็นต้องมีนโยบายการสนับสนุนให้แพทย์ลาพักสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้โดยลดปัญหาเรื่องการขาดแคลนแพทย์ที่ต้องรีบกลับมาปฏิบัติงานทั้ง ๆ ที่ยังลาพักไม่ครบ และการสนับสนุนให้โรงพยาบาลมีห้องพร้อมอุปกรณ์ที่แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์สามารถจะใช้บีบหรือปั๊มเก็บนมแม่ได้อย่างสะดวกและมีความเพียงพอ
เอกสารอ้างอิง
1. Ersen G, Kasim I, Agadayi E, Demir Alsancak A,
Sengezer T, Ozkara A. Factors Affecting the Behavior and Duration of
Breastfeeding Among Physician Mothers. J Hum Lact 2020:890334419892257.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
การให้ทารกกินนมแม่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนในทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น เหตุผลอย่างหนึ่งในการอธิบายเรื่องนี้ คือ ทารกที่กินนมแม่จะควบคุมการกินอาหารได้ดีกว่าทารกที่กินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาถึงคำอธิบายอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยพบว่า แบคทีเรียในลำไส้จะมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น1 ซึ่งลักษณะของแบคทีเรียในลำไส้จะมีความสัมพันธ์กับการกินนมแม่และการเริ่มให้อาหารเสริมแก่ทารก ซึ่งหากมีการให้อาหารเสริมแก่ทารกเร็วก่อนทารกอายุ 4 เดือนจะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในลำไส้ ดังนั้น การที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนในทารก ควรแนะนำให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน แล้วจึงให้อาหารเสริมตามวัยแก่ทารก
เอกสารอ้างอิง
1. Differding MK, Doyon M, Bouchard L,
et al. Potential interaction between timing of infant complementary feeding and
breastfeeding duration in determination of early childhood gut microbiota
composition and BMI. Pediatr Obes 2020:e12642.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)